acoustic memory | หน่วยความจำเชิงเสียงเป็นหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้สายหน่วงเสียง (acoustic delay line) ซึ่งใช้ปรอทหรือ ควอร์ทซ์ (quartz) เป็นสื่อ |
auxiliary memory | หน่วยความจำช่วย หมายถึงหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (เพิ่มไปจากหน่วยความจำหลัก) เช่น จานบันทึก เมื่อใดที่ต้องการใช้ ก็ให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำมาเก็บในเครื่อง จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม แล้วเก็บลงใหม่ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้สิ้นเปลืองหน่วยความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ |
bubble memory | หน่วยความจำแบบฟองหมายถึง หน่วยความจำชนิดหนึ่งที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ใด้แม้ว่าไฟฟ้าจะดับไปแล้วก็ตาม นิยมใช้กันมากสำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดวางตัก (laptop) หรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ที่ไม่มีเนื้อที่มากพอที่จะมีฮาร์ดดิสก์ได้ |
ccd memory | หน่วยความจำแบบซีซีดีย่อมาจาก charge coupled device memory (หน่วยความจำแบบอุปกรณ์ถ่ายเทประจุ) หมาย ถึงหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่ทำจากซิลิคอนชิป (silicon chip) ซึ่งสามารถเปลี่ยนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าไปเป็นประจุไฟฟ้า และสามารถบันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก (disk) ได้ เหมาะสำหรับงานที่เรียกใช้ข้อมูลในหน่วยความจำตามลำดับ (sequential) หน่วยความจำชนิดนี้ทำงานช้ากว่าแรม (RAM) แต่เร็วกว่าแบบแม่เหล็ก |
conventional memory | หน่วยความจำปกติใช้เรียก 640 กิโลไบต์แรกของหน่วยความจำ (RAM) ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม และเครื่องเลียนแบบไอบีเอ็ม (IBM compatibles) ที่กำหนดว่าต้องมีหน่วยความจำอย่างน้อย 640 เค (เป็นมาตรฐานที่กำหนดไว้นานแล้ว) |
disk cache | หน่วยความจำแคชบนจานหมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะกันไว้เก็บข้อมูลที่ใช้บ่อย ๆ โดยคัดออกจากจานบันทึกไปเก็บไว้ โปรแกรมบางโปรแกรมจะจัดแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำไปให้ บางโปรแกรมจะแบ่งเนื้อที่ในฮาร์ดิสก์ให้ เช่น เมื่อเราทำสำเนาจากแผ่นจานบันทึก |
electrically alterable re | หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดแก้ไขได้ใช้ตัวย่อว่า EAROM (อ่านว่าอีรอม) เป็นรอม (ROM) ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาลบและบันทึกใหม่ได้โดยไม่ต้องย้ายออกมาจากแผงวงจร การบรรจุโปรแกรมใหม่ทำได้โดยใช้กระแสไฟฟ้า และทำได้สะดวกกว่าอีพรอม (EPROM) มากดู ROM และ EPROM ประกอบ |
extended memory | หน่วยความจำส่วนเพิ่มหมายถึง หน่วยความจำชุด 80286, 80386 และ 80486 ซึ่งขยายแล้ว จุได้มากว่า 1 เมกะไบต์ |
high memory | หน่วยความจำสูงหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำที่มีขนาดระหว่าง 640 K ถึง 1 เมกะไบต์ดู memory ประกอบ |
nonvolatile memory | หน่วยความจำไม่ลบเลือนหมายถึง หน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ข้อมูลในนั้นจะไม่ลบหายไป แม้ว่าจะปิดกระแสไฟแล้วก็ตาม เช่น หน่วยความจำประเภทอ่านอย่างเดียว (ROM) เป็นต้น ดู memory ประกอบ |
prom | หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดโปรแกรมได้ หมายถึง ชิปกึ่งตัวนำที่สามารถแสดงข้อมูลที่บันทึกไว้ได้ แต่จะแก้ไขแล้วบันทึกทับลงไปไม่ได้ |
video memory | หน่วยความจำภาพหมายถึง ส่วนหนึ่งของแรม (RAM) ที่ใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่คอมพิวเตอร์กำลังแสดงผลอยู่บนจอภาพ ปกติ หน่วยความจำส่วนนี้ของพีซีจะใช้เนื้อที่กว่า 640 Kมีความหมายเหมือน video RAMดู RAM ประกอบ |
virtual memory | หน่วยความจำเสมือนหมายถึง การเขียนโปรแกรมให้ใช้หน่วยความจำได้มากกว่าที่เครื่องมีอยู่ เป็นต้นว่า คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำหลัก 8 เมกะไบต์ แต่สามารถใช้ได้เสมือนมีหน่วยความจำ 1 กิกะไบต์ เป็นต้น การที่จะทำเช่นนี้ได้ย่อมขึ้นกับระบบปฏิบัติการ (operating system) และตัวเครื่อง (hardware) ด้วย |
expanded memory | หน่วยความจำส่วนขยายหมายถึง หน่วยความจำที่เพิ่มเข้ามาภายหลัง วิธีเพิ่มหน่วยความจำแบบนี้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบดอส นิยมใช้อยู่ก่อนจะมีการนำชิป (chip) 80286 มาใช้ หน่วยความจำนี้เป็นหน่วยความจำต่างหากที่บริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ทำเป็นรายการแถมให้ เพิ่มจากหน่วยความจำ 640 K ที่ใช้อยู่เดิม ไม่ใช่นำหน่วยความจำเดิมมาทำให้ใหญ่ขึ้น เป็นหน่วยความจำคนละหน่วย แต่คอมพิวเตอร์สามารถเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำนี้ได้รวดเร็ว จนทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนกับว่าเป็นหน่วยความจำเดียวกัน |
external memory | หน่วยความจำภายนอกหมายถึง สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก (main memory) ในคอมพิวเตอร์ เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) เพราะราคาถูกกว่ามาก ถึงจะไม่เปิดไฟ ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ หน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีที่พอจะนำข้อมูลจำนวนมาก ๆ เข้าไปเก็บไว้ได้หมด (ยิ่งมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งแพงมาก) เพื่อช่วยประหยัด เราอาจเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง หรือหน่วยความจำช่วย (auxiliary storage) นี้ก่อน และจะดึงไปไว้ในหน่วยความจำหลักเฉพาะเมื่อเวลาต้องการเรียกใช้มีความหมายเหมือน external storage, secondary memory และ auxiliary storage |
main memory | หน่วยความจำหลักหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main storage |
random access memory | หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มใช้ตัวย่อว่า RAM (อ่านว่า แรม) เป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการสุ่ม การเข้าถึงโดยสุ่มหมายถึง การเข้าถึงหน่วยความจำทุกจุดได้ โดยใช้เวลาในการเข้าถึงเท่ากันหมด ไม่ต้องตั้งต้นใหม่ทุกครั้งแล้วรอไปตามลำดับ (อย่างแถบบันทึกหรือเทป) "แรม" จะหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ วัดขนาดกันเป็นกิโลไบต์ หรือเมกะไบต์ ทำงานได้รวดเร็วมาก แต่เมื่อปิดไฟ ข้อมูลในนี้ก็จะหายไปหมด ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ขายทั่วไปมักจะต้องมีข้อความบอกว่า มีแรมขนาดใด ยิ่งมีแรมมาก ก็จะยิ่งทำงานได้เร็ว ในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ที่วางขายทั่วไปจะมีแรมประมาณ 1 - 8 เมกะไบต์ ปัจจุบันโปรแกรมสำเร็จใหญ่ ๆ หลายโปรแกรม เจาะจงว่าจะต้องใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มีแรมอย่างน้อย 8 เมกะไบต์ดู read only memory เปรียบเทียบ |
accumulator | ตัวสะสมเป็นหน่วยความจำ ซึ่งอยู่ในหน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic and logical unit) ของคอมพิวเตอร์ เป็นที่ใช้สำหรับเก็บผลบวก หรือ การคำนวณอื่น ๆ และผลของการเปรียบเทียบเอาไว้ ถ้ามีหลายตัว มักเรียกว่า เรจิสเตอร์ (register) ดู register ประกอบ |
alphabetic code | รหัสตัวอักษร เป็นรหัสตัวอักษรที่ส่งเข้าคอมพิวเตอร์แล้วคอมพิวเตอร์สามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำได้ ตัวอักษร 1 ตัวจะใช้รหัสเป็นชุดของบิต 1 ชุดเรียกว่า "ไบต์" (byte) ดู byte ประกอบ |
alphabetic string | สายตัวอักษรหมายถึงตัวอักขระหลาย ๆ ตัวที่เมื่อนำมาต่อกันแล้วสื่อความหมายบางอย่างและสามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อชนิดต่าง ๆ ได้มีความหมายเหมือน character string |
memory unit | หน่วยความจำหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำนี้มากกว่าอย่างอื่น สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้ สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่ |
read only memory | หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวใช้ตัวย่อว่า ROM (อ่านว่า รอม) แปลว่าหน่วยความจำอ่านอย่างเดียว หมายถึงหน่วยความจำลักษณะหนึ่งที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลออกมาได้อย่างเดียวเท่านั้น จะบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้เลย หน่วยความจำส่วนนี้จะเก็บคำสั่งเบื้องต้นต่าง ๆ ไว้ และจะเก็บอยู่ตลอดไป แม้ว่าจะปิดสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในรอม ก็จะไม่สูญหายไปไหนดู RAM เปรียบเทียบ |
arithmetic statement | ข้อความสั่งคำนวณ หมายถึง คำสั่งที่กำหนดให้คอมพิวเตอร์ นำค่าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหรือนำค่าเหล่านั้นไปทำการคำนวณ เมื่อได้ผลจากการคำนวณแล้วจึงนำไปเก็บในตำแหน่งที่ซี่งกำหนดไว้ เช่น score = A+B หมายความว่า ให้นำค่า A+B ได้ผลเท่าใด นำไปเก็บไว้ที่ score |
babbage, charles | (ชาร์ลส์ แบบเบจ) เป็นชื่อนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง มีชีวิตอยู่ตั้งแต่ ค.ศ 1791-1871 เป็นคนแรกที่ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่มีชื่อว่า Analytic Engine ซึ่งมีลักษณะความคิดที่เป็นต้นเค้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดิจิตอล ในปัจจุบัน กล่าวคือเป็นเครื่องจักรที่ทำงานไปตามโปรแกรมซึ่งเขียนเก็บไว้ในหน่วยความจำ |
bar code optical scanner | เครื่องกราดตรวจรหัสแท่งด้วยแสง เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายปากกาแสง (light pen) ใช้ฉายแสงลงไปที่รหัสแท่งที่ต้องการอ่าน เครื่องจะรายงานบนจอภาพในขณะเดียวกันก็ส่งข้อมูลนั้นไปบันทึกในหน่วยความจำ การทำงานจะอยุ่ในราว 100 ตัวอักษรต่อวินาที หรืออาจเร็วกว่านั้น |
scratchpad memory | หน่วยความจำใช้งานชั่วคราวหมายถึง เรจิสเตอร์เอนกประสงค์ชุดหนึ่งหรือตำแหน่งซึ่งใช้เป็นที่เก็บคำสั่ง (instruction) หรือผลลัพธ์ที่เกิดในขณะนั้นจากการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์หรือตรรกะ ข้อมูลในหน่วยความจำชุดนี้จะเข้าถึง (access) ได้เร็วกว่าในหน่วยความจำหลักมากมีความหมายเหมือน cache memoryดู register ประกอบ |
auxiliary storage | หน่วยเก็บช่วย หมายถึงหน่วยความจำหรือหน่วยเก็บที่ใช้เก็บข้อมูลนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (เพิ่มไปจากหน่วยความจำหลัก) เช่น จานบันทึก เมื่อใดที่ต้องการใช้ ก็ให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำมาเก็บในเครื่อง จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม แล้วเก็บลงใหม่ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้สิ้นเปลืองหน่วยความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์มีความหมายเหมือน auxiliary memory |
backing store | หน่วยเก็บหนุนหน่วยเก็บข้อมูล ที่ใช้เป็นที่เก็บหนุน หรือเก็บข้อมูลสำรองไว้ ในกรณีที่หน่วยเก็บที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง หรือเสียหาย ก็อาจใช้หน่วยเก็บหนุนนี้แทนได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงหน่วยเก็บความจำอื่น ๆ นอกไปจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้นว่าสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) มีความหมายเหมือน auxiliary storage หรือ backup storage |
backup storage | หน่วยเก็บสำรอง หมายถึง หน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้เป็นที่เก็บหนุน หรือเก็บข้อมูลสำรองไว้ ในกรณีที่หน่วยเก็บที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง หรือเสียหาย ก็อาจใช้หน่วยเก็บสำรองแทนได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงหน่วยความจำอื่น ๆ นอกไปจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้นว่าสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) มีความหมายเหมือน auxiliary storage หรือ backing store |
bank switching | การสลับชิปไปมาหมายถึง การสลับไปมาของการใช้ชิปในหน่วยความจำเดิมที่ติดมากับเครื่อง กับหน่วยความจำที่เพิ่มภายหลัง ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้รู้สึกเสมือนว่า หน่วยความจำทั้งสองนั้นเป็นหน่วยความจำเดียวกัน เช่น บริษัทไอบีเอ็มผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกมาขายในตลาดโดยมีหน่วยความจำติดมาภายในตัวเครื่องเพียง 640 เคไบต์ แต่เรานำไปเพิ่มหน่วยความจำเป็นถึง 16 เมกกะไบต์ การที่จะทำให้หน่วยความจำเดิมกับหน่วยความจำที่เพิ่มมาใหม่ทำงานสลับกันไปมาได้ ก็จะต้องอาศัยการสลับชิปไปมานี้ อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นเพียงผู้ใช้เครื่อง (user) ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เท่าไรนัก เป็นหน้าที่ของช่างฝ่ายเทคนิคที่จะต้องติดตั้งหรือจัดการทำให้ |
bootstrap | n. รูเชือกผูกรองเท้า ปลุกเครื่องเรียกย่อ ๆ ว่า boot1. หมายถึงการเปิดเครื่องด้วยการบรรจุซอฟต์แวร์ระบบ (systems software) เข้าไปในหน่วยความจำหลัก (main memory) 2. อาจหมายถึงเทคนิควิธีในการบรรจุโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง (program) ทั้งปวงที่มีอยู่ ลงไปในหน่วยความจำหลัก |
card reader | เครื่องอ่านบัตรหมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ใช้การอ่านรูที่เจาะในบัตรแล้วถอดออกมาเป็นรหัส การอ่านรูเหล่านั้นทำได้ด้วยการใช้แปรงไฟฟ้าสัมผัส แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นส่งเข้าไปเก็บในหน่วยความจำเพื่อนำไปประมวลผลต่อไป |
character string | หมายถึง ตัวอักขระหลาย ๆ ตัวที่เมื่อนำมาต่อกันแล้ว สื่อความหมายบางอย่าง และสามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อ (media) ชนิดต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้น จะต้องทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแยกออกว่าไม่ใช่คำสั่งในภาษามีความหมายเหมือน alphabetic string หรือ string |
buffer | (บัฟ'เฟอะ) {buffered,buffering,buffers} n. ตัวกันชน,สารที่สามารถทำให้ทั้งกรดและด่างเป็นกลาง,เครื่องขัดเงา,คนงานขัดเงา vt. ใส่ตัวทำให้กรดหรือด่างเป็นกลาง,ผ่อนคลาย,ปกป้อง,กันชน, Syn. cushion ที่พัก (ข้อมูล) กันชนบัฟเฟอร์ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ (พิมพ์ตามไม่ทัน) เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด คอมพิวเตอร์นั้นจะมีที่พักข้อมูลทั้งเมื่อรับข้อมูลเข้าและเมื่อส่งข้อมูลออก อันที่จริง บัฟเฟอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง |
byte | (ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1,024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1,048,576 ไบต์ (หรือ 1,024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1,073,741,824 ไบต์ (หรือ 1,024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1,099,511,627,776 ไบต์ (หรือ 1,024 Gbytes) |
cache | (แค?) {cached,caching,caches} n. ที่ซ่อน,ที่เก็บ,สิ่งที่ซ่อนไว้ vt. ซ่อน,เก็บ หน่วยความจำแคชหมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำ (memory) ที่ถูกกันไว้เก็บข้อมูลที่จะต้องการใช้เป็นการชั่วคราว การเข้าถึงหน่วยความจำส่วนนี้จะทำได้เร็วกว่าธรรมดามาก ในการโฆษณาขายเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ มักจะมีบ่งบอกไว้ด้วยเสมอว่า หน่วยความจำแคชนี้มีขนาดความจุเท่าใด เช่น 256 K cache เป็นต้น เพราะเป็นการแสดงถึงประสิทธิภาพของเครื่องอย่างหนึ่ง บางทีเรียก cache memory |
computer input from micro | ไมโครฟิล์มสู่คอมพิวเตอร์ใช้ตัวย่อว่า CIM (ซีไอเอ็ม) หมายถึง เทคโนโลยีในการอ่านข้อมูลต่าง ๆ ในไมโครฟิล์มเข้าไปเก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ (โดยต้องแปลงเป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้) |
dynamic allocation | การจัดสรรแบบพลวัตหมายถึง การสั่งให้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลลงในหน่วยความจำของเครื่อง ในขณะเดียวกับที่กำลังปฏิบัติงานของโปรแกรมอื่นอยู่ |
earom | (อีรอม) ย่อมาจาก electrically alterable read - only memory แปลว่า หน่วยความจำอ่านอย่างเดียวชนิดแก้ไขได้) เป็นรอม (ROM) ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถนำมาลบและบันทึกใหม่ได้โดยไม่ต้องย้ายออกมาจากแผงวงจร การบรรจุโปรแกรมใหม่ทำได้โดยใช้กระแสไฟฟ้า และทำได้สะดวกกว่า อีพรอม (EPROM) มากดู ROM และ EPROM ประกอบ |
central processing unit | หน่วยประมวลผลกลางนิยมใช้ตัวย่อว่า CPU (ซีพียู) หมายถึง ส่วนที่เป็นสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือส่วนที่เรียกว่าตัวประมวลผล (microprocessor) และหน่วยความจำ ประกอบด้วยชิป (chip) ส่วนนี้นับเป็นส่วนสำ คัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ใช้ทำหน้าที่ในการประมวลผล หรือทำการคำนวณ เมื่อทำการประมวลผล หรือคำนวณในส่วนนี้เสร็จแล้ว ก็จะถ่ายโอนผลลัพธ์ที่ได้ไปไว้ในส่วนอื่นอีกชั้นหนึ่ง ดู input unit และ output unit ประกอบ |