initialize | เริ่มต้นหมายถึง การเตรียมการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ พร้อมที่จะทำงานได้ การเริ่มต้นในอุปกรณ์ส่วนใดก็จะลบล้างข้อมูลเก่าที่บรรจุไว้ที่ส่วนนั้นหมดไป สำหรับเครื่องแมคอินทอช คำ "intialize" จานบันทึก มีความหมายเหมือนคำ format ในระบบดอส กล่าวคือ แปลว่า จัดเตรียมรูปแบบการบันทึก หมายถึง กำหนดแทร็ก (track) และเซ็กเตอร์ (sector) ให้มีความหมายเหมือนคำ format |
apheresis | (อะเฟอ'รีซิส) n. การขาดอักษรหรือขาดเสียงตอนเริ่มต้นคำ เช่น account เป็น count. -apheretic adj. |
attack | (อะแทค') vt.,vi.,n. โจมตี,เข้าตี,ทำร้าย,เล่นงาน,ลงมือทำ, (โรค) เป็น, (ไข้) จับ,ลงมือทำ,เริ่มขึ้น,เริ่มต้น,ข่มขืน, พยายามข่มขืน |
base address | หมายถึง ตำแหน่งเริ่มต้นที่ใช้เพื่อการคำนวณหาเลขที่อยู่ (address) ในแหล่งเก็บข้อมูล จากเลขที่อยู่สัมพัทธ์ (relative address) |
basic | (เบ'ซิค) 1. adj. เกี่ยวกับฐาน,เกี่ยวกับด่าง 2. เป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่งใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษาเบสิกนี้เขียนง่าย ๆ เหมาะกับผู้เริ่มต้นเรียน คำว่า BASIC นั้นย่อมาจาก Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code แปลได้ว่า รหัสคำสั่งที่เป็นสัญลักษณ์เอนกประสงค์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อเริ่มนำออกใช้ใหม่ ๆ ภาษานี้มีข้อจำกัดมาก ในปัจจุบันแม้จะมีการพัฒนาภาษานี้ไปไกลแล้ว แต่นักทำโปรแกรมทั่วไปมักจะดูถูกว่า เป็นภาษาสำหรับผู้เริ่มต้น และไม่นิยมนำมาใช้ในการเขียนโปรแกรมใหญ่ ๆ ข้อดีของภาษานี้ก็คือ จะทราบที่ผิดและแก้ไขได้ทันที |
begin | (บิกิน') {began,begun,beginning,begins} vi.,vt. เริ่ม,เริ่มต้น,ตั้งต้น,ลงมือ, See also: beginner n., Syn. initiate -Conf. start |
begin of tape | จุดเริ่มต้นเทป ใช้ตัวย่อว่า BOT หมายถึง จุดบนแถบบันทึกหรือเทป (tape) ที่กำหนดให้เป็นจุดเริ่มต้นให้มีการบันทึกข้อมูลลงได้ ปกติจะทำเป็นจุดสะท้อนแสงบนแถบบันทึก ซึ่งจะทำให้เกิดสัญญาณ บังคับให้เริ่มมีการอ่านข้อมูลบนแถบบันทึกโดยเริ่มจากจุดนั้นเป็นต้นไป |
boot | (บูท) {booted,booting,boots} n. รองเท้าหุ้มข้อเท้า,รองเท้าบู๊ท,เครื่องหุ้มคล้ายปลอก,ฝาครอบป้องกัน,ปลอกหุ้มเบาะ,โครงรถ,เครื่องรัดทรมานข้อเท้า,การเตะ,การถีบ,การปลดออก vt. สวมรองเท้าบู๊ท,เตะ,ถีบ เริ่มต้นใหม่เริ่มเครื่องใหม่หมายถึง การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นทำงาน (ว่ากันว่า คำ "boot" นี้ มาจากคำว่า "bootstrap" เบื้องหลังการใช้คำ ๆ นี้ อยู่ที่การขู่ว่า ถ้าไม่ทำงานแล้วละก็ โดนรองเท้าบู๊ตแน่ ๆ เลย) การเริ่มเครื่องใหม่นั้น โดยปกติ เมื่อกดสวิตช์เปิดแล้ว คอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นทำงานด้วยการอ่านจานบันทึกในหน่วยบันทึก A: ถ้าในหน่วยบันทึก A: ไม่มีจานบันทึก ก็จะไปอ่านจานบันทึก C: (จะไม่สนใจหน่วยบันทึก B: เลย) ถ้ามีจานบันทึกใน A: จานบันทึกนั้นจะต้องมีคำสั่งระบบ (แฟ้มข้อมูล command.com) อยู่ คอมพิวเตอร์จึงจะเริ่มต้นทำงานต่อไปได้ ถ้าจานบันทึกใน A: ไม่มีคำสั่งระบบ จะมีรายงานบนจอภาพว่าเป็น "non-system disk" ในกรณีเช่นนี้ต้องเปลี่ยน แผ่น A: หรือดึงแผ่น A: ออก แล้วเริ่มต้นใหม่จาก หน่วยบันทึก C: (ถ้ามี) อนึ่ง การเริ่มเครื่องใหม่นั้น ทำได้ 2 วิธี วิธีแรกเริ่มด้วยการเปิดสวิตช์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ได้อธิบายแล้ว เรียกว่า "cold boot" อีกวิธีหนึ่งที่ใช้เมื่อมีการเปิดเครื่องอยู่ก่อนแล้ว แต่ต้องการเริ่มเครื่องใหม่ หรือเครื่องเกิดขัดข้องหรือค้าง (hang) ให้ กดแป้น CTRL +ALT +DEL เรียกว่า "warm boot" |
bot | 1. (บอท) n. ด้วยอ่อนของแมลงbotfly 2. (บีโอที) ย่อมาจาก begin of tape (จุดเริ่มต้นเทป) หมายถึง จุดเริ่มต้นที่จะให้มีการบันทึกลงแถบบันทึกหรือเทป (tape) ได้ ปกติจะทำเป็นจุดสะท้อนแสง ซึ่งจะทำให้เกิดสัญญาณบังคับให้เริ่มมีการอ่านข้อมูลจากจุดนั้นเป็นต้นไป |
c | (ซี) n. พยัญชนะอังกฤษตัวที่3,ตัวเลข100ของโรมัน,สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุคาร์บอน ภาษาซีเป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษานี้เริ่มต้นมาจากห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell ในช่วงทศวรรษ 1970 ภาษาซีนี้ เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปเทียบเคียงได้กับภาษาเบสิก (BASIC) หรือภาษาปาสกาล (Pascal) ความที่ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ง่ายและสะดวก โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น Lotus 1-2-3 และ Microsoft FoxPro ก็เขียนด้วยภาษาซี ภาษาซีได้เปรียบภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ 1. ภาษาซีง่ายในการเขียน และเรียนรู้ได้ง่ายเกือบจะเท่ากับภาษาเบสิก2. โปรแกรมภาษาซีใช้เวลาของเครื่อง (คอมพิวเตอร์) น้อยมาก พอ ๆ กับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) แต่เขียนได้ง่ายกว่ากันมาก3. ภาษาซีใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแมคอินทอชหรือไอบีเอ็ม (แทบจะไม่ต้องแก้ไขดัดแปลงอะไรเลย ผิดกับภาษาเบสิกและภาษาปาสกาล ซึ่งหากนำไปใช้กับเครื่องต่างตระกูลกันแล้ว จะต้องแก้ไขมากจนเรียกได้ว่าไม่คุ้ม |
cold start | เปิดเครื่อง (คอมพิวเตอร์) การเริ่มต้นระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ทั้งหมด โดยเปิดสวิตซ์ที่ตัวเครื่อง การเริ่มต้นเช่นนี้เป็นการเริ่มต้นครั้งแรกหรือเริ่มต้นใหม่เนื่องจากบางครั้ง ขณะที่ใช้อยู่ เกิดข้อผิดพลาดบางประการเกี่ยวกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ จนทำให้ไม่สามารถประมวลผลต่อไปได้ จึงต้องใช้วิธีปิดสวิตช์ แล้วเริ่มต้นใหม่ดู warm start เปรียบเทียบ |
command.com | คอมมานด์จุดคอม (ชื่อแฟ้มระบบ) เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่งในระบบดอส ซึ่งบรรจุคำสั่งระบบต่าง ๆ เช่น dir, copy, del จานบันทึกที่นำมาจัดรูปแบบการเก็บข้อมูลด้วยคำสั่ง format A:/s แล้ว จะมีแฟ้มข้อมูลนี้อยู่ในแผ่น A: แฟ้มข้อมูลนี้ จะนำมาใช้เป็นแผ่นเริ่มต้นเปิดเครื่อง (boot) ได้ ถ้าใช้คำสั่ง Format ในระบบวินโดว์ ต้องกากบาทที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าคำ system disk ด้วย จึงจะมีแฟ้มข้อมูลนี้ (จานบันทึกที่ไม่มีแฟ้มข้อมูลนี้ ใช้เก็บแฟ้มข้อมูลได้อย่างเดียว จะนำมาสั่งให้เริ่มเครื่อง (boot) ไม่ได้) |
commence | (คะเมนซฺ') ฐcommenced,commencing,commences} vi.,vt. เริ่ม,ริเริ่ม,เริ่มต้น,ได้รับปริญญา, See also: commenceable adj. ดูcommence commencer n. ดูcommence, Syn. begin -Conf. start,begin |
commencement | (คะเมนซฺ'เมินทฺ) n. การเริ่มต้น,การเริ่ม,พิธีรับปริญญา,วันรับปริญญา |
dawn | (ดอน) {dawned,dawning,dawns} n. อรุณ,รุ่งอรุณ,การเริ่มต้น,การเริ่มปรากฎขึ้น,การเข้าใจอย่างกะทันหัน vi. เริ่มทอแสง,เริ่มมองเห็นได้,เริ่มปรากฎขึ้นในใจครั้งแรก -S.beginning |
entry point | เลขที่อยู่แรกเข้าจุดแรกเข้าหมายถึง จุดเริ่มต้นของคำสั่งแรกในชุดคำสั่ง (program) หรือชุดคำสั่งประจำ (routine) การปฏิบัติงานจะเริ่มต้น ณ จุดนี้ |
firmware | เฟิร์มแวร์หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่บรรจุไว้ในชิปแทนที่จะบรรจุไว้ในจาน บันทึกข้อมูลตามปกติ เช่น ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในตอนเริ่มต้น เพราะจะต้องทำงานทันทีที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ |
fresh | (เฟรช) adj. สด,ใหม่,สดใส,สีไม่ตก,ไม่มีประสบการณ์ -n. การเริ่มต้น vt. vi. ทำให้สด. -adv. ใหม่,เมื่อเร็ว ๆ นี้,เดียวนี้ adj. ทะลึ่ง,ไม่มีมารยาท, See also: freshly adv. freshness n., Syn. recent,new |
default | (ดิฟอลทฺ') v.,n. (การ) ไม่ยอมชำระหนี้,ไม่เข้าร่วมแข่ง,แพ้การแข่งขันเนื่องจากไม่มาแข่ง,ไม่ปฏิบัติตามสัญญา,แพ้คดีเพราะไม่ยอมมาศาล,ทางเลือกก่อนเมื่อไร้ทางเลือก, Syn. failure ค่าโดยปริยายค่าเริ่มต้นหมายถึง ค่าค่าหนึ่งที่กำหนดไว้ในโปรแกรมสำเร็จ (ทุกโปรแกรม) ให้เป็นค่าที่ใช้ในตอนเริ่มต้นโปรแกรม ทุกครั้งที่เรียกโปรแกรมนี้ใช้ คอมพิวเตอร์ก็จะใช้ค่าที่ตั้งไว้นี้ เช่น ในโปรแกรม Page Maker กำหนดค่าเริ่มต้นไว้ว่า ให้ขนาดของหน้าเป็น A4 ทุกครั้งที่มีการเรียกใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ก็จะกำหนดขนาดของหน้ามาเป็น A4 ก่อนเสมอ หากต้องการเปลี่ยนแปลงภายหลัง ก็ย่อมทำได้ |
directory | (ดิเรค'ทะรี) n. หนังสือรวบรวมชื่อและที่อยู่ของบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ,แผ่นป้ายแสดงชื่อหน่วยงานและชั้นที่อยู่ของอาคารธุรกิจหลังใหญ่,คณะกรรมการ. adj. เกี่ยวกับการชี้ทาง,เกี่ยวกับการแนะแนว, Syn. list สารบบหมายถึง การแบ่งจานบันทึก (โดยเฉพาะจานบันทึกที่มีความจุมาก ๆ ที่สามารถบรรจุแฟ้มข้อมูลได้หลายร้อยแฟ้ม) ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อใช้เก็บแฟ้มข้อมูลเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อสะดวกในการค้นหา จานบันทึกทุก ๆ จานจะมีสารบบอย่างน้อยหนึ่งสารบบ เป็นสารบบเริ่มต้นเรียกว่า " สารบบราก " (root directory) เราอาจใช้คำสั่งสร้างสารบบ หรือสารบบย่อยเพิ่มขึ้น เพื่อใช้เก็บแฟ้มประเภทเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกันเอาไว้ด้วยกัน ก็ได้ การเก็บแฟ้มข้อมูลด้วยวิธีนี้ทำให้หาง่ายขึ้น |
error messsage | ข้อความระบุความผิดพลาดหมายถึงข้อความที่เตือนบนจอภาพเพื่อบอกให้รู้ว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้นมีอะไรผิด อาจเป็นไปได้ว่า ผู้ใช้ใช้คำสั่งผิด หรือทำผิดขั้นตอน สำหรับเครื่องแมคอินทอช ถ้าเป็นความผิดรุนแรง อาจเห็นเป็นลูกระเบิดบนจอภาพ ในกรณีที่เป็นเช่นนี้ จะต้องเริ่มต้นใหม่หมด |
home key | แป้นกดกลับตำแหน่งต้นเป็นแป้นพิมพ์แป้นหนึ่งในแผงแป้นอักขระ มีคำว่า Home อยู่บนแป้น เมื่อกดแป้นนี้จะเป็นการบังคับให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) กลับไปสู่จุดเริ่มต้นของบรรทัดใหม่ หรือจุดเริ่มต้นบรรทัดบนสุดของเอกสารหน้าหนึ่ง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโปรแกรมแต่ละโปรแกรมด้วย |
inceptive | (อิมเซพ' ทิฟว) adj. เริ่มต้น, เริ่มแรกเกี่ยวกับกริยา (ไวยากรณ์) ที่เริ่มต้น. -n. คำกริยาที่แสดงการเริ่มต้น, Syn. inchoative) |
initiatory | (อินิช'ชิเอทอรี) adj. ริเริ่ม,เริ่มต้น,ขั้นแรก,ก้าวแรก,เข้าเป็นสมาชิก., See also: initiatorily adv., Syn. introductory |
kickoff | (คิค'ออฟ) n. การเตะลูกครั้งแรก,การเขี่ยลูก,การเริ่มต้น,ระยะแรกเริ่ม. -S.kick-off |
leadoff | (ลีด'ออฟ) n. การตั้งตน,การเริ่มต้น,ผู้เริ่มเล่นตีลูกเบสบอล, Syn. beginning |
mouse button | ปุ่มบนเมาส์หมายถึง ส่วนพื้นที่บนหลังเมาส์ที่ใช้สำหรับกดเพื่อทำให้เกิดการกระทำบางประการ เช่น การเริ่มต้นโปรแกรม การเลือกรายการ การย้ายข้อความหรือภาพ ฯ เมาส์ของเครื่องแมคอินทอชจะมีปุ่มเดียว ส่วนของพีซีจะมีถึงสามปุ่ม ดู mouse ประกอบ |
offset | (ออฟ'เซท) n. สิ่งชดเชย,การหักล้างกัน,การเริ่มต้น,ขั้นบันไดฝาผนัง,หน่อแยก,แขนง,สาขา,เชื้อสาย,การวางเอียง,ระบบการพิมพ์ออฟเซท (offset lithography) ,ช่วงระยะที่แยก. |
open | (โอ'เพิน) adj.,v. เปิด,เปิดรับ,เปิดกว้าง,เริ่มต้น,เปิดอิสระ,โล่ง,ไม่ปิดบัง,โปร่ง,ยังไม่ตกลงกันได้,ใจบุญ,ลงมือ, See also: openly adv. openness n. -Phr. (open up ลงมือ เริ่มต้น เริ่มยิง,เริ่มคุ้นเคย,เปิดเผย,เพิ่มความเร็ว) n. ที่เปิดเผย-Phr. (the |
instruction time | เวลาทำคำสั่งเครื่องหมายถึงช่วงเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งดำเนินการแล้วเสร็จ หรือได้รับคำตอบที่ต้องการจากชุดคำสั่งหนึ่ง ๆ โดยปกติ การทำงานของคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ1. ช่วงการแปล (compilation time) 2. ช่วงการกระทำการ (execution time) มีความหมายเหมือน execution time |
machine language | ภาษาเครื่องหมายถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำให้เครื่องรับรู้และเข้าใจได้ เขียนโดยใช้รหัสเลขฐานสองเป็นหลัก (ฉะนั้น จะมีแต่เลข 0 กับ 1 เท่านั้น) คำสั่งแต่ละคำสั่งจะหมายถึงการทำงานอย่างหนึ่ง แต่ละโปรแกรมจึงจะยาวค่อนข้างมาก ผู้ที่เริ่มต้นเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ไม่ควรเรียนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้เลย เพราะอาจจะทำให้หมดกำลังใจไปเลย อาจจะพอเปรียบได้ว่า เลขฐานสองนั้นก็เหมือน ๆ กับตัวโน้ต เพลง (ภาษาดนตรีก็เข้าใจยากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษาเครื่องนี้สักเท่าใดดอก) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องทำความเข้าใจไว้เสมอว่า ไม่ว่าเราจะสั่งให้เครื่องทำงานด้วยโปรแกรมภาษาอะไรก็ตาม ตัวแปลโปรแกรม (compiler) ก็จะต้องทำหน้าที่แปลภาษาที่เราใช้ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจจนสามารถปฏิบัติตามคำสั่ง (execute) นั้น ๆ ได้ |
mouse | (เมาซฺ) n. หนู (pl. mice) อุปกรณ์สำหรับควบคุมเคอร์เซอร์บนจอภาพ, อุปกรณ์นำเข้า (input device) ชนิดหนึ่งมีขนาดพอเหมาะกับมือเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สามารถเคลื่อนย้ายไปบนผิวพื้นเรียบ ตัวเมาส์นี้ เมื่อเชื่อมต่อกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จะเป็นตัวทำให้เคลื่อนย้าย cursor ไปในทิศทางที่ต้องการได้ ใต้ตัวเมาส์จะมีลูกกลิ้งกลม ๆ ซึ่งจะทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เคลื่อนย้ายไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้ โดยปกติ เมาส์ของพีซีจะมี 3 ปุ่ม ส่วนใหญ่จะใช้ปุ่มทางด้านซ้าย ระบบวินโดว์ 95 มีการใช้ปุ่มทางขวาของเมาส์มากขึ้น ส่วนเมาส์ของแมคอินทอชจะมีปุ่มเดียว การใช้เมาส์จะมี 3 ลักษณะ คือ กดที่ปุ่มซ้ายหรือขวาเพียงครั้งเดียวเพื่อเลือกคำสั่ง หรือกำหนดภาพ ฯ กด 2 ครั้ง ติด ๆ กันเพื่อเริ่มต้นโปรแกรมหรือเปิดแฟ้มข้อมูล กับกดแล้วลากเพื่อเคลื่อนย้ายข้อความหรือภาพ |
object-oriented programmi | การทำโปรแกรมเชิงวัตถุหมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้ |
origin | (ออ'ริจิน) n. แหล่งกำเนิด,มูลเหตุ,การเกิด,รากฐาน,พืชพันธุ์,ระยะแรกเริ่ม,จุดเดิม,จุดเริ่มต้น, Syn. beginning |
memory unit | หน่วยความจำหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำนี้มากกว่าอย่างอื่น สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้ สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่ |
oop | (โอโอพี, อุป) ย่อมาจาก object-oriented programming หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้ |
overture | (โอ'เวอะเชอะ) n. เพลงโหมโรง,ฉากเริ่มต้น,โคลงนำ,การเล่นนำ,บทนำ,การเริ่มต้น,การแสดงเอง,การเสนอ,การทาบทาม.vt. เสนอ,ทาบทาม, Syn. proposal,offer |
path name | เส้นบอกทางหมายถึง เส้นบอกทางไปยังที่ที่ใช้เก็บแฟ้มข้อมูล โดยต้องเริ่มต้นด้วยหน่วยบันทึก (drive) คั่นด้วยเครื่องหมาย : ตามด้วยเครื่องหมาย \ หลังจากนั้นเป็นชื่อ สารบบ (directory) และอนุสารบน (subdirectory) ถ้ามี คั่นด้วย \ แล้วจึงถึงชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ เช่นตัวอย่างC:\PROGRAMS\GRAPHICSชA"ข้อความนี้ หมายความว่า แฟ้มข้อมูลชื่อ AAA อยู่ในอนุสารบนชื่อ GRAPHICS ในสารบบใหญ่ที่ชื่อ PROGRAM และอยู่ในหน่วยบันทึก C: อนึ่ง ในระบบวินโดว์ ทุกครั้งที่จะบันทึกแฟ้มข้อมูลลงในจานบันทึก หรือเรียกแฟ้มข้อมูลมาแสดงหรือสั่งพิมพ์ ฯ จะต้องแจ้งเส้นบอกทางไปยังแฟ้มข้อมูลนั้นให้ชัดเจน ถ้าเป็นแมคอินทอช จะไม่ใช้ระบบการเก็บแฟ้มข้อมูลแบบนี้ |
preliminary | (พริลิม'มะนะรี) adj. เบื้องต้น,ขั้นต้น,ขั้นเตรียมการ,ตอนต้น,อุ่นเครื่อง,เริ่มต้น,คำนำ n. สิ่งที่เป็นเบื้องต้น,การชกอุ่นเครื่อง,การแข่งขันอุ่นเครื่อง,การสอบเบื้องต้น,ขั้นเบื้องต้น,คำนำ, See also: preliminarily adv. |
prolog | (ue) (โพร'ลอก) n. บทนำ,คำนำ,อารัมภบท,การเปิดฉาก,เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน,การเริ่มต้น vt. นำ,เปิดฉาก ,โปรลอก ย่อมาจาก programming in logic เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง เหมาะกับงานวิจัย งานด้านการคำนวณต่าง ๆ หรืองานด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence), Syn. introduction |