case sensitivity | การบังคับใช้ตัวเล็ก/ตัวใหญ่หมายถึง ความแตกต่างระหว่างการใช้ตัวใหญ่และตัวเล็กของตัวอักษรในภาษาอังกฤษ โปรแกรมบางโปรแกรมหรือระบบบางระบบจะบังคับว่า ต้องใช้ตัวใหญ่ทั้งหมด หรือตัวเล็กทั้งหมด มิฉะนั้นเครื่องจะไม่เข้าใจ เช่น ชื่อโปรแกรมภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) หรือ ระบบยูนิกซ์ (UNIX) จะบังคับให้ใช้ตัวใหญ่เท่านั้น ส่วนระบบดอสและวินโดว์ไม่บังคับ กล่าวคือ ใช้ตัวเล็กก็ได้ตัวใหญ่ก็ได้ |
check sum | ผลรวมตรวจสอบหมายถึง ผลการคำนวณเพื่อยืนยันในความแม่นตรงของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านทางโมเด็ม ส่วนมากจะเป็น XModem โดยปกติ ในการส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์จะต้องจัดการแยกข้อมูลทั้งหมดออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ก่อน ฉะนั้นเมื่อส่งเรียบร้อยแล้ว จึงต้องมีการตรวจสอบผลรวม ถ้าตรงกัน ก็แปลว่า ข้อมูลที่ส่งออกไปถูกต้องครบถ้วน |
client application | โปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ |
composite video | สัญญาณวีดิทัศน์คอมโพสิตหมายถึง สัญญาณวีดิทัศน์ที่ใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ โดยปกติแล้ว ใช้สายไฟสายเดียว ตรงข้ามกับสัญญาณอื่น เช่น สัญญาณ RGB (Red Green Blue) ซึ่งจะใช้แต่ละสาย สำหรับแต่ละสี คือมีสายสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน เป็นต้น ฉะนั้น หากเราต้องการภาพ เลือน ๆ ให้ปรากฏบนจอภาพ เครื่องรับโทรทัศน์ของเรา ก็ทำได้โดยส่งสัญญาณนี้แทน |
consequently | (คอน'ซะเควินทฺลี) adv. ผลที่สุดก็คือ,เพราะฉะนั้น, Syn. hence,therefore -Conf. subsequently |
dram | (ดีแรม) ย่อมาจาก dynamic random access memory (แปลว่าแรมแบบพลวัต) โดยปกตินั้น คอมพิวเตอร์จะใช้ชิป 2 แบบ คือ แบบดีแรม (DRAM) และ แบบ เอสแรม (SRAM) ชิปแบบดีแรม นี้จะมีราคาถูกกว่า เพราะว่าชิปแบบนี้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องนำเอาข้อมูลกลับไปไว้ ณ ที่เดิมเป็น ระยะ ๆ มิฉะนั้น อาจจะลืมได้ ดู RAM ประกอบ |
dynamic ram | แรมแบบพลวัตย่อมาจาก Dynamic Random Access Memory ใช้ตัวย่อว่า DRAM (อ่านว่าดีแรม) โดยปกตินั้น คอมพิวเตอร์จะใช้ชิป 2 แบบ คือ แบบดีแรม (DRAM) และ แบบ เอสแรม (SRAM) ชิปแบบ ดีแรม นี้จะมีราคาถูกกว่า เพราะว่าชิปแบบนี้นั้น คอมพิวเตอร์จะต้องนำเอาข้อมูลกลับไปไว้ ณ ที่เดิมเป็นระยะ ๆ มิฉะนั้น มันจะลืมได้ ดู RAM ประกอบ |
else | (เอลซฺ) adv. อื่นอีก,อื่น,มิฉะนั้น,ถ้าไม่เช่นนั้น adj. อื่น,อย่างอื่น,อีก -or else มิฉะนั้นแล้ว |
compression | (คัมเพรส'เชิน) n. การอัด,การบีบ,การกด,ผลจากการถูกอัด,ความกดดัน,ภาวะที่ปริมาตร (ในห้องเครื่อง) ต่ำลงและความกดดันของอากาศสูงขึ้นก่อนการเผาไหม้., Syn. compressure การอัดแน่นหมายถึง นำข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมาก ๆ มาอัดให้แน่น เพื่อ ให้ใช้ที่เก็บในหน่วยความจำ หรือจานบันทึกน้อยลง โดยปกติ จะมีโปรแกรม หรือคำสั่ง (ในดอส 6.0) ที่สามารถอัดโปรแกรม ใหญ่ ๆ ที่กินเนื้อที่มาก ๆ ให้เหลือน้อยลง (เพื่อจะได้เก็บลงในแผ่นจานบันทึกได้) จานบันทึกชนิดอ่อน (floppy disk) ในปัจจุบัน มีความสูงสุด 1.44 เมกะไบต์ ฉะนั้น ถ้าแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ก็จะไม่สามารถเก็บลงในแผ่นได้ จึงต้องจัดการอัดให้แน่นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเรียกมาใช้ จะต้องนำมาคลายออกก่อน เรียกว่า "decompress" การอัดแน่นก็ดี การคลายคืนก็ดี จะต้องมีโปรแกรมเฉพาะจัดทำให้ ในระบบดอส นิยมใช้ PKZip/Unzip ในระบบ Windows 95 โปรแกรมที่นิยมชื่อ WinZip ในระบบยูนิกซ์ ใช้ Gunzipดู expand, decompress เปรียบเทียบ |
computer language | ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล |
hence | (เฮนซฺ) adv. เพราะฉะนั้น,ดังนั้น,ตั้งแต่นี้ต่อไป,ขณะนี้. interj. จากไป |
lest | (เลสทฺ) conj. เพื่อไม่ให้,เพื่อว่า,โดยเกรงว่า,มิฉะนั้น |
nicad | (ไนแคด) ย่อมาจาก nickel cadmium หมายถึง แบตเตอรี่ที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ เช่น โน้ตบุ๊ก แบตเตอรี่ชนิดนี้ใช้อัดไฟได้ แต่ต้องกำจัดไฟที่เหลือภายในให้หมดก่อน มิฉะนั้นจะอัดไฟได้น้อยลงทุกที |
computer security | ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน การใช้ระบบเครือข่ายทำให้สามารถดึงข้อมูล ซึ่งบางทีเป็นความลับออกมาดู หรือแอบนำไปเผยแพร่ได้ ฉะนั้น จึงต้องมีการจัดระบบความปลอดภัย ส่วนใหญ่ใช้รหัส ซึ่งจะทำให้ทุกคนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ เราอาจอนุญาตเฉพาะคนบางคน หรือกลุ่มคนบางคน ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยต้องรู้รหัส ฉะนั้นในขณะที่มีการสร้างฐานข้อมูล ก็ควรคำนึงถึงเรื่องนี้ไว้ด้วย |
defrag | นำ (แฟ้มข้อมูล) มาต่อกันในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึกข้อมูลลงไปแล้วมาสั่งลบภายหลัง จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการแบ่งข้อมูลใหม่นี้ให้ได้สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน ทำให้แฟ้มข้อมูลเดียวถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการกระจาย (fragmentation) โปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จึงมีคำสั่ง "defrag" ซึ่งจะช่วยจัดการนำแฟ้มข้อมูลเดียวกันมาเรียงให้ติดต่อกัน เพื่อให้การค้นคืนแฟ้มทำได้รวดเร็วขึ้น ในระบบวินโดว์ ก็จะต้องสั่งให้มีการนำแฟ้มมาต่อกันนี้เป็นครั้งคราวเสมอ |
dumb terminal | เครื่องปลายทางใบ้เครื่องปลายทางธรรมดาหมายถึง เครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ชนิดธรรมดา ดูเผิน ๆ จะเหมือนกับไมโครคอมพิวเตอร์ แต่จริง ๆ แล้ว จะมีแต่แป้นพิมพ์และจอภาพ ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe) ที่อื่น เครื่องปลายทางชนิดนี้ไม่มีหน่วยบันทึกข้อมูล หน่วยความจำ หรือตัวประมวลผล ฉะนั้นจะเก็บข้อมูลหรือประมวลผลอะไรไม่ได้เลยดู intelligent terminal หรือ smart terminal เปรียบเทียบ |
format | (ฟอร์'แมท) n. รูปแบบ,แผนการรวมทั้งหมด, Syn. plan,layout รูปแบบจัดรูปแบบ1. หมายถึงรูปแบบการเก็บข้อมูลของโปรแกรมสำเร็จแต่ละโปรแกรม โปรแกรม Word Perfect และโปรแกรม WordStar แม้จะเป็นโปรแกรมประมวลผลคำเหมือนกัน แต่รูปแบบการเก็บข้อมูลก็ไม่เหมือนกัน 2. FORMAT เป็นคำสั่งหนึ่งในระบบดอส และระบบวินโดว์ ที่ใช้เพื่อเตรียมจัดรูปแบบจานบันทึกใหม่ ๆ ไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรือโปรแกรม จานบันทึกของแมคอินทอชกับจาน บันทึกของพีซี จะกำหนดรูปแบบการเก็บข้อมูลไม่เหมือนกัน ฉะนั้น หากนำจานบันทึกที่จัดรูปแบบด้วยคำสั่ง "FORMAT" ของระบบดอสไปใช้กับเครื่องแมคอินทอช หน่วยบันทึกก็จะไม่รับ เพราะอ่านไม่ได้ หรือบันทึกข้อมูลลงเก็บไม่ได้ |
nickel cadmium | แบตเตอรี่ชนิดหนึ่งเรียกย่อ ๆ ว่า NiCad (อ่านว่า ไนแคด) หมายถึง แบตเตอรี่ที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ เช่น โน้ตบุ๊ก แบตเตอรี่ชนิดนี้ใช้อัดไฟได้ แต่ต้องกำจัดไฟที่เหลือภายในให้หมดก่อน มิฉะนั้นจะอัดไฟได้น้อยลงทุกที |
other | (อัธ'เธอะ) adj. อื่น,อีก,อื่นอีก,อะไรอีก,มากกว่า,จำนวนพิเศษ,ต่างไปกว่า,ไม่เหมือนกัน,แตกต่างกัน,อันก่อน,ก่อน. -every other..วันเว้นวัน -Phr. (the other day (night) สองสามวันก่อน,เมื่อวานซืนนี้) n. สิ่งอื่น,คนอื่น,อันอื่น,วันอื่น pron. สิ่งอื่น,คนอื่น adv. มิฉะนั้น,ตรงกันข้าม |
otherwise | (อัธ'เธอะไวซฺ) adv. อีกอย่างหนึ่ง,หาไม่แล้ว,ถ้าไม่เช่นนั้น,มิฉะนั้น,อีกอย่างหนึ่ง,ประการอื่น. adj. อื่น,เป็นอย่างอื่น,แตกต่าง,ตรงกันข้าม |
so | (โซ) adv. ดังนั้น,เช่นนั้น,เช่นนี้,ฉันนั้น,อย่างนั้น,อย่างยิ่ง,จริง ๆ ,มากยิ่ง,โดยแน่แท้,เหตุฉะนั้น,เหตุฉะนี้,แล้วทำไม. conj. ดังนั้น,ถ้า,ถ้าเช่นนั้น,โดยมีเงื่อนไขว่า,เพียงแต่,ขอให้ pron. ดังนั้น,เช่นนั้น,จนกระทั่ง,จนถึงกับ,ในราว,ราว ๆ นั้น,ประมาณ interj. คำอุทาน,เมินเฉย |
fragmentation | การแยกส่วนหมายถึง อาการอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ที่ ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึก ข้อมูลลงไป แล้วมาสั่งลบภายหลัง ก็จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่ บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการ แบ่งแฟ้มใหม่นี้ให้ได้ สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน บางที แฟ้มเดียวกันจึงต้อง ถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการเก็บแยกส่วน ในโปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จะมีคำสั่ง "DE FRAG" ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหา ในเรื่องนี้ได้ |
internet | (อินเทอร์เน็ต) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลก ผ่านโมเด็ม (modem) คล้ายกับ Compuserve ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูล และโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้ อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเตอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น ไทยมี Chulanet, KSC , Infonews เป็นต้น) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล |
low level language | ภาษาระดับต่ำเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง (machine language) ฉะนั้น คอมพิวเตอร์จะแปลได้ง่ายกว่าภาษาระดับสูงอย่างภาษา FORTRAN, COBOL หรือ C แต่ผู้เขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับนี้ จะพบว่าเขียนยากกว่าใช้ภาษาระดับสูง ซึ่งมีลักษณะเหมือนภาษามนุษย์มากกว่า ตัวอย่างของภาษานี้มี ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) อยู่เพียงภาษาเดียว ดู high level language เปรียบเทียบ |
machine language | ภาษาเครื่องหมายถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำให้เครื่องรับรู้และเข้าใจได้ เขียนโดยใช้รหัสเลขฐานสองเป็นหลัก (ฉะนั้น จะมีแต่เลข 0 กับ 1 เท่านั้น) คำสั่งแต่ละคำสั่งจะหมายถึงการทำงานอย่างหนึ่ง แต่ละโปรแกรมจึงจะยาวค่อนข้างมาก ผู้ที่เริ่มต้นเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ไม่ควรเรียนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้เลย เพราะอาจจะทำให้หมดกำลังใจไปเลย อาจจะพอเปรียบได้ว่า เลขฐานสองนั้นก็เหมือน ๆ กับตัวโน้ต เพลง (ภาษาดนตรีก็เข้าใจยากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษาเครื่องนี้สักเท่าใดดอก) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องทำความเข้าใจไว้เสมอว่า ไม่ว่าเราจะสั่งให้เครื่องทำงานด้วยโปรแกรมภาษาอะไรก็ตาม ตัวแปลโปรแกรม (compiler) ก็จะต้องทำหน้าที่แปลภาษาที่เราใช้ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจจนสามารถปฏิบัติตามคำสั่ง (execute) นั้น ๆ ได้ |
then | (เธน) adv. ดังนั้น,ในเวลานั้น,ถ้าเป็นเช่นนั้น,อีกประการหนึ่ง,โดยเฉพาะอย่างยิ่ง,นอกจากนั้น,ในกรณีนั้น,เพราะฉะนั้น,then and there ในขณะนั้นทันที. adj. เช่นนั้น,ดังนั้น. n. เวลานั้น |
thence | (เธนซฺ) adv. จากที่นั้น,จากนั้น,ตั้งแต่นั้นต่อมา,เพราะฉะนั้น,ดังนั้น, Syn. thenceforth |
macro assembler | ตัวแปลแมโครหมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมหนึ่งที่ใช้งานในการสร้างโปรแกรมแมโครและมีหน้าที่แปลภาษาที่ใช้ในแมโครให้เป็นภาษาแอสเซมบลี (assembly language) แต่ละข้อคำสั่งในโปรแกรมภาษาแอสเซมบลีนั้นใช้แทนคำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) หลายคำสั่งได้ ฉะนั้นถ้าเขียนแมโครเก็บไว้ เมื่อเรียกมาใช้ก็จะทำให้สะดวก ไม่ต้องพิมพ์คำสั่งยาว ๆ ดู macro ประกอบ |
math coprocessor | ตัวประมวลผลร่วมคณิตศาสตร์หมายถึง แผ่นวงจรพิเศษหรืออาจเป็นชิปที่สร้างไว้เพื่อให้ทำหน้าที่เฉพาะในการคำนวณ เพื่อช่วยเสริมหน่วยประมวลผลอีกชั้นหนึ่ง ซอฟต์แวร์บางตัวจะมีคำสั่งเรียกเอาตัวประมวลคณิตนี้มาใช้โดยอัตโนมัติ ฉะนั้น ถ้านำโปรแกรมนั้นมาใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีตัวประมวลชนิดนี้ ก็อาจจะมีปัญหาได้ |
near-letter quality | คุณภาพเกือบคมชัดใช้ตัวย่อว่า NLQ แปลตามตัวอักษรว่า เกือบเหมือนตัวพิมพ์ดีด ใช้เป็นคำอธิบายถึงคุณภาพของเครื่องพิมพ์ว่า มีคุณภาพเกือบคมชัด หรือใกล้เคียงตัวพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพ จะมองดูเหมือนการนำจุดมาเรียงกันให้เป็นรูปตัวอักษร ฉะนั้น เครื่องพิมพ์ชนิดที่มีจุดมาก ๆ ติด ๆ กัน จะทำให้ดูมีความคมชัด (high resolution) ตัวอักษรที่พิมพ์ออกมา จะดูสวยและประณีต เหมือนตัวพิมพ์ดีด การวัดคุณภาพของเครื่องพิมพ์ จึงวัดเป็นจำนวนจุดต่อนิ้ว เช่น 600 จุดต่อนิ้ว ย่อมดีกว่า 300 จุดต่อนิ้ว เป็นต้น (300 จุดต่อนิ้ว พอจะเรียกได้ว่า คุณภาพเกือบคมชัด) ดู printer และ letter quality ประกอบ |
neural network | เครือข่ายเส้นประสาทหมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเลียนแบบเส้นใยประสาทของมนุษย์ ที่เรียกว่า นิวโรน ในสมองมนุษย์ ซึ่งมีนับจำนวนล้าน ๆ ตัว การประมวลผลกิจกรรมต่าง ๆ จะออกมาในลักษณะแบบขนาน (ไม่ใช่แบบอนุกรม) หมายถึง ทำงานพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ได้คำตอบอันเดียว ทั้งนี้หมายถึง การที่ต้องสามารถทำงานที่สลับซับซ้อนมาก ๆ โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ได้เอง ฉะนั้นการที่เครือข่ายแบบนิวโรนนี้จะให้คำตอบได้ก็ต่อเมื่อมีการส่งปัญหาต่าง ๆ เข้าไปให้ลองทำมาก ๆ เครือข่ายแบบนี้จะเป็นประโยชน์ เฉพาะในงานประมวลผลงานบางประเภท เช่น เรื่องการประมวลผลเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นในตลาด หรือการหาความคล้ายคลึงระหว่างภาพหลาย ๆ ภาพ เช่น ลายนิ้วมือ เป็นต้น ดู artificial intelligence ประกอบ |
nlq | (เอ็นแอลคิว) ย่อมาจาก near letter quality (คุณภาพเกือบคมชัด) แปลตามตัวอักษรว่า เกือบเหมือนตัวพิมพ์ดีด ใช้เป็นคำอธิบายถึงคุณภาพของเครื่องพิมพ์ว่า สามารถพิมพ์ได้เกือบคมชัด หรือใกล้เคียงตัวพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพ จะมองดูเหมือนการนำจุดมาเรียงกันให้เป็นรูปตัวอักษร ฉะนั้น เครื่องพิมพ์ชนิดที่มีจุดมาก ๆ ติด ๆ กัน จะทำให้ความคมชัด (high resolution) ตัวอักษรที่พิมพ์ออกมา จะดูสวยและประณีต เหมือนตัวพิมพ์ดีด การวัดคุณภาพของเครื่องพิมพ์ จึงวัดเป็นจำนวนจุดต่อนิ้ว เช่น 600 จุดต่อนิ้ว ย่อมดีกว่า 300 จุดต่อนิ้ว เป็นต้น (300 จุดต่อนิ้ว พอจะเรียกได้ว่า คุณภาพเกือบคมชัด) ดู printer และ letter quality ประกอบ |
numeric keypad | แผงแป้นตัวเลขหมายถึง กลุ่มแป้นพิมพ์ที่มีตัวเลข และเครื่องหมายที่ใช้ในการคำนวณ จัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เรียงกันแบบเดียวกับเครื่องคิดเลข มักอยู่ทางด้านริมขวาของแผงแป้นอักขระ (keyboard) เพื่อ ความสะดวกรวดเร็วในการพิมพ์ ถ้าจะพิมพ์เฉพาะตัวเลข มีราว ๆ 10 - 20 แป้น การใช้แป้นใน กลุ่มนี้พิมพ์ตัวเลข จะต้องกดแป้น Num Lock ก่อน (ดู Num Lock) มิฉะนั้นจะใช้เป็นเหมือนแป้นลูกศร หรือพิมพ์ไม่ติดเลย หรืออาจเป็นสัญลักษณ์สั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำคำสั่งอื่น ๆ แทน |
object-oriented programmi | การทำโปรแกรมเชิงวัตถุหมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้ |
odd even check | การตรวจสอบภาวะคู่หรือคี่หมายถึง วิธีการตรวจสอบโดยการตรวจสอบแต่ละหน่วยข้อมูลไม่ว่าจะเป็นไบต์ (byte) หรือเป็นคำ (word) ว่ามีจำนวนบิต (bit) ที่เป็น 1 เป็นจำนวนคู่หรือคี่ โดยการเพิ่มหนึ่งบิตที่เรียกว่า บิตเสริม (parity bit) เข้าที่ท้ายหรือต้นข้อมูลนั้น ๆ เพื่อให้จำนวนบิตที่เป็น 1 เป็นเลขคี่หรือคู่เป็นการตรวจสอบความเคลื่อนคลาดในการอ่าน, บันทึก, หรือถ่ายโอนข้อมูลนั้น ๆ โดยปกติ พออ่านข้อมูลเข้าไปหน่วยหนึ่ง บิตเสริมก็จะถูกนำมาคำนวณและเปรียบเทียบกับบิตเสริมที่เก็บไว้แล้ว หากมีค่าเท่ากันก็แปลว่าการอ่านข้อมูลเข้าไปถูกต้อง มิฉะนั้น อาจต้องให้อ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งมีความหมายเหมือน parity check |
oop | (โอโอพี, อุป) ย่อมาจาก object-oriented programming หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้ |
packet switching network | ข่ายงานแบบสลับกลุ่มข้อมูลใช้ตัวย่อว่า PSN (อ่านว่า พีเอสเอ็น) หมายถึง วิธีส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง โดยการแบ่งสายข้อมูลเป็นกลุ่ม (packet) แล้วส่งไปยังปลายทาง ฉะนั้น กลุ่มข้อมูลอาจจะไปในทิศทางต่าง ๆ กันได้ และไม่จำเป็นต้องถึงปลายทางตามลำดับที่ส่งออก เครื่องปลายทาง (terminal) จะทำหน้าที่รวบรวมกลุ่มข้อมูล แล้วจัดกลับเป็นสายข้อมูลเอง |
parity check | การตรวจสอบภาวะเสริมหมายถึง วิธีการตรวจสอบโดยการตรวจแต่ละหน่วยข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นไบต์ (byte) คำ (word) ว่าเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ เป็นการตรวจสอบความเคลื่อนคลาดในการอ่าน บันทึก หรือ ถ่ายโอนข้อมูลนั้น ๆ โดยปกติ พออ่านข้อมูลเข้าไปหน่วยหนึ่ง บิตเสริม (parity bit) ก็จะถูกนำมาคำนวณแล้วเปรียบเทียบกับบิตเสริมที่เก็บไว้แล้ว หากมีค่าเท่ากัน ก็แปลว่า การอ่านข้อมูลเข้าไปถูกต้อง มิฉะนั้น อาจต้องให้มีการอ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งมีความหมายเหมือน odd even check |
psn | (พีเอสเอ็น) ย่อมาจาก packet switching network (ข่ายงานแบบสลับกลุ่มข้อมูล) หมายถึง วิธีส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง โดยการแบ่งสายข้อมูลเป็นกลุ่ม (packet) แล้วส่งไปยังปลายทาง ฉะนั้น กลุ่มข้อมูลอาจจะไปในทิศทางต่าง ๆ กันได้ และไม่จำเป็นต้องถึงปลายทางตามลำดับที่ส่งออก เครื่องปลายทาง (terminal) จะทำหน้าที่รวบรวมกลุ่มข้อมูล แล้วจัดกลับเป็นสายข้อมูลเอง |
sans serif | แซนเซอริฟ เป็นแบบอักษร (font) ภาษาอังกฤษแบบหนึ่งที่ไม่มีส่วนงอนโค้งของส่วนปลายสุดของตัวอักขระ ส่วนงอนโค้งนี้ในภาษาอังกฤษ เรียกกันว่า serif ฉะนั้น sans serif ก็หมายความว่าปราศจากส่วนนี้ (sans เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า ปราศจาก) แบบอักษรชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นตัวตรง ๆ เหมาะสำหรับใช้พิมพ์ชื่อเรื่อง พาดหัวตัวโต ๆ ว่ากันว่าให้อ่านง่าย ในระบบวินโดว์ของพีซี กรอบสนทนาทั้งหมดใช้แบบอักษรนี้ ฉะนั้น ต้องระวังอย่าลบแบบอักษรนี้ออกจากหน่วยความจำโดยเด็ดขาด ดู serif เปรียบเทียบ |