alphabetic character | ตัวอักษรหมายถึงตัวอักขระที่เป็นตัวอักษร เช่น A-Z หรือ ก-ฮ (ไม่รวมตัวเลข หรือหรือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ) มีความหมายเหมือน alphabet |
grass character | ตัวอักษรที่เขียนหวัด |
aitch | (เอค) n. ตัวอักษร H, h |
alphabet | (แอล' ฟาเบท) n. อักษรพยัญชนะ, อักษร,อักขระ,ระบบตัวอักษร,ความรู้พื้นฐาน, ขั้นมูลฐาน. |
alphabetic code | รหัสตัวอักษร เป็นรหัสตัวอักษรที่ส่งเข้าคอมพิวเตอร์แล้วคอมพิวเตอร์สามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำได้ ตัวอักษร 1 ตัวจะใช้รหัสเป็นชุดของบิต 1 ชุดเรียกว่า "ไบต์" (byte) ดู byte ประกอบ |
alphabetic string | สายตัวอักษรหมายถึงตัวอักขระหลาย ๆ ตัวที่เมื่อนำมาต่อกันแล้วสื่อความหมายบางอย่างและสามารถนำไปเก็บในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อชนิดต่าง ๆ ได้มีความหมายเหมือน character string |
alphameric | อักขระที่เป็นตัวเลขอักษรเลขหมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่พิมพ์จากแป้นพิมพ์ ทั้งตัวอักษร และตัวเลข |
alphanumeric characters | หมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่พิมพ์จากแป้นพิมพ์ ทั้งตัวอักษร และตัวเลข |
alt key | แป้นสลับเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีคำ ALT (ย่อมาจาก alternate) อยู่บนแป้น แป้นนี้ต้องใช้พร้อมกับแป้นอื่น ๆ จึงจะเป็นคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่าง เช่น เมื่อ กดแป้น ALT+P (กดแป้น ALT และแป้นตัวอักษร P พร้อมกัน) จะเท่ากับเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์แฟ้มข้อมูล |
alternate key | เป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ (มีคำ ALT อยู่บนแป้น) แป้นนี้ต้องใช้พร้อมกับแป้นอื่น ๆ จึงจะเป็นคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานบางอย่าง เช่น เมื่อ กดแป้น ALT+P (กดแป้น ALT และแป้นตัวอักษร P พร้อมกัน) จะเท่ากับเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์แฟ้มข้อมูล |
ansi character set | ชุดตัวอักขระของแอนซีหมายถึง การกำหนดตัวอักขระต่าง ๆ ที่คอมพิวเตอร์ใช้ ที่สถาบันแอนซี (ANSI) เป็นผู้กำหนดไว้ โดยปกติจะประกอบด้วยตัวอักษรธรรมดาซึ่งมีอยู่ 26 ตัว (A-Z) และตัวเลข 10 ตัว (0-9) และยังมีสัญลักษณ์พิเศษอื่น ๆ เช่น % # @ เป็นต้น ดู ANSI ประกอบ |
asterisk | (แอส'เทอริสคฺ) n. เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) , สิ่งที่มีลักษณะคล้ายดาว. -vt. ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์หรือดาว ดอกจัน * เป็นอักขระตัวหนึ่ง มีอยู่บนแผงแป้นอักขระ เมื่อนำมาใช้ในคำสั่งระบบดอส สัญลักษณ์ * จะใช้แทนตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ กี่ตัวก็ได้ (wildcards) ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล เช่นถ้าใช้ A*.* หมายความถึง แฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A และจะมีนามสกุลอะไรก็ได้ หรือถ้าใช้ *.COM ก็หมายความ ถึงแฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีนามสกุล COM ถ้าใช้ *.* ก็จะหมายถึงทุกแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ในสารบบ หรือในจานบันทึก ดู wildcards ประกอบ |
backspace key | ปุ่มย้อนถอยหลัง เป็นแป้น ๆ หนึ่งบนแผงแป้นอักขระ บางทีมีขนาดยาวกว่าแป้นพิมพ์อื่น บางทีมีสัญลักษณ์เป็นรูปลูกศรหันหัวลูกศรไปทางซ้าย (บางทีมีคำ BS) โปรแกรมสำเร็จหลายโปรแกรมกำหนดไว้ว่า การกดแป้นนี้ทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ถอยไปทางซ้าย 1 ตัวอักษร และลบตัวอักษรทางซ้ายนั้นออกให้ด้วย |
bar code optical scanner | เครื่องกราดตรวจรหัสแท่งด้วยแสง เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายปากกาแสง (light pen) ใช้ฉายแสงลงไปที่รหัสแท่งที่ต้องการอ่าน เครื่องจะรายงานบนจอภาพในขณะเดียวกันก็ส่งข้อมูลนั้นไปบันทึกในหน่วยความจำ การทำงานจะอยุ่ในราว 100 ตัวอักษรต่อวินาที หรืออาจเร็วกว่านั้น |
baud | (บอด) เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็ม 1 บอดเท่ากับจำนวนบิตที่ส่งได้ใน 1 ครั้ง ถ้าส่งได้ครั้งละ 2 บิต 1 บอดก็จะเท่ากับ 2 บิต โมเด็มจะดีหรือไม่ ก็ดูที่ความเร็วจากหน่วยวัดนี้ โดยปกติ เท่าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีขนาดความเร็ว 300 บอด (ประมาณ 37 ตัวอักษร) และ 1,200 บอด (ประมาณ 150 ตัวอักษร) |
binary code | รหัสฐานสองหมายถึง การใช้รหัสเลขฐานสองแทนตัวอักษร ตัวเลข และตัวอักขระ พิเศษต่าง ๆ โดยใช้เพียงเลข 0 และ 1 รหัสที่นิยมใช้กันอยู่มีหลายรหัสเช่น เอ็บซีดิก (EBCDIC) , แอสกี (ASCII) , บีซีดี (BCD) คอมพิวเตอร์ของแต่ละบริษัทจะเลือกใช้รหัสหนึ่งในการแทนข้อมูล |
bit | (บิท) 1. n. ดอกสว่าน,สิ่งค้ำ,ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ,ครู่เดียว,การกระทำ,บทบาทเล็กน้อย,เหรียญเล็ก ๆ ,หน่วย,กริยาช่อง 2 และ 3 ของ bite, บิต, 2. ในระบบเลขฐาน 2 หมายถึงตัวเลข 0 และ 1, หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด โดยที่หนึ่งบิตจะต้องเพียงพอต่อการบอกความแตกต่างระหว่างข้อมูลประเภท "ใช้" ในปัจจุบันมักใช้บิตเป็นหน่วยวัดตัวประมวลผล (microprocessor) ของไมโครคอมพิวเตอร์ ว่าเป็นขนาด 8 บิต 16 บิต หรือ 32 บิต ถ้าจัดบิตเป็นชุดที่เรียกว่าไบต์ (byte) ซึ่งปกติจะมี 8 บิต จะใช้เป็นรหัสเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร ฯ ดู byte ประกอบ |
bullet | (บูล'ลิท) {bulletted,bulletting,bullets} n. กระสุนปืน,กระสุน,หัวกระสุน,ลูกตะกั่ว,ลูกกลม เล็ก. vi. เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วมาก, Syn. shot เครื่องหมายนำสายตา จุดนำหมายถึงสัญลักษณ์รูปต่าง ๆ ที่นำมาวางหน้าข้อความ หรือหัวข้อเพื่อเน้นให้ดูเด่นหรือเห็นชัดขึ้นเช่น* ตัวอักษร* ตัวเลข* เครื่องหมายต่าง ๆ |
byte | (ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1,024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1,048,576 ไบต์ (หรือ 1,024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1,073,741,824 ไบต์ (หรือ 1,024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1,099,511,627,776 ไบต์ (หรือ 1,024 Gbytes) |
card sorter | เครื่องเรียงบัตร หมายถึง เครื่องจักรที่ใช้สำหรับเรียงลำดับบัตรที่มีข้อมูลเจาะไว้แล้ว เครื่องนี้จะสามารถอ่านข้อมูลบนบัตรแล้วจัดการเรียงลำดับให้ เช่น ถ้าเป็นจำนวนเลข ก็จะเรียงจากน้อยไปมาก หรือจากมากไปน้อย หรือถ้าเป็นตัวอักษร อาจเรียงตามลำดับตัวอักษรให้ก็ได้ |
chain printer | เครื่องพิมพ์สายโซ่เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้โซ่หรือแกนอักษรหมุนในแนวนอนรอบแกนตั้ง 2 แกน เมื่อตัวอักษรที่ต้องการมาอยู่ตรงตำแหน่งที่กำหนดให้ เครื่องจะใช้ค้อนตีให้อักษรนั้น ปรากฏบนกระดาษ โดยผ่านลงบนผ้าหมึกพิมพ์ |
character | (แค'ริคเทอะ) n. ตัวอักษร,อักขระ,อุปนิสัย,คุณสมบัติ,ลักษณะพิเศษ,หลักความประพฤติ,ความรักหรือหยิ่งในศักดิ์ศรี,ชื่อเสียงที่ดี,เกียรติคุณ,ฐานะตัวในเรื่อง,บทบาทในละครหรือภาพยนตร์,สัญลักษณ์, See also: characterisation,characterization n. |
caps lock key | แป้นตรึงอักษรตัวใหญ่ เป็นแป้น ๆ หนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีคำ Caps lock อยู่บนแป้น ปกติจะมีในเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดาด้วย หากกดแป้นนี้ไว้ครั้งหนึ่งแล้ว ถ้าเป็นการพิมพ์ภาษาอังกฤษ จะมีผลทำให้การกดแป้นพิมพ์ตัวอักษรทุกตัวออกมาเป็นตัวใหญ่ (capital letter) ไปตลอด เหมือนกดแป้น Shift ไปพร้อมกัน แต่ถ้าพิมพ์ภาษาไทย การกดแป้นนี้ไว้ตั้งแต่แรก แล้วไปกดแป้นอื่น ก็จะเท่ากับเป็นการพิมพ์ตัวที่อยู่ข้างบนของแป้นพิมพ์ เช่น ฤ ฆ ฏ 1 2 หากต้องการยกเลิก ให้กดแป้นนี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง |
card punch | อุปกรณ์เจาะบัตรหมายถึง อุปกรณ์แสดงผล (output device) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องเจาะบัตร หรือ เครื่องที่ใช้บันทึกข้อความลงบนบัตรด้วยการเจาะรู ซึ่งเป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษอื่น ๆ ต่างกับเครื่องเจาะบัตรที่เรียกว่า keypunch กล่าวคือ keypunch เป็นเครื่องเจาะบัตรที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ (คนเป็นผู้เจาะ) แต่ card punch เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ทำงานภายใต้การควบคุมของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ดู keypunch เปรียบเทียบ |
cardamom | n. กระวานคอลัมน์ (ของบัตร) สดมภ์ (ของบัตร) หมายถึง คอลัมน์หรือตำแหน่งเจาะตามแนวตั้งของบัตร บัตรทั่วไปจะมี 80 คอลัมน์ ในการเจาะแต่ละคอลัมน์นั้น ถ้าเจาะรูเดียว จะเป็นรหัสบอกว่าเป็นตัวเลข ถ้าเจาะ 2 รูในหนึ่งคอลัมน์จะเป็นรหัสบอกว่าเป็นตัวอักษร ถ้าเจาะ 1-3 รู อาจเป็นเครื่องหมายบางตัว เช่น + (บวก) - (ลบ) ฯลฯดู Hollerith code ประกอบ |
cartridge | (คาร์'ทริจฺ) 1. n. กระสุนปืน,ลูกกระสุน,ลำกล้องดินระเบิด,ภาชนะใส่ของเหลวหรือแก๊ส,ที่ม้วนเทป 2. อาจเป็นได้ทั้งตลับเทปหรือกล่อง ใช้เก็บข้อมูล ปัจจุบัน ไม่ค่อยนิยมใช้ บางทีใช้เป็นที่บรรจุเกมส์ต่าง ๆ เรียกว่า game cartridge ส่วน font cartridge หมายถึง ตลับที่ใช้เก็บแบบตัวอักษรสำหรับใส่ในเครื่องพิมพ์บางชนิด ถ้าใช้กับเครื่องพิมพ์หมายถึงที่ใส่หมึกสำหรับพิมพ์ เรียกว่า toner cartridge |
case sensitivity | การบังคับใช้ตัวเล็ก/ตัวใหญ่หมายถึง ความแตกต่างระหว่างการใช้ตัวใหญ่และตัวเล็กของตัวอักษรในภาษาอังกฤษ โปรแกรมบางโปรแกรมหรือระบบบางระบบจะบังคับว่า ต้องใช้ตัวใหญ่ทั้งหมด หรือตัวเล็กทั้งหมด มิฉะนั้นเครื่องจะไม่เข้าใจ เช่น ชื่อโปรแกรมภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) หรือ ระบบยูนิกซ์ (UNIX) จะบังคับให้ใช้ตัวใหญ่เท่านั้น ส่วนระบบดอสและวินโดว์ไม่บังคับ กล่าวคือ ใช้ตัวเล็กก็ได้ตัวใหญ่ก็ได้ |
character set | ชุดอักขระหมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จัดรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ มีตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษต่าง ๆ เช่น เครื่องหมาย สระ วรรณยุกต์ |
charactery | n. ตัวอักษรหรือเครื่องหมายการพิมพ์หรือการเขียนทั้งหลาย |
courier | (เคอ'เรียร์) n. คนเดินหนังสือ,ผู้ส่งข่าวสาร,ผู้ถูกว่าจ้างให้บริการทัศนาจรแก่นักท่องเที่ยว เป์นชื่อแบบอักษร (font) ที่เป็นที่นิยมมากแบบหนึ่งที่มีใช้ในระบบวินโดว์ 3.1 และวินโดว์ 95 ตัวอักษรทุกตัวไม่ว่าจะเป็น I หรือ w ล้วนแต่ใช้เนื้อที่เท่ากันทั้งหมด |
cpi | 1. abbr. Consumer Price Index ดัชนีราคาบริโภคภัณฑ์ 2. (ซีพีไอ) ย่อมาจาก characters per inch เป็นหน่วยวัดความจุของแถบบันทึก (tape) ว่าจุได้กี่ตัวอักษรต่อความยาว 1 นิ้วมีความหมายคล้ายกับ BPI |
data type | ลักษณะข้อมูลหมายถึง การกำหนดข้อมูลที่จะใช้ให้มีลักษณะเป็นตัวเลข ตัวอักษร เลขจำนวนเต็ม หรือเลขทศนิยม เพื่อความสะดวกในการประมวลผล |
cd | abbr. ธาตุ cadmium, แผ่นซีดี ย่อมาจาก compact disk แปลตามตัวอักษรว่า จานบันทึกอัดแน่น มีลักษณะเป็นแผ่นจานกลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล จานบันทึกนี้มีความจุสูงมาก (ประมาณ 600ล้านตัวอักษร) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากจานบันทึกนี้ได้ แต่การบันทึกข้อมูลลง ยังทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องมีเครื่องพิเศษเฉพาะ บันทึกได้ทั้งข้อมูลธรรมดา เพลง ภาพยนตร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ความจุสูง แต่ยังติดขัดในปัญหาบางประการในเรื่องการบันทึกข้อมูลลง ดู CD ROM ประกอบ 2. ย่อมาจากคำ Change Directory เป็นคำสั่งในระบบดอสที่สั่งให้เข้าไปในสารบบ (directory) ใดสารบบหนึ่ง หรือออกจากสารบบใดสารบบหนึ่ง เช่น C:/>CD \ (หมายความว่าให้เข้าไปในสารบบชื่อนั้น) C:> CD\ (หมายความว่า ให้ออกจากสารบบที่อยู่) |
characteristic | (แคริคเทอริส'ทิค) adj. เป็นลักษณะเฉพาะ -n. ลักษณะเฉพาะ การรู้จำอักขระหมายถึง เทคโนโลยีในการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รับรู้ความแตกต่างของรูปลักษณะตัวอักษร ต่าง ๆ ที่มนุษย์เขียนหรือพิมพ์ขึ้น โดยใช้แสงหรือสนามแม่เหล็ก แล้วถอดรหัสเป็นภาษาเครื่อง (machine language) เพื่อนำไปประมวลผลต่อไปได้ดู pattern recognition ประกอบ |
com- | 1. Pref. รวมกัน,ด้วยกัน,อย่างสมบูรณ์, Syn. co-, 2. (คอม) 1. ย่อมาจาก COMmunication port หมายถึงช่องที่ใช้สำหรับต่อออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เมื่อจะหมุนเลขหมายโทรศัพท์บนคอมพิวเตอร์ผ่านโมเด็ม คอมพิวเตอร์ก็จะต้องรับรู้กันให้ได้ว่า ช่องที่ติดต่อกับโมเด็มนั้นคือช่องไหน (กำหนดได้หลายช่องเรียกว่า COM1, COM2) 2. ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลในดอสและโอเอสทูว่า .COM เพื่อแสดงว่าเป็นแฟ้มข้อมูลกระทำการ (executive program) หรือโปรแกรมประเภทเดียวกับ .EXE เช่น FORMAT.COM COMMAND.COM 3. ย่อมาจาก computer output on microfilm (ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์) หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโคร ฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโคร ฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120,000 ตัวอักษรต่อวินาที |
del key | เป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ โดยปกติจะมีคำ del เขียนไว้บนแป้นด้วย ถ้ากดแป้นนี้จะเป็นคำสั่งให้ลบตัวอักษรที่อยู่ทางขวามือของตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ขึ้นอยู่กับโปรแกรมจะกำหนดไว้ |
dingbats | (ดิงแบตส์) เป็นชื่อแบบอักษร (font) ที่มีลักษณะเป็นภาพแทนที่จะเป็นตัวอักษรหรือตัวเลข แบบตัวอักษรที่มีลักษณะเป็นภาพนี้มีหลายชื่อ นอกจาก Zapf Dingbats ในแมคอินทอชแล้ว ในพีซีก็มี Wingdings (ภาพเหล่านี้จะขยาย/ลดขนาดได้เหมือนตัวอักษร) |
computer output on microf | ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์ใช้ตัวย่อว่า COM (อ่านว่า ซีโอเอ็ม) หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโครฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโครฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ 48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120,000 ตัวอักษรต่อวินาที |
data card | บัตรข้อมูลหมายถึงบัตรคอมพิวเตอร์ที่ใช้ เจาะเป็นรหัสแสดงถึงตัวอักขระต่าง ๆ อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรืออักขระพิเศษ เพื่อให้คอมพิวเตอร์อ่านเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ บัตรข้อมูลนั้น เราสามารถใช้ได้ทั้ง 80 คอลัมน์ของบัตร (แต่บัตรที่เป็นบัตรชุดคำสั่ง ที่เรียกว่า program card นั้น ใช้ได้เฉพาะคอลัมน์ 7 ถึง 70) เมื่อส่งเข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ บัตรข้อมูลจะต้องส่งตามหลังบัตรชุดคำสั่งเสมอดู card code ประกอบ |
digit bit | บิตเลขเป็นกลุ่มของบิต ที่ทำให้รหัสของการแทนตัวเลข ตัวอักษร และตัวอักขระพิเศษต่าง ๆ ในภาษาคอมพิวเตอร์ สามารถแทนค่าต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น รหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) ประกอบด้วย 8 บิต สี่บิตแรกเรียกบิตโซน (zone bit) สี่บิตหลังเรียกบิตเลข (digit bit) รหัสแอสกี (ASCII) ประกอบด้วย 7 บิต สามบิตแรกเรียกบิตโซน สี่บิตหลังเรียกบิตเลขมีความหมายเหมือน numeric bit |