access arm | ก้านเข้าถึง หมายถึง อุปกรณ์ในหน่วยบันทึก มีลักษณะเป็นก้านที่ต่อกับหัวอ่าน/บันทึก (read / write head) ที่ใช้เจาะเข้าไปที่จานบันทึก เพื่ออ่านข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล หรือเพื่อบันทึกข้อมูลลงในจานบันทึก มีลักษณะคล้ายเข็มของเครื่องเล่นจานเสียง |
access time | ช่วงเวลาเข้าถึง (ข้อมูล) หมายถึง เวลาที่ใช้ในการที่หัวอ่าน (บางทีเรียกหัวเข็ม) ของหน่วยบันทึกจะสามารถอ่านแฟ้มข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล เช่น จากจานบันทึก หรือฮาร์ดดิสก์ หากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อย ก็หมายความว่า อ่านได้เร็ว ดู direct access, indirect access, random access, sequential access, immediate access ประกอบ |
aquarium | (อะแคว'เรียม) n., (pl. aquariums, aquaria) ที่เก็บ (บ่อ,ถัง,อ่าง, ฯลฯ) สัตว์น้ำหรือพืชน้ำ. -aquarian, aquarial adj. |
archived file | (อา-ไคว์ไฟล์) แฟ้มเก็บถาวร หมายถึง แฟ้มข้อมูลที่เก็บไว้อย่างเป็นระเบียบ เป็นลักษณะของแฟ้มข้อมูลชนิดแฟ้มข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ read only, system archive และ hidden (บางทีใช้ archive เฉย ๆ ก็ได้) |
armory | (อาร์'มะรี) n. ที่เก็บอาวุธ, คลังแสง,โรงงานคลังแสง. = heraldry, Syn. arsenal) |
armoury | (อาร์'มะรี) n. ที่เก็บอาวุธ, คลังแสง,โรงงานคลังแสง. = heraldry, Syn. arsenal) |
arrearage | (อะเรีย'เรจฺ) n. ภาวะที่ล่าช้า,ภาวะที่คั่งค้าง,สิ่งที่เก็บสำรอง |
assembly language | ภาษาแอสเซมบลีหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งซึ่งจะตรงเข้าไปจัดการกับตัวไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ "ตัวประมวลผล" ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะทำการประมวลผลโดยตรงได้เลย โดยปกติ ภาษานี้จะเรียนยากและต้องเขียนยาวกว่าภาษา C หรือภาษา BASIC แต่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ (result) เร็วกว่า และใช้เนื้อที่เก็บน้อยกว่าโปรแกรมภาษาอื่นมาก นิยมใช้ภาษานี้เมื่อต้องการประหยัดเวลาทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม โดยไม่ต้องพะวงถึงความชัดเจนมากนัก และที่สำคัญก็คือ โปรแกรมภาษานี้จะเขียนขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะกับเครื่องใดเครื่องหนึ่ง หากจะนำไปใช้กับเครื่องคนละรุ่น ก็จะต้องมีการปรับแก้ก่อน (ขึ้นกับหน่วยประมวลผลหรือ CPU) |
backing store | หน่วยเก็บหนุนหน่วยเก็บข้อมูล ที่ใช้เป็นที่เก็บหนุน หรือเก็บข้อมูลสำรองไว้ ในกรณีที่หน่วยเก็บที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง หรือเสียหาย ก็อาจใช้หน่วยเก็บหนุนนี้แทนได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงหน่วยเก็บความจำอื่น ๆ นอกไปจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้นว่าสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) มีความหมายเหมือน auxiliary storage หรือ backup storage |
knowlelge-based | ฐานความรู้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) หมายถึง ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อใช้เป็นฐานในการตัดสินใจของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในระบบผู้เชี่ยวชาญนี้ ฐานข้อมูลส่วนมากจะประกอบไปด้วยคำสั่งประเภท ถ้า...... (IF) มากทีเดียว ดู expert system และ artificial intelligence ประกอบ |
bitmapped font | แบบอักษรบิตแมปหมายถึง แบบอักษรที่มีลักษณะของบิตแมป กล่าวคือประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ รวมตัวกันที่เรียกว่าจุดภาพ (pixel) เมื่อขยายขนาดให้ใหญ่ จะเห็นรอยหยัก ๆ ไม่เรียบสวย กับทั้งยังเปลืองที่เก็บมาก ดู bitmapped image ประกอบ |
bmp | (บีเอ็มพี) ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพหรือกราฟิกที่มีลักษณะเป็นจุดภาพ (pixel) เล็ก ๆ ที่เรียกว่าบิตแมป เช่น WINLOGO.BMP ดู bitmap ประกอบ |
backup storage | หน่วยเก็บสำรอง หมายถึง หน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้เป็นที่เก็บหนุน หรือเก็บข้อมูลสำรองไว้ ในกรณีที่หน่วยเก็บที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง หรือเสียหาย ก็อาจใช้หน่วยเก็บสำรองแทนได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงหน่วยความจำอื่น ๆ นอกไปจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้นว่าสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) มีความหมายเหมือน auxiliary storage หรือ backing store |
bbs | (บีบีเอส) ย่อมาจาก bulletin board system หรือที่แปลว่า ระบบแผงข่าว เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น บีบีเอสของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย) |
bitmapped graphic | (กราฟิกบิตแมป) หมายถึง ภาพที่มีลักษณะของบิตแมป กล่าวคือประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ของแสงที่เรียกว่าจุดภาพ (pixel) จุดนี้จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การขยายขนาดของภาพจะทำให้จุดนี้โตขึ้น และเห็นเป็นรอยหยัก ๆ ถ้าเป็นเส้นโค้ง ก็จะยิ่งเห็นได้ชัด โปรแกรมวาดภาพบางโปรแกรม เช่น MacPaint หรือ Paint จะสร้างและและเก็บภาพ ในลักษณะนี้ ในระบบวินโดว์ แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้ จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .BMPมีความหมายเหมือน bitmapped image |
bitmapped image | ภาพบิตแมป หมายถึง ภาพที่มีลักษณะของบิตแมป กล่าวคือประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ของแสงที่เรียกว่าจุดภาพ (pixel) จุดนี้จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก การขยายขนาดของภาพจะทำให้จุดนี้โตขึ้น และเห็นเป็นรอยหยัก ๆ ถ้าเป็นเส้นโค้ง ก็จะยิ่งเห็นได้ชัด โปรแกรมวาดภาพบางโปรแกรม เช่น MacPaint หรือ Paint จะสร้างและและเก็บภาพ ในลักษณะนี้ ในระบบวินโดว์ แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้ จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .BMPมีความหมายเหมือน bitmapped graphic |
boot sector | ส่วนวงปลุกเครื่องหมายถึง ส่วนของแผ่นจานบันทึกที่เก็บคำสั่งที่ใช้ในการปลุกเครื่อง ถ้าส่วนนี้เสีย (อ่านไม่ได้) คอมพิวเตอร์ก็จะไม่ทำงานเลยตั้งแต่ต้น |
cellar | (เซล'ลาร์) n. หลุมใต้ดิน,ห้องเก็บเหล้าใต้ดิน,ปริมาณเหล้าที่เก็บ |
cellarage | (เซล'ลาร์) n. ห้องใต้ดิน,หลุมใต้ดิน,ห้องเก็บเหล้าใต้ดิน,ปริมาณเหล้าที่เก็บ, Syn. vault |
cgm | (ซีจีเอ็ม) abbr. ย่อมาจาก computer graphics metafile เป็นระบบการเก็บภาพของคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .cgm |
chancery | (ชาน'ซะรี) n. ศาลฎีกา,ที่เก็บเอกสารทางราชการ,ที่ทำการของเสนาบดี,ภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก |
chest | (เชสทฺ) n. หีบ,กล่องขนาดใหญ่,ลังขนาดใหญ่,ทรวงอก,หน้าอก,เต้านม,คลัง,เงินทุน,เงินแผ่นดิน,กรมคลัง,กระทรวงการคลัง,สิ่งที่เก็บอยู่ในหีบ |
cinerarium | n. ที่เก็บอัฐิของศพที่เผาแล้ว |
cistern | (ซิส'เทอน) n. ถังน้ำ,ที่เก็บน้ำ |
cmos | (ซีมอส) ย่อมาจากคำว่า complementary metal-oxide semiconductor หมายถึง วงจรที่ออกแบบไว้เป็นพิเศษ เพื่อการประหยัดกระแสไฟ วงจรซีมอสนี้มักจะใช้ในของชิ้นเล็ก ๆ เช่น นาฬิกาข้อมือ เครื่องคิดเลข คอมพิวเตอร์ขนาดวางตัก (laptop) หรือส่วนที่เก็บวันเวลา (date/time) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป |
bulletin board system | ระบบการบริการเครือข่ายที่อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีผลประโยชน์ร่วมให้ส่งและรับข้อมูลหรือได้รับซอฟแวร์ เป็นต้น ระบบแผงข่าวศูนย์รวมข่าวใช้ตัวย่อว่า BBS (อ่านว่า บีบีเอส) เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น ระบบแผงข่าวของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย) |
cache | (แค?) {cached,caching,caches} n. ที่ซ่อน,ที่เก็บ,สิ่งที่ซ่อนไว้ vt. ซ่อน,เก็บ หน่วยความจำแคชหมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำ (memory) ที่ถูกกันไว้เก็บข้อมูลที่จะต้องการใช้เป็นการชั่วคราว การเข้าถึงหน่วยความจำส่วนนี้จะทำได้เร็วกว่าธรรมดามาก ในการโฆษณาขายเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ มักจะมีบ่งบอกไว้ด้วยเสมอว่า หน่วยความจำแคชนี้มีขนาดความจุเท่าใด เช่น 256 K cache เป็นต้น เพราะเป็นการแสดงถึงประสิทธิภาพของเครื่องอย่างหนึ่ง บางทีเรียก cache memory |
cd | abbr. ธาตุ cadmium, แผ่นซีดี ย่อมาจาก compact disk แปลตามตัวอักษรว่า จานบันทึกอัดแน่น มีลักษณะเป็นแผ่นจานกลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล จานบันทึกนี้มีความจุสูงมาก (ประมาณ 600ล้านตัวอักษร) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากจานบันทึกนี้ได้ แต่การบันทึกข้อมูลลง ยังทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องมีเครื่องพิเศษเฉพาะ บันทึกได้ทั้งข้อมูลธรรมดา เพลง ภาพยนตร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ความจุสูง แต่ยังติดขัดในปัญหาบางประการในเรื่องการบันทึกข้อมูลลง ดู CD ROM ประกอบ 2. ย่อมาจากคำ Change Directory เป็นคำสั่งในระบบดอสที่สั่งให้เข้าไปในสารบบ (directory) ใดสารบบหนึ่ง หรือออกจากสารบบใดสารบบหนึ่ง เช่น C:/>CD \ (หมายความว่าให้เข้าไปในสารบบชื่อนั้น) C:> CD\ (หมายความว่า ให้ออกจากสารบบที่อยู่) |
collection | (คะเลค'เชิน) n. การสะสม,การรวบรวม,เงินสะสม,สิ่งที่เก็บรวบรวมไว้,การจัดเก็บ,การเรียกเก็บ,เงินที่เรี่ยไรมา |
computer graphics metafil | ใช้ตัวย่อว่า CGM (อ่านว่า ซีจีเอ็ม) เป็นรูปแบบที่คอมพิวเตอร์ใช้เก็บภาพแบบหนึ่ง แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .cgm |
conservatory | (คันเซอ'วะโทรี) n. ห้องกระจกสำหรับปลูกต้นไม้,โรงเรียนดนตรี,สถานที่เก็บรักษาของ. adj. เกี่ยวกับการเก็บรักษาหรือสงวน,เกี่ยวกับการดอง, Syn. greenhouse,conservatoire |
cd-rom | (ซีดีรอม) ย่อมาจาก compact disc read-only memory หมายถึง compact disc ที่เป็นฟอร์แมตสำหรับผลิตภัณฑ์มัลติมีเดีย และเก็บเสียง ภาพ และข้อความ เป็นต้น เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ จะมีหน่วยบันทึกที่อ่านซีดีรอมได้ ข้อมูลที่เก็บในสื่อชนิดนี้จะเป็นข้อความ ภาพ หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะทั่วไปก็เหมือนจานซีดีที่บรรจุเพลง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์ หรือประมาณ 400 เท่าของจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนมากนิยมใช้เก็บโปรแกรม หรือใช้เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ส่วนใหญ่จานบันทึกประเภทนี้ยังคงใช้อ่านได้อย่างเดียว (read only) การบันทึกข้อมูลลงยังต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ราคาอุปกรณ์นี้ยังค่อนข้างแพง |
chief information officer | ประธานฝ่ายสารสนเทศใช้ตัวย่อว่า CIO (อ่านว่า ซีไอโอ) งานสารสนเทศเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง เพราะหน่วยงานนี้ก็คือหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนั่นเอง เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ แล้วส่งผล (สารสนเทศ) ให้ผู้ที่มีอำนาจ ใช้ในการตัดสินใจ หรือเพื่อไม่ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจผิดพลาดเพราะขาดข้อมูล (บางทีใช้ในความหมายเดียวกันกับหัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์) |
chip | (ชิพ) 1. {chipped,chipping,chips} n. เศษไม้,เศษหิน,ชิ้น,แผ่นตัด,เศษ,เบี้ย,สิ่งเล็กสิ่งน้อย,สิ่งที่ไร้ค่าหรือมีค่าน้อย,ไม้ตอก,ก้อนมูลแห้ง,เงิน vt. ตัด,เลาะ,แกะ,แชะ,ขูด,สกัด,เจาะ,ทำปากแหว่ง,เฉือนเป็นแผ่นบาง ๆ ,พูดเหน็บแนม,พูดสอด,จิกให้ไข่แตก vi. แหว่ง,เป็นรอยร้า 2. n. หมายถึงวงจรรวม (integrated circuit) ทำหน้าที่ เหมือนสาร กึ่งตัวนำ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำในไมโครคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน มีชิปแบบวีแอลเอสไอ (VLSI หรือ Very large scale integrated circuit) ซึ่งจะมีทรานซิสเตอร์เป็นพัน ๆ ตัว แต่มีขนาดเล็กนิดเดียว ราคาถูกลงทุกวัน แต่มีประสิทธิภาพสูงมาก ถ้าชิปใดมีทั้งหน่วยความจำ หน่วยคำนวณ และตรรกะ เราจะเรียกชิปนั้นว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (micro processor) ปัจจุบัน เราใช้ชิปกันมากในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เครื่องคิดเลข นาฬิกา เครื่องมือแพทย์ ฯ ดู microprocessor ประกอบ |
cio | (ซีไอโอ) ย่อมาจาก chief information officer หรือประธานฝ่ายสารสนเทศ งานสารสนเทศเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง เพราะหน่วยงานนี้ก็คือหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนั่นเอง เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ แล้วส่งผล (สารสนเทศ) ให้ผู้ที่มีอำนาจ ใช้ในการตัดสินใจ หรือเพื่อไม่ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจผิดพลาดเพราะขาดข้อมูล (บางทีใช้ในความหมายเดียวกันกับหัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์) |
client application | โปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ |
client server system | ระบบรับ-ให้บริการหมายถึง เครือข่ายการทำงานแบบที่กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นเป็นเครื่องบริการแฟ้ม (file server) หรือเป็นที่เก็บโปรแกรมและแฟ้มทั้งหมด คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะเรียกใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลจากกันไม่ได้ ต้องเรียกจากเครื่องบริการแฟ้มเท่านั้นดู file server ประกอบดู peer to peer เปรียบเทียบ |
compact disk | ใช้ตัวย่อว่า CD เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เครื่อง คอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ มักจะมีหน่วยบันทึกที่อ่านจานบันทึกนี้ได้ ข้อมูลที่เก็บในสื่อชนิดนี้จะเป็นข้อความ ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว (ภาพยนตร์) หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะทั่วไปก็เหมือนจานซีดีที่บรรจุเพลง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์หรือประมาณ 400 เท่าของจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนมากนิยมใช้เก็บโปรแกรม หรือใช้เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ นิยมใช้ในระบบเครือข่าย ทำให้สะดวกสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตามสาย (on line) ส่วนใหญ่จานบันทึกประเภทนี้ยังคงใช้อ่านได้อย่างเดียว (read only) การบันทึกยังต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ราคายังค่อนข้างแพง |
compression | (คัมเพรส'เชิน) n. การอัด,การบีบ,การกด,ผลจากการถูกอัด,ความกดดัน,ภาวะที่ปริมาตร (ในห้องเครื่อง) ต่ำลงและความกดดันของอากาศสูงขึ้นก่อนการเผาไหม้., Syn. compressure การอัดแน่นหมายถึง นำข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมาก ๆ มาอัดให้แน่น เพื่อ ให้ใช้ที่เก็บในหน่วยความจำ หรือจานบันทึกน้อยลง โดยปกติ จะมีโปรแกรม หรือคำสั่ง (ในดอส 6.0) ที่สามารถอัดโปรแกรม ใหญ่ ๆ ที่กินเนื้อที่มาก ๆ ให้เหลือน้อยลง (เพื่อจะได้เก็บลงในแผ่นจานบันทึกได้) จานบันทึกชนิดอ่อน (floppy disk) ในปัจจุบัน มีความสูงสุด 1.44 เมกะไบต์ ฉะนั้น ถ้าแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ก็จะไม่สามารถเก็บลงในแผ่นได้ จึงต้องจัดการอัดให้แน่นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเรียกมาใช้ จะต้องนำมาคลายออกก่อน เรียกว่า "decompress" การอัดแน่นก็ดี การคลายคืนก็ดี จะต้องมีโปรแกรมเฉพาะจัดทำให้ ในระบบดอส นิยมใช้ PKZip/Unzip ในระบบ Windows 95 โปรแกรมที่นิยมชื่อ WinZip ในระบบยูนิกซ์ ใช้ Gunzipดู expand, decompress เปรียบเทียบ |
computer virus | ไวรัสคอมพิวเตอร์หมายถึง โปรแกรมที่คนบ้า ๆ เขียนซ่อนไว้เพื่อทำลายโปรแกรม แฟ้มข้อมูลหรือ อุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติประการหนึ่ง คือ เกาะติดตามไปกับโปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฟ้มข้อมูล command.com ทำให้มีการติดต่อระบาดไปในที่ต่างได้เหมือนเชื้อไวรัส สาเหตุของการติดไวรัส ก็คือมีการใช้จานบันทึกร่วมกัน ไวรัสเหล่านี้มักจะกำหนดมาให้เพิ่มความสามารถในการทำลายทุกครั้งที่เปิดเครื่อง หรือทุกครั้งที่ใช้โปรแกรมนั้น วิธีการป้องกันไวรัสในขั้นต้นก็คือ 1. อย่าใช้จานบันทึกของผู้อื่น หรือร่วมกับผู้อื่น2. ใช้โปรแกรมที่สามารถตรวจสอบและกำจัดไวรัสได้เป็นประจำ หรือทุกครั้งที่ใช้จานบันทึกในหน่วยบันทึก A: หรือ B: รวมทั้งจัดการใช้วัคซีนฉีดกันไว้ก่อน แม้ว่าในปัจจุบัน ไม่สู้จะได้ผลนัก เพราะมีไวรัสใหม่ ๆ เพิ่มมาทุกวัน (ดู vaccine) 3. จัดรูปแบบการบันทึกข้อมูล (format) ใหม่ วิธีนี้รับประกันได้ผลแน่นอน แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่า ข้อมูลหรือโปรแกรมอื่นที่เก็บไว้แม้จะยังมิได้ติดไวรัสก็จะหายไปหมด พร้อมกับไวรัส |