accelerator board | แผ่นวงจรเร่งความเร็วหมายถึงแผ่นวงจรพิเศษ ที่เมื่อนำมาเสียบเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว จะมีผลทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้น แผ่นวงจรประเภทนี้จะมีตัวประมวลผล (processor) ที่ทำงานเร็วกว่าตัวประมวลผลเดิม |
alu | (เอแอลยู) ย่อมาจาก arithmetic and logical unit เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ และเปรียบเทียบทางตรรกะดู central processing unit ประกอบ |
ami pro | โปรแกรมอามิโพร เป็นชื่อโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ (word processing) โปรแกรมหนึ่ง ไม่สู้เป็นที่นิยมนัก |
arithmetic logic unit | หน่วยคำนวณและตรรกะ ใช้ตัวย่อว่า ALU เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ และเปรียบเทียบทางตรรกะ ดู central processing unit ประกอบ |
assembly language | ภาษาแอสเซมบลีหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งซึ่งจะตรงเข้าไปจัดการกับตัวไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ "ตัวประมวลผล" ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะทำการประมวลผลโดยตรงได้เลย โดยปกติ ภาษานี้จะเรียนยากและต้องเขียนยาวกว่าภาษา C หรือภาษา BASIC แต่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ (result) เร็วกว่า และใช้เนื้อที่เก็บน้อยกว่าโปรแกรมภาษาอื่นมาก นิยมใช้ภาษานี้เมื่อต้องการประหยัดเวลาทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม โดยไม่ต้องพะวงถึงความชัดเจนมากนัก และที่สำคัญก็คือ โปรแกรมภาษานี้จะเขียนขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะกับเครื่องใดเครื่องหนึ่ง หากจะนำไปใช้กับเครื่องคนละรุ่น ก็จะต้องมีการปรับแก้ก่อน (ขึ้นกับหน่วยประมวลผลหรือ CPU) |
attribute | (อะทริบ'บิวทฺ) vt. ให้เหตุผลว่า,ถือเอา,อ้างเหตุผล. -n. คุณลักษณะ. -attributer, attributor n. -attribution n., Syn. assign, consider , quality) ลักษณะประจำหมายถึง คุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ มีการเน้นความแตกต่างจากของอื่นในประเภทเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลในระบบดอส จะมีลักษณะประจำต่างกันเป็น 4 อย่าง คือ แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดเก็บเป็นระเบียบ (archive) แฟ้มที่อ่านได้อย่างเดียว แก้ไขไม่ได้ (read only) แฟ้มที่ไม่แสดงตัว (hidden) และแฟ้มระบบ (system) หรือถ้าต้องการหาคำใดคำหนึ่ง (เช่น ในโปรแกรมประมวลผลคำ) นอกจากจะบอกคอมพิวเตอร์ว่าสะกดอย่างไรแล้ว อาจบอกเพิ่มเติมว่า ...เป็นคำที่ใช้แบบอักษร Times New Roman ขนาด 14 จุด ข้อความที่บ่งบอกคุณสมบัติเพิ่มเติมไปนี้ก็เรียกว่า " attribute " ทั้งสิ้น |
benchmark | การวัดเปรียบเทียบสมรรถนะเกณฑ์มาตรฐานหมายถึง การทดสอบเพื่อวัดความสามารถในการประมวลผล หรือการทำงานของ โปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยเทียบเคียงกับเกณฑ์มาตรฐาน |
billisecond | ใช้ตัวย่อว่า BS เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานหรือการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ |
card reader | เครื่องอ่านบัตรหมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้การอ่านรูที่เจาะในบัตรแล้วถอดออกมาเป็นรหัส การอ่านรูเหล่านั้นทำได้ด้วยการใช้แปรงไฟฟ้าสัมผัส แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นส่งเข้าไปเก็บในหน่วยความจำเพื่อนำไปประมวลผลต่อไป |
centralized system | ระบบศูนย์กลางหมายถึง วิธีการประมวลผลที่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้ผ่านศูนย์กลางจากเครื่องปลายทาง (terminal) การเรียกหาข้อมูลหรือโปรแกรมที่จะใช้ จะเรียกจากศูนย์กลางทั้งหมดดู terminal ประกอบ |
bak | (แบ็ก) คำ ๆ นี้ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลเพื่อบ่งบอกว่า เป็นแฟ้มข้อมูลสำรอง (backup file) เช่น autoexec.bak (แฟ้มข้อมูลเดิมชื่อ autoexec.bat) นี้ ในบางกรณี โปรแกรมจะสร้างนามสกุลให้แฟ้มข้อมูลเหล่านี้เองโดยไม่ต้องสั่ง โดยเฉพาะถ้ามีการเก็บแฟ้มข้อมูลที่นำมาแก้ไขแล้วซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แฟ้มที่แก้ใหม่จะใช้ชื่อเดิม แต่แฟ้มเดิมจะกลายเป็นแฟ้มสำรอง เช่น ในโปรแกรมประมวลผลคำบางโปรแกรม |
batch processing | การประมวลผลเชิงกลุ่มหมายถึงการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับโดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นตัวควบคุม ในการประมวลผลแบบนี้ เราจะต้องจัดรวบรวมข้อมูลและแบ่งแยกเป็นกลุ่มไว้ให้เรียบร้อยก่อน จึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลทีเดียว เมื่อเสร็จแล้วจึงจัดรวบรวมเป็นรายงาน หรือสรุปผลอีกทีหนึ่ง วิธีการประมวลผลแบบนี้ทำง่าย ประหยัด และตรงไปตรงมา แต่อาจจะช้าไปบ้าง เพราะต้องรอให้ข้อมูลเรียบร้อยก่อน ตรงกันข้ามกับการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (on line proessing) ซึ่งหมายถึงการที่เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูลดู on line processing ประกอบ |
bit | (บิท) 1. n. ดอกสว่าน,สิ่งค้ำ,ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ,ครู่เดียว,การกระทำ,บทบาทเล็กน้อย,เหรียญเล็ก ๆ ,หน่วย,กริยาช่อง 2 และ 3 ของ bite, บิต, 2. ในระบบเลขฐาน 2 หมายถึงตัวเลข 0 และ 1, หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด โดยที่หนึ่งบิตจะต้องเพียงพอต่อการบอกความแตกต่างระหว่างข้อมูลประเภท "ใช้" ในปัจจุบันมักใช้บิตเป็นหน่วยวัดตัวประมวลผล (microprocessor) ของไมโครคอมพิวเตอร์ ว่าเป็นขนาด 8 บิต 16 บิต หรือ 32 บิต ถ้าจัดบิตเป็นชุดที่เรียกว่าไบต์ (byte) ซึ่งปกติจะมี 8 บิต จะใช้เป็นรหัสเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร ฯ ดู byte ประกอบ |
board | (บอร์ดฺ) {boarded,boarding,boards} n. ไม้กระดาน,แผ่นกระดาน,แผ่นกระดาษแข็ง,กระดานหมากรุก,ข้างเรือ,ค่าอาหาร,อาหาร,ที่พัก,โต๊ะประชุม,โต๊ะอาหาร,เวที,คณะกรรมการ,สภา,กลุ่มผู้บริหารของหน่วยงาน,แป้นสวิตช์ไฟฟ้าบนผลฝาผนัง,ขอบ,ข้าง vt. ใช้กระดานปู,บริการอาหาร,บริการ แผงวงจรแผงหมายถึง แผ่นพลาสติกที่มีการติดตั้งวงจรไฟฟ้าซึ่งใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แผงเหล่านี้จะทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น แผงวงจรเร่งความเร็ว (accelerator board) จะมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็วกว่าตัวประมวลผลทีมีอยู่เดิม แผงวงจรภาพ (video board) แผงวงจรเสียง (sound board) ก็จะเป็นตัวเพิ่มภาพและเสียง เป็นต้น |
code | (โคด) {coded,coding,codes} n. ประมวลกฎหมาย,หลักเกณฑ์,รหัส,เครื่องหมาย. vt. ถอดรหัส,จัดเป็นรหัส, Syn. rules |
codification | n. การรวบรวม,ประมวล |
codifies} | vt. ประมวล,จัดเป็นหมวดหมู่ |
codify {codified | vt. ประมวล,จัดเป็นหมวดหมู่ |
codifying | vt. ประมวล,จัดเป็นหมวดหมู่ |
computer audit | การตรวจสอบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการตรวจสอบการประมวลผลเพื่อความถูกต้องทางบัญชี |
computer engineering | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์เป็นสาขาหนึ่งในการศึกษาวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ โดยจะเน้นหนักในเรื่องของฮาร์ดแวร์ (hard ware) หรือส่วนตัวเครื่อง และระบบการทำงานภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น แผ่นวงจร (card) หน่วยประมวลผล หน่วยบันทึก ฯดู computer science เปรียบเทียบ |
computer system | ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง หรือหนึ่งชุด ซึ่งประกอบด้วย 1. หน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น แป้นพิมพ์ 2. หน่วยประมวลผลกลาง (cetral processing unit) 3. หน่วยแสดงผล (output unit) เช่น จอภาพ เป็นต้น |
buffer | (บัฟ'เฟอะ) {buffered,buffering,buffers} n. ตัวกันชน,สารที่สามารถทำให้ทั้งกรดและด่างเป็นกลาง,เครื่องขัดเงา,คนงานขัดเงา vt. ใส่ตัวทำให้กรดหรือด่างเป็นกลาง,ผ่อนคลาย,ปกป้อง,กันชน, Syn. cushion ที่พัก (ข้อมูล) กันชนบัฟเฟอร์ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ (พิมพ์ตามไม่ทัน) เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด คอมพิวเตอร์นั้นจะมีที่พักข้อมูลทั้งเมื่อรับข้อมูลเข้าและเมื่อส่งข้อมูลออก อันที่จริง บัฟเฟอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง |
cad | 1. abbr. coronary artery disease 2. (แคด) ย่อมาจาก computer aided design แปลตรง ๆ ได้ว่า การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ดู CAM ประกอบ เพราะมักใช้คู่กันเป็น CAD/CAM |
card punch | อุปกรณ์เจาะบัตรหมายถึง อุปกรณ์แสดงผล (output device) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องเจาะบัตร หรือ เครื่องที่ใช้บันทึกข้อความลงบนบัตรด้วยการเจาะรู ซึ่งเป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษอื่น ๆ ต่างกับเครื่องเจาะบัตรที่เรียกว่า keypunch กล่าวคือ keypunch เป็นเครื่องเจาะบัตรที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ (คนเป็นผู้เจาะ) แต่ card punch เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ทำงานภายใต้การควบคุมของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ดู keypunch เปรียบเทียบ |
concurrent processing | การประมวลผลพร้อมกันหมายถึง การประมวลผลตั้งแต่สองโปรแกรมขึ้นไปพร้อม ๆ กัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เครื่องจะปฏิบัติงานได้ครั้งละหนึ่งโปรแกรมเท่านั้น เพียงแต่ว่าทำในอัตราที่รวดเร็วมาก จนดูประหนึ่งว่าทำงานหลาย ๆ โปรแกรมพร้อมกัน |
central processing unit | หน่วยประมวลผลกลางนิยมใช้ตัวย่อว่า CPU (ซีพียู) หมายถึง ส่วนที่เป็นสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือส่วนที่เรียกว่าตัวประมวลผล (microprocessor) และหน่วยความจำ ประกอบด้วยชิป (chip) ส่วนนี้นับเป็นส่วนสำ คัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ใช้ทำหน้าที่ในการประมวลผล หรือทำการคำนวณ เมื่อทำการประมวลผล หรือคำนวณในส่วนนี้เสร็จแล้ว ก็จะถ่ายโอนผลลัพธ์ที่ได้ไปไว้ในส่วนอื่นอีกชั้นหนึ่ง ดู input unit และ output unit ประกอบ |
channel | (แชน'เนิล) n. ช่องแคบ,ช่อง,ทางน้ำไหล,ทางเดินเรือ,ราง,วิถีทาง,แนวทาง,ทางผ่าน,ท่อ -vi. นำผ่านทาง,บุกเบิกทาง,ขุดทาง,ขุดทางน้ำ,นำทาง, See also: channeler,channeller n. ร่องข้อมูลช่องหมายถึงร่องข้อมูลหรือแถวสำหรับบันทึกข้อมูลตามยาวลงบนกระดาษหรือแถบบันทึกแม่เหล็ก (magnetic tape) หรืออาจหมายถึงช่องทางเข้าออกของหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล (input/output channel) ซึ่งติดต่อกับตัวประมวลผล (processor) |
characteristic | (แคริคเทอริส'ทิค) adj. เป็นลักษณะเฉพาะ -n. ลักษณะเฉพาะ การรู้จำอักขระหมายถึง เทคโนโลยีในการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับรู้ความแตกต่างของรูปลักษณะตัวอักษร ต่าง ๆ ที่มนุษย์เขียนหรือพิมพ์ขึ้น โดยใช้แสงหรือสนามแม่เหล็ก แล้วถอดรหัสเป็นภาษาเครื่อง (machine language) เพื่อนำไปประมวลผลต่อไปได้ดู pattern recognition ประกอบ |
chief information officer | ประธานฝ่ายสารสนเทศใช้ตัวย่อว่า CIO (อ่านว่า ซีไอโอ) งานสารสนเทศเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง เพราะหน่วยงานนี้ก็คือหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนั่นเอง เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ แล้วส่งผล (สารสนเทศ) ให้ผู้ที่มีอำนาจ ใช้ในการตัดสินใจ หรือเพื่อไม่ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจผิดพลาดเพราะขาดข้อมูล (บางทีใช้ในความหมายเดียวกันกับหัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์) |
child process | โปรแกรมลูกหมายถึง การที่กำหนดให้โปรแกรมที่กำลังใช้อยู่สามารถ เรียกโปรแกรมอื่นมาทำงานได้ เช่น ในขณะที่กำลังใช้โปรแกรมประมวลผลคำพิมพ์เอกสารอยู่ เราสามารถสั่งให้โปรแกรมประมวลผลคำนั้นไปเรียกโปรแกรมตรวจเช็คตัวสะกดมาทำงานได้ โปรแกรม ประมวลผลคำนั้นจะเรียกว่าโปรแกรมแม่ (parent program) และโปรแกรมตรวจเช็คตัวสะกดเรียกว่าโปรแกรมลูก |
cio | (ซีไอโอ) ย่อมาจาก chief information officer หรือประธานฝ่ายสารสนเทศ งานสารสนเทศเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง เพราะหน่วยงานนี้ก็คือหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนั่นเอง เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ แล้วส่งผล (สารสนเทศ) ให้ผู้ที่มีอำนาจ ใช้ในการตัดสินใจ หรือเพื่อไม่ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจผิดพลาดเพราะขาดข้อมูล (บางทีใช้ในความหมายเดียวกันกับหัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์) |
cold start | เปิดเครื่อง (คอมพิวเตอร์) การเริ่มต้นระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งหมด โดยเปิดสวิตซ์ที่ตัวเครื่อง การเริ่มต้นเช่นนี้เป็นการเริ่มต้นครั้งแรกหรือเริ่มต้นใหม่เนื่องจากบางครั้ง ขณะที่ใช้อยู่ เกิดข้อผิดพลาดบางประการเกี่ยวกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ จนทำให้ไม่สามารถประมวลผลต่อไปได้ จึงต้องใช้วิธีปิดสวิตช์ แล้วเริ่มต้นใหม่ดู warm start เปรียบเทียบ |
com- | 1. Pref. รวมกัน,ด้วยกัน,อย่างสมบูรณ์, Syn. co-, 2. (คอม) 1. ย่อมาจาก COMmunication port หมายถึงช่องที่ใช้สำหรับต่อออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เมื่อจะหมุนเลขหมายโทรศัพท์บนคอมพิวเตอร์ผ่านโมเด็ม คอมพิวเตอร์ก็จะต้องรับรู้กันให้ได้ว่า ช่องที่ติดต่อกับโมเด็มนั้นคือช่องไหน (กำหนดได้หลายช่องเรียกว่า COM1, COM2) 2. ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลในดอสและโอเอสทูว่า .COM เพื่อแสดงว่าเป็นแฟ้มข้อมูลกระทำการ (executive program) หรือโปรแกรมประเภทเดียวกับ .EXE เช่น FORMAT.COM COMMAND.COM 3. ย่อมาจาก computer output on microfilm (ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์) หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโคร ฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโคร ฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120,000 ตัวอักษรต่อวินาที |
computer aided design | การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAD (อ่านว่า แคด) หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก ๆ มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ |
computer output on microf | ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์ใช้ตัวย่อว่า COM (อ่านว่า ซีโอเอ็ม) หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโครฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโครฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ 48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120,000 ตัวอักษรต่อวินาที |
computer program | โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์หมายถึง คำสั่งคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง ๆ ที่เขียนขึ้นเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาซี (C) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาเบสิก (BASIC) หรือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ฯ คำ "โปรแกรม" นี้ อาจจะเรียกเป็นชื่ออื่นก็ได้ เช่น ซอฟต์แวร์ (software) หรือ แอพพลิเคชัน (application) โปรแกรมนั้น แบ่งได้เป็นหลายประเภท ประเภทแรกคือประเภทที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเองเพื่อให้ตรงกับความต้องการ กับอีกประเภทหนึ่งมีคนทำสำเร็จรูปไว้ขาย เช่น โปรแกรมสำหรับวาดภาพ (graphics) โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) โปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) นอกจากนั้น ยังมีโปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีบางส่วนติดตั้งมาจากโรงงานที่ผลิตเลย และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่จะทำหน้าที่เหมือนแม่บ้านคอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานให้ประสานกัน สรุปว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทุกอย่าง แต่คนเขียนคำสั่งต้องเข้าใจขั้นตอน วิธี (algorithm) และภาษาที่จะใช้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถเขียนสั่งเครื่องให้ทำงานได้ |
computer science | วิทยาการคอมพิวเตอร์สาขาวิชาทางคอมพิวเตอร์สาขาหนึ่ง ที่ว่าด้วยการกำหนดรูปแบบ และการนำเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มาใช้งาน หรือสั่งให้ทำงานให้ตามความประสงค์ เป็นต้นว่า กระบวนการต่าง ๆ ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศ (information) ฯ อนึ่ง ศัพท์นี้ในภาษาไทยมีใช้กันอยู่หลายคำ เป็นต้นว่า คอมพิวเตอร์ศาสตร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ศาสตร์คอมพิวเตอร์ แต่ปัจจุบันนิยมใช้ วิทยาการคอมพิวเตอร์ |
computer user group | กลุ่มผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หมายถึง กลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์ บุคคลเหล่านี้มักจะรวมตัวกันเพื่อช่วยกันศึกษาวิธีการใช้ซอฟต์แวร์และเครี่องคอมพิวเตอร์ให้ได้ประโยชน์สูงสุด บางทีก็จะแบ่งย่อยลงไปเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เฉพาะผู้ที่มีความสนใจใกล้เคียงกันจริง ๆ เช่นแบ่งไปตามชนิดของเครื่องที่ใช้ (พีซี/แมคอินทอช) หรือตามประเภทของโปรแกรมที่ใช้ เช่น ประมวลผลคำ (word processing) , ตารางจัดการ (spreadsheet) บางที ใช้เรียกเพื่อให้ดูต่างจากกลุ่มผู้ที่ขายคอมพิวเตอร์ดู computer vendor group เปรียบเทียบ |
con | (คอน) 1. {conned,conning,cons} v. ต่อต้าน,แย้ง,เรียนรู้,ศึกษา,ตรวจสอบอย่างระมัดระวัง,จำไว้,นำเรือ,ถือพวงมาลัยเรือ n. การต่อต้าน,การโต้เถียง,ผู้คัดค้าน,ผู้ลงบัตรคัดค้าน,นักโทษ,วัณโรค adj. ซึ่งหลอกให้เชื่อ 2. ย่อมาจากคำว่า CONsole ซึ่งศัพท์บัญญัติฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ส่วนเฝ้าคุม ในวงการคอมพิวเตอร์ มักจะหมายถึง อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ส่วนที่เป็นแป้นพิมพ์และจอภาพ เป็นต้นว่า คำสั่ง COPY CON:autoexec.bat เป็น คำสั่งที่นำมาใช้เมื่อต้องการนำข้อความที่เราพิมพ์จากแป้นพิมพ์และมองเห็นบนจอภาพ (โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมประมวลผลคำ) คัดลอกเข้าไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ชื่อว่า autoexec.bat เมื่อพิมพ์ข้อความที่ต้องการเสร็จแล้ว ให้กด CTRL+Z หลังจากนั้น ในคอมพิวเตอร์ก็จะมีแฟ้มข้อมูลชื่อ autoexec.bat ซึ่งบรรจุข้อความที่พิมพ์ไว้นั้น |