Accelerator | เครื่องเร่งอนุภาค, เครื่องเพิ่มความเร็วและพลังงานจลน์ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เช่น โปรตอนหรืออิเล็กตรอน โดยใช้แรงแม่เหล็กและ/หรือไฟฟ้า ทำให้อนุภาคเหล่านั้นเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง เครื่องเร่งอนุภาคมีหลายชนิด เช่น ไซโคลทรอน ซิงโครทรอน เครื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น และบีตาทรอน [นิวเคลียร์] |
Actinide series | อนุกรมแอกทิไนด์, กลุ่มธาตุในตารางพีริออดิก ตั้งแต่ลำดับที่ 89 แอกทิเนียม (actinium, Ac) จนถึงลำดับที่ 103 ลอว์เรนเซียม (lawrencium, Lr) รวม 15 ธาตุ ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสีทั้งสิ้น [นิวเคลียร์] |
Actinium sequence | อนุกรมแอกทิเนียม, กลุ่มนิวไคลด์ที่เกิดขึ้นตามลำดับจากการสลายของยูเรเนียม-235 นิวไคลด์สุดท้ายของอนุกรมนี้คือ ตะกั่ว-207 นิวไคลด์หลายชนิดที่มนุษย์ผลิตขึ้นก็มีการสลายตามอนุกรมนี้ [นิวเคลียร์] |
Activity | กัมมันตภาพ, การสลายของนิวไคลด์กัมมันตรังสีต่อหน่วยเวลา ปัจจุบันหน่วยที่ใช้ คือ เบ็กเคอเรล คำนี้ตามรายงานฉบับที่ 33 ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศด้านหน่วยและการวัดรังสี (International Commission on Radiation Units and Measurement: ICRU No. 33) ให้ความหมายว่า เป็นจำนวนของนิวไคลด์กัมมันตรังสีในขณะใดขณะหนึ่งที่สลายเปลี่ยนแปลงไปต่อวินาที (ดู Becquerel, Bq และ Curie, Ci ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Alpha particle | อนุภาคแอลฟา, อนุภาคที่มีประจุบวก ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และนิวตรอน 2 อนุภาค ซึ่งเหมือนกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ ผ่านอากาศได้เพียง 2-3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ อนุภาคแอลฟาเกิดจากการสลายของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น ยูเรเนียม และทอเรียม [นิวเคลียร์] |
Anticipated operational occurrence | อุบัติการณ์ที่อยู่ในความคาดหมาย, เหตุการณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากการทำงานตามปกติของโรงงานนิวเคลียร์ ซึ่งคาดว่าตลอดอายุการใช้งานจะเกิดขึ้นได้อย่างน้อยหนึ่งครั้ง แต่ได้มีการออกแบบรองรับเหตุการณ์นี้ไว้แล้วเพื่อความปลอดภัย และป้องกันมิให้ลุกลามเป็นอุบัติเหตุ เช่น หากพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้แก่เครื่องสูบน้ำของระบบระบายความร้อนเกิดขัดข้อง ระบบไฟฟ้าสำรองก็จะทำงานทันที
|
Antiparticle | ปฏิยานุภาค, อนุภาคที่มีมวล ประจุไฟฟ้า และเลขสปิน เท่ากับอนุภาคนิวเคลียร์ชนิดเดียวกัน แต่มีประจุไฟฟ้าและหรือโมเมนต์แม่เหล็กตรงข้ามกัน ตัวอย่างโปรตอนมีประจุไฟฟ้า +1 ส่วนแอนติโปรตอนมีประจุไฟฟ้า [นิวเคลียร์] |
Atom | อะตอม, หน่วยที่เล็กที่สุดที่ยังคงสมบัติทางเคมีของธาตุ โครงสร้างของอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสอยู่ตรงกลางและอิเล็กตรอนอยู่ในวงโคจรรอบนิวเคลียส นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ในสภาพปกติอะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับโปรตอน [นิวเคลียร์] |
Atomic bomb | ลูกระเบิดอะตอม, ลูกระเบิดที่แรงระเบิดเกิดจากปฏิกิริยาการแบ่งแยกนิวเคลียสของธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม-235 หรือ พลูโทเนียม-239 ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (ดู Fission ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Atomic energy | พลังงานอะตอม, พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเมื่อมีการแบ่งแยกนิวเคลียสหรือการหลอมนิวเคลียสของอะตอม หรือจากการสลายของสารกัมมันตรังสี ปัจจุบันนิยมใช้ “พลังงานนิวเคลียร์" [นิวเคลียร์] |
Attenuation | การลด (ความเข้มของรังสี), การลดลงของความเข้มของรังสีเมื่อผ่านสสารเนื่องจากกระบวนการดูดกลืนและการกระเจิงรังสี [นิวเคลียร์] |
Averted dose | ปริมาณรังสีลดลง, ปริมาณรังสีที่ป้องกันได้เมื่อใช้มาตรการป้องกัน ซึ่งเป็นผลต่างของปริมาณรังสีที่คาดว่าจะได้รับ ในกรณีที่ไม่ใช้และใช้มาตรการป้องกัน [นิวเคลียร์] |
Blanket | แบล็งเคต, ชั้นวัสดุเฟอร์ไทล์ เช่น ยูเรเนียม-238 หรือทอเรียม-232 ที่อยู่ล้อมรอบแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ซึ่งเป็นวัสดุเกิดฟิชชันได้ [นิวเคลียร์] |
Breeder reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตเชื้อเพลิง, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ผลิตวัสดุฟิสไซล์ขึ้นในแบล็งเคต โดยนิวตรอนเข้าไปทำปฏิกิริยากับวัสดุเฟอร์ไทล์บางส่วนทำให้กลายเป็นวัสดุฟิสไซล์
|
BWR type reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือด, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้น้ำเป็นทั้งตัวทำให้เย็นและตัวหน่วงความเร็ว นิวตรอน โดยออกแบบการทำงานให้น้ำเดือดอยู่ภายในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และใช้ไอน้ำที่เกิดขึ้นไปขับกังหันไอน้ำของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยตรงเพื่อ ผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า [นิวเคลียร์] |
chain reaction | ปฏิกิริยาลูกโซ่, ปฏิกิริยาที่ 1 ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ 2 และจากปฏิกิริยาที่ 2 ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ 3 เป็นดังนี้เรื่อย ๆ ไป เช่น ปฏิกิริยานิวเคลียร์ซึ่งเกิดจากนิวตรอนวิ่งไปชนนิวเคลียสทำให้นิวเคลียสแตกตัว และเกิดนิวตรอนใหม่ และนิวตรอนใหม่นี้จะทำให้นิวเคลียสอื่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Chimera | ไคมีรา, สิ่งมีชีวิตที่มีเนื้อเยื่อบางส่วนประกอบด้วยเซลล์ที่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมมากกว่าหนึ่งชนิด เช่น ต้นไม้ที่มีใบด่าง [นิวเคลียร์] |
Cladding | เปลือกหุ้มเชื้อเพลิง, โลหะที่ใช้ห่อหุ้มแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนเนื้อเชื้อเพลิงจากตัวทำให้เย็น และป้องกันผลผลิตการแบ่งแยกนิวเคลียสไม่ให้ออกมาปนในตัวทำให้เย็น วัสดุที่ใช้ เช่น อะลูมิเนียม โลหะผสมของอะลูมิเนียม เหล็กกล้าไร้สนิม และโลหะผสมของเซอร์โคเนียม
|
Clean bomb | คลีนบอมบ์, ระเบิดนิวเคลียร์ที่มีฝุ่นกัมมันตรังสีเกิดขึ้นค่อนข้างน้อย
|
Cochlea | โคเคลียร์;โคเคลีย,หู;โคเคลีย;กระดูกโฆเคลีย;อวัยวะรูปหอยโข่ง;หูชั้นใน;โคเคลีย;อวัยวะที่เกี่ยวกับการได้ยิน [การแพทย์] |
Confinement | สิ่งกักกั้น, สิ่งที่สร้างขึ้นล้อมอุปกรณ์หลักของโรงงานนิวเคลียร์ เพื่อป้องกันหรือบรรเทาการปล่อยวัสดุกัมมันตรังสีออกสู่สิ่งแวดล้อมในสภาวะการทำงานปกติหรือกรณีเกิดอุบัติเหตุ เช่น บ่อน้ำแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
|
Contamination | การเปื้อนสารกัมมันตรังสี, สารกัมมันตรังสีทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำ อากาศ หรือเปรอะเปื้อนที่พื้นผิววัสดุ อุปกรณ์ ร่างกาย และหรือบริเวณที่ต้องการใช้งาน ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่เจตนา เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ [นิวเคลียร์] |
Coolant | ตัวทำให้เย็น, สารระบายหรือถ่ายโอนความร้อนที่หมุนเวียนในระบบระบายความร้อนของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เช่น น้ำ น้ำมวลหนัก อากาศ คาร์บอนไดออกไซด์ โซเดียมเหลว และโลหะผสมโซเดียม-โพแทสเซียม [นิวเคลียร์] |
Core | แกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, บริเวณส่วนกลางเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ประกอบด้วย เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ แท่งควบคุม สารหน่วงนิวตรอน และโครงสร้างที่รองรับอุปกรณ์ต่างๆ [นิวเคลียร์] |
Containment | อาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, อาคารหรือสิ่งก่อสร้างชั้นนอกที่ออกแบบให้มีความแข็งแรงเป็นพิเศษเพื่อป้องกันเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จากอุบัติภัยภายนอก และเพื่อไม่ให้สารกัมมันตรังสีแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อมกรณีเกิดอุบัติเหตุภายในอาคารหรือสิ่งกักกั้นชำรุดหรือเสียหาย
|
Counter | เครื่องนับรังสี, อุปกรณ์ตรวจหาการแผ่รังสี หรือเครื่องสำรวจรังสี ซึ่งตรวจหาและวัดการแผ่รังสี จากการแตกตัวเป็นไอออน โดยแสดงเป็นผลรวมสะสม หรืออัตราการแผ่รังสี [นิวเคลียร์] |
Decommissioning | การเลิกดำเนินงาน, กระบวนการด้านบริหารจัดการและด้านเทคนิค เพื่อยกเลิกการควบคุมโรงงานนิวเคลียร์บางส่วนหรือทั้งหมด เนื่องจากไม่มีการใช้งานอีกต่อไป โดยต้องให้มีความปลอดภัยต่อสาธารณชนและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว รวมถึงการลดปริมาณนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ตกค้างอยู่ตามวัสดุและสถานที่ต่างๆ
|
Depleted fuel | เชื้อเพลิงด้อยสมรรถนะ, ดู depleted uranium [นิวเคลียร์] |
Deuterium | ดิวเทอเรียม ไอโซโทปของไฮโดรเจน, นิวเคลียยสประกอบด้วยโปรตรอน และ นิวตรอน อย่างละ 1 อนุภาคมีมวลเป็นสองเท่าของไฮโดรเจน [นิวเคลียร์] |
Diagnostic exposure | การรับรังสีจากการวินิจฉัยโรค, การได้รับรังสีของผู้มารับบริการทางการแพทย์ อันเป็นขั้นตอนหนึ่งในการวินิจฉัยโรค หรือตรวจหาความบกพร่องของอวัยวะ [นิวเคลียร์] |
Dirty bomb | เดอร์ตีบอมบ์, ระเบิดนิวเคลียร์ที่มีฝุ่นกัมมันตรังสีเกิดขึ้นค่อนข้างมาก ปัจจุบันคำนี้หมายรวมถึง ระเบิดที่มีสารกัมมันตรังสีรวมอยู่ด้วยเพื่อให้มีการกระจายของกัมมันตภาพรังสี [นิวเคลียร์] |
Earthquake | แผ่นดินไหวแผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่แผ่นดินเกิดการสั่นสะเทือน โดยเกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกชั้นนอกซึ่งเคลื่อนที่ได้ตามกระแสความร้อนของหินละลายหลอมเหลวที่เป็นส่วนประกอบชั้นในของโลก เนื่องจากเปลือกโลกประกอบขึ้นด้วยแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่น ดังนั้นเมื่อความร้อนจากภายในโลกดันตัวออกมาจะทำให้แผ่นเปลือกโลกบางแผ่นเกิดการเคลื่อนที่ จึงทำให้การเกิดแผ่นดินไหวบนพื้นผิวโลกเกิดเฉพาะบางแห่งไม่เกิดขึ้นโดยทั่วไป นอกจากแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังสามารถเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ การระเบิดเหมืองแร่
|
Element | ธาตุ , สารที่ประกอบด้วยอะตอมที่มีเลขเชิงอะตอมเดียวกัน และไม่สามารถแบ่งแยกเป็นสารอื่นได้ด้วยวิธีทางเคมี เช่น ไฮโดรเจน ตะกั่ว ยูเรเนียม [นิวเคลียร์] |
Fallout | ฝุ่นกัมมันตรังสี [นิวเคลียร์] |
Fast Breeder Reactor | เครื่องปฏิกรณ์(นิวเคลียร์)แบบผลิตเชื้อเพลิง(ด้วยนิวตรอนเร็ว) เอฟบีอาร์ [นิวเคลียร์] |
Fertile material | วัสดุเฟอร์ไทล์, วัสดุซึ่งสามารถแปลงให้เป็นวัสดุฟิสไซล์ได้ โดยการก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ วัสดุเฟอร์ไทล์ ได้แก่ ยูเรเนียม-238 และทอเรียม-232 ซึ่งเมื่อจับยึดนิวตรอนแล้วจะเปลี่ยนเป็นวัสดุฟิสไซล์ คือ พลูโทเนียม-239 และยูเรเนียม-233 ตามลำดับ [นิวเคลียร์] |
fireball | ลูกไฟ, ไฟร์บอล, กลุ่มเพลิงสว่างจ้าที่เกิดจากแก๊สร้อนซึ่งก่อตัวขึ้นในเวลาเพียง 2 ถึง 3 ในล้านส่วนของวินาทีหลังการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์
|
Fission | ฟิชชัน, การแบ่งแยกนิวเคลียส, การที่นิวเคลียสของธาตุหนักบางชนิดแยกออกเป็นนิวเคลียสของธาตุที่เบากว่าอย่างน้อยสองชนิดที่มีขนาดใกล้เคียงกัน พร้อมกับปลดปล่อยนิวตรอน 1 ถึง 3 อนุภาค รังสีแกมมา และพลังงานออกมา [นิวเคลียร์] |
GCR type reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ชนิดระบายความร้อนด้วยแก๊ส, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้แก๊ส เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นตัวระบายความร้อนออกจากแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
|
gray | หน่วยวัดปริมาณรังสีดูดกลืน, หน่วยวัดปริมาณรังสีดูดกลืน โดย 1 เกรย์ มีค่าเท่ากับ 1 จูล ต่อกิโลกรัมของมวลสาร [นิวเคลียร์] |