access arm | ก้านเข้าถึง หมายถึง อุปกรณ์ในหน่วยบันทึก มีลักษณะเป็นก้านที่ต่อกับหัวอ่าน/บันทึก (read / write head) ที่ใช้เจาะเข้าไปที่จานบันทึก เพื่ออ่านข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล หรือเพื่อบันทึกข้อมูลลงในจานบันทึก มีลักษณะคล้ายเข็มของเครื่องเล่นจานเสียง |
access key | กุญแจการเข้าถึงหมายถึง รหัส หรือคำหลักที่ใช้เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลที่มีเก็บไว้ได้ ข้อมูลบางอย่างต้องทำเป็นการเฉพาะ และจะยอมให้เรียกมาใช้ได้เฉพาะคนบางกลุ่ม จึงต้องมีกุญแจที่จะให้รู้กันเฉพาะคนในกลุ่ม ผู้ที่ไม่รู้กุญแจ ก็ไม่สามารถเรียกเอาข้อมูลออกมาดู หรือมาใช้หรือแก้ไขได้ |
access mechanism | กลไกการเข้าถึง หมายถึง กลไกของอุปกรณ์ที่ใช้รองรับ และเคลื่อนย้ายก้านเข้าถึง (access arm) ของหน่วยจานบันทึก (disk drive) ไปบนพื้นผิวของจาน เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมา หรือบันทึกข้อมูลลงจานบันทึก |
access method | วิธีเข้าถึงโปรแกรมสำหรับเข้าถึงหมายถึง ระเบียบวิธีการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งสำหรับการเก็บและเรียกใช้ข้อมูลมี 2 วิธี คือ วิธีการเข้าถึงโดยตรง (direct) หรือโดยสุ่ม (random) และวิธีการเข้าถึงโดยอ้อม (indirect) หรือโดยลำดับ (sequential) ดู direct และ indirect access ประกอบ |
access time | ช่วงเวลาเข้าถึง (ข้อมูล) หมายถึง เวลาที่ใช้ในการที่หัวอ่าน (บางทีเรียกหัวเข็ม) ของหน่วยบันทึกจะสามารถอ่านแฟ้มข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล เช่น จากจานบันทึก หรือฮาร์ดดิสก์ หากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อย ก็หมายความว่า อ่านได้เร็ว ดู direct access, indirect access, random access, sequential access, immediate access ประกอบ |
cache | (แค?) {cached,caching,caches} n. ที่ซ่อน,ที่เก็บ,สิ่งที่ซ่อนไว้ vt. ซ่อน,เก็บ หน่วยความจำแคชหมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำ (memory) ที่ถูกกันไว้เก็บข้อมูลที่จะต้องการใช้เป็นการชั่วคราว การเข้าถึงหน่วยความจำส่วนนี้จะทำได้เร็วกว่าธรรมดามาก ในการโฆษณาขายเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ มักจะมีบ่งบอกไว้ด้วยเสมอว่า หน่วยความจำแคชนี้มีขนาดความจุเท่าใด เช่น 256 K cache เป็นต้น เพราะเป็นการแสดงถึงประสิทธิภาพของเครื่องอย่างหนึ่ง บางทีเรียก cache memory |
common user access | การเข้าถึงผู้ใช้ร่วมกันใช้ตัวย่อว่า CUA หมายถึง ตัวชี้นำ (guidelines) ที่ เครื่องไอบีเอ็มสร้างขึ้นมา ใช้เพื่อทำให้การเข้าสู่โปรแกรมมีลักษณะเป็นแบบเดียวกัน แม้แต่เครื่องแมคอินทอชก็ใช้ตัวชี้นำนี้ |
dasd | (แดสดี) ย่อมาจาก direct access storage device (แปลว่า อุปกรณ์หน่วยเก็บแบบเข้าถึงโดยตรง) หมายถึงสื่อที่ใช้เก็บข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้โดยตรง (direct access) หรือทันที ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกไว้ในส่วนใด เช่น จานบันทึก (disk) ดู direct access ประกอบ |
data encryption standards | มาตรฐานการเข้ารหัสใช้ตัวย่อว่า DES หมายถึงข้อกำหนดมาตรฐานในการเข้าถึงข้อมูลที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดขึ้น โดยวิธีใช้รหัส ผ่าน (password) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล |
des | 1. abbr. disequilibrium syndrome 2. (ดีอีเอส) ย่อมาจากคำ data encryption standards (แปลว่า มาตรฐานการเข้ารหัสลับข้อมูล) หมายถึงข้อกำหนดมาตรฐานในการเข้าถึงข้อมูลที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดขึ้น โดยวิธีใช้รหัสผ่าน (pass word) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล |
direct access storage dev | อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูลเข้าถึงโดยตรงใช้ตัวย่อว่า DASD (อ่านว่าแดสดี) หมายถึงหน่วยเก็บข้อมูลที่ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกไว้ ณ ส่วนใด เช่น จานบันทึก ดู direct access ประกอบ |
computer security | ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน การใช้ระบบเครือข่ายทำให้สามารถดึงข้อมูล ซึ่งบางทีเป็นความลับออกมาดู หรือแอบนำไปเผยแพร่ได้ ฉะนั้น จึงต้องมีการจัดระบบความปลอดภัย ส่วนใหญ่ใช้รหัส ซึ่งจะทำให้ทุกคนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้ เราอาจอนุญาตเฉพาะคนบางคน หรือกลุ่มคนบางคน ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยต้องรู้รหัส ฉะนั้นในขณะที่มีการสร้างฐานข้อมูล ก็ควรคำนึงถึงเรื่องนี้ไว้ด้วย |
direct access | การเข้าถึงโดยตรงหมายถึง การเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลได้เร็วเท่ากันหมด ไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่เก็บ หมายความว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บอยู่ที่ส่วนใดของสื่อที่ใช้บันทึก หัวอ่าน (read head) ก็จะเจาะตรงลงไปอ่านได้เลย เช่น การอ่านข้อมูลจากจานบันทึก ซึ่งผิดกับการอ่านข้อมูลจากแถบบันทึก (tape) ที่ต้องอ่านเรียงไปตามลำดับตั้งแต่ต้นเทปไปจนกว่าจะถึงข้อมูลที่ต้องการทุกครั้ง ทำให้ช้ากว่ากันมากดู indirect access เทียบ |
drum | (ดรัม) {drummed,drumming,drums} n. กลอง,เสียงกลอง,เยื่อแก้วหู vt.,vi. ตีกลอง,เคาะจังหวะ. ดรัม หมายถึงสื่อเก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นวัสดุรูปทรงกระบอกที่หมุนรอบแกนด้วยความเร็ว ที่ผิวนอกฉาบด้วยสารแม่เหล็ก การบันทึกข้อความลงเก็บ จะต้องบันทึกลงบนผิวดรัม ผ่านหัวบันทึก (write head) และอ่านข้อความออกโดยหัวอ่าน (read head) จึงเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูล (input) และหน่วยแสดงผล (output) มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล สูงกว่าเทปแม่เหล็ก (magnetic tape) แต่ยังช้ากว่าจานแม่เหล็ก (magnetic disk) โดยปกติจะต้องเรียกเต็ม ๆ ว่า magnetic drum |
erase head | หัวลบเป็นกลไกส่วนหนึ่งในหน่วยบันทึกข้อมูล (drive) อยู่ติดกับก้านเข้าถึง (access arm) ใช้ลบข้อมูล หรือแฟ้มข้อมูลออกจากจานบันทึก ดู read/write head |
extended memory specifica | ข้อกำหนดหน่วยความจำแบบขยายใช้ตัวย่อว่า XMS (อ่านว่า เอกซ์เอ็มเอส) เป็นมาตรฐานการจัดการเกี่ยวกับหน่วยความจำแบบหนึ่งที่ยอมให้โปรแกรมระบบดอส เข้าถึงส่วนความจำขยายได้ โปรแกรมในดอสที่จัดการเรื่องนี้ มีชื่อว่า Himem.Sys |
front end | เสริมหน้าหมายถึง โปรแกรมหนึ่งโปรแกรมใด หรือคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดที่ซ่อนรายละเอียดของการเข้าถึงข้อมูลเอาไว้ สรุปง่าย ๆ ได้ว่า ตัวโปรแกรมนั้นเองที่มีตัวเสริมหน้า เป็นตัวกันมิให้ใครเข้าถึงข้อมูลได้ นอกจากจะรู้จักคำสั่งต่าง ๆ |
hashing | (แฮชชิง) หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมให้จานบันทึกเก็บข้อมูลได้โดยอาศัยวิธีการคำนวณ การจะเข้าถึงข้อมูลได้ จะต้องรู้เลขประจำตำแหน่งต่าง ๆ เหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ถ้าคิดเพียงจะเป็น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักคำนี้เลยก็ได้ |
http | คำย่อ hypertext transfer protocol โปรโตคอลหลังฉากที่ส่งข้อมูลโดยทาง WWW (World Wide Web) โปรโตคอลนี้ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงโปรแกรมลูกค้าเข้าสู่ URL หรือเข้าหาไฮเพอเทกซ์ |
indexed sequential access | วิธีการเข้าถึงลำดับดรรชนีใช้ตัวย่อว่า ISAM (อ่านว่า ไอแซม) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอย่างหนึ่ง เพื่อให้สามารถเรียกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง ใช้ในโปรแกรมประเภทคลังข้อมูล |
isam | (ไอแซม) ย่อมาจาก indexed sequential access method (แปลว่า วิธีการเข้าถึงลำดับดรรชนี) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการเก็บข้อมูลอย่างหนึ่ง เพื่อให้สามารถเรียกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง ใช้ในโปรแกรมประเภทคลังข้อมูล |
immediate access | หมายถึง การเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลได้เร็วเท่ากันหมด ไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่เก็บ หมายความว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บอยู่ที่ส่วนใดของสื่อที่ใช้บันทึก หัวอ่าน (read head) ก็จะเจาะตรงลงไปอ่านได้เลย เช่น การอ่านข้อมูลจากจานบันทึก ซึ่งผิดกับการอ่านข้อมูลจากแถบบันทึก (tape) ที่ต้องอ่านเรียงไปตามลำดับตั้งแต่ต้นเทปไปจนกว่าจะถึงข้อมูลที่ต้องการทุกครั้ง ทำให้ช้ากว่ากันมากมีความหมายเหมือน direct access |
magnetic drum | ดรัมแม่เหล็กหมายถึง วัสดุรูปทรงกระบอกที่หมุนรอบแกนด้วยความเร็ว ที่ผิวนอก ฉาบด้วยสารแม่เหล็ก ในการบันทึกข้อมูลลงบนพื้นผิวของดรัม จะบันทึกผ่านหัวบันทึก (write head) และอ่านข้อความออกโดยหัวอ่าน (read head) ดรัมจึงเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูล (input) และหน่วยแสดงผล (output) มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่าแถบบันทึก (tape) แต่ยังช้ากว่าจานบันทึก (disk) |
magnetic tape | แถบบันทึกแม่เหล็กหมายถึง แถบที่ทำด้วยพลาสติกฉาบออกไซด์ของโลหะ มีลักษณะคล้ายเทปหรือแถบบันทึกเสียง ม้วนอยู่บนวงล้อ มีหลายขนาด เป็นต้นว่า ขนาดยาว 2,400 ฟุต 1,200 ฟุต และ 600 ฟุต ตัวเทปกว้าง ? นิ้ว บันทึกข้อมูลได้ประมาณ 800-1,600 ตัวอักษรต่อความยาวของเนื้อเทป 1 นิ้ว เทปหรือแถบบันทึกนี้สามารถเป็นได้ทั้งหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล คอมพิวเตอร์จะมีเครื่องมือที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูลลงในเทป เรียกว่า หน่วยขับเทป (tape drive) เราสามารถบันทึกข้อมูลใหม่ลงทับบนข้อมูลเก่าได้เหมือนการบันทึกเพลง ข้อมูลเดิมจะหายไปโดยอัตโนมัติ ข้อเสียของเทปก็คือ การค้นหาข้อมูลทำได้ช้า เพราะต้องเริ่มตั้งแต่ต้นเทปเสมอ ถ้าข้อมูลอยู่ปลายเทป ก็จะเสียเวลานาน การค้นหาแบบนี้เรียกว่าการเข้าถึงแบบเรียงลำดับ (sequential access) ซึ่งตรงข้ามกับการเข้าถึงแบบสุ่ม (direct access) ของจานบันทึก |
path | เส้นทางเป็นคำสั่งในระบบดอส ใช้ในแฟ้มข้อมูล autoexec.bat เพื่อให้สามารถเข้าถึงแฟ้มข้อมูลที่เก็บอยู่ได้ โดยไม่ต้องบอกที่เก็บทุกครั้ง ตัวอย่าง เช่นPATH=C:\DOS; C: \WINDOWS ; C:\ WINWORD ; C: \EXCEL |
protected storage | หน่วยเก็บมีการอารักขาหมายถึง หน่วยเก็บข้อมูลที่จะเข้าถึงได้ เฉพาะเมื่อรู้คำหลัก (keyword) เราจะใช้หน่วยเก็บนี้เมื่อต้องการเก็บข้อมูลที่เป็นความลับ |
proxy server | ตัวบริการแทนหมายถึง คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในอินเตอร์เน็ต หากสถานีปลายทางเครื่องใดต้องการข้อมูล ก็จะสามารถเรียกได้จากตัวบริการแทนนี้ จะทำให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าเรียกหาเอง |
sequential file | แฟ้มลำดับหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่จะเข้าถึงได้ไปตามลำดับ (sequential) สื่อตัวอย่างที่เห็นง่ายก็คือ แถบบันทึกเพลง (tape) กว่าจะเข้าไปถึงเพลงลำดับท้าย ๆ ก็ต้องหมุนผ่านเพลงแรก ๆ ไป ก่อน ต้องรอจนกว่าจะถึงเพลงที่ต้องการ (ตรงข้ามกับ จานเสียงหรือซีดี (CD) ที่เราสามารถเลือกฟังเพลงที่ต้องการได้ทันที) |
xms | เอกซ์เอ็มเอสย่อมาจาก extended memory specification (ข้อกำหนดหน่วยความจำแบบขยาย) เป็นมาตรฐานการจัดการเกี่ยวกับหน่วยความจำแบบหนึ่งที่ยอมให้โปรแกรมระบบดอส เข้าถึงส่วนความจำขยายได้ โปรแกรมในดอสที่จัดการเรื่องนี้ มีชื่อว่า Himem.Sys |
ram | (แรม) n. แกะตัวผู้,กลุ่มดาวแกะ,เครื่องกระทุ้ง,เครื่องกะแทก,เครื่องตอกเสาเข้ม,การยัดเยียดเรื่องราวลงในสมอง.,แรมย่อมาจาก random access memory แปลว่า หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม เป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการสุ่ม การเข้าถึงโดยสุ่ม หมายถึง การเข้าถึงหน่วยความจำทุกจุดได้ โดยใช้เวลาในการเข้าถึงเท่ากันหมด ไม่ต้องตั้งต้นใหม่ทุกครั้งแล้วรอไปตามลำดับ (อย่างแถบบันทึกหรือเทป) "แรม" จะหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์วัดขนาดกันเป็นกิโลไบต์ หรือเมกะไบต์ ทำงานได้รวดเร็วมาก แต่เมื่อปิดไฟ ข้อมูลในนี้ก็จะหายไปหมด ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ขายทั่วไปมักจะต้องมีข้อความบอกว่า มีแรมขนาดใด ยิ่งมีแรมมาก ก็จะยิ่งทำงานได้เร็ว ดู ROM เปรียบเทียบ vt. กระทุ้ง,ตอก,กระแทก,ยัด,ยัดเยียด,ดันอย่างแรง., See also: rammer n., Syn. strike,batter,cram |
ram disk | จานแรมหมายถึง ส่วนของหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบเข้าถึงโดยสุ่มเหมือนแรม แต่ใช้เก็บแฟ้มข้อมูลเพื่อให้เรียกมาใช้ได้เหมือนจานบันทึก จานแรมนี้จะทำงานได้เร็วกว่าจานบันทึกธรรมดามาก อย่างไรก็ตาม ข้อเสียก็คือถ้าปิดไฟที่เครื่อง ข้อมูลเหล่านี้จะหายหมด โดยปกติ จะมีการแบ่งจานแรมนี้ ออกมาจากแรมส่วนหนึ่ง เพื่อใช้เก็บแฟ้มที่ต้องการเรียกใช้โปรแกรม สำเร็จสมัยปัจจุบันมักจะมีขนาดใหญ่ และต้องการใช้เนื้อที่ในแรมมาก ทำให้คอมพิวเตอร์ที่มีแรมต่ำเกือบจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป หรือไม่ก็ทำงานช้ามาก อาจจะแก้ไขได้ด้วยวิธีการเพิ่มแรมมีความหมายเหมือน virtual disk ดู RAM ประกอบ |
random access | การเข้าถึงโดยสุ่มการเข้าถึงข้อมูลที่บันทึกไว้โดยสุ่มหมายความว่าเข้าถึงได้ทุก ๆ จุดได้โดยทันทีทันใด เป็นต้นว่า การเข้าถึงข้อมูลที่เก็บในจานบันทึก ซึ่งจะใช้เวลาเท่ากันหมดไม่ว่าเก็บไว้ที่จุดไหน ต่างกับการเข้าถึงข้อมูลที่เก็บไว้ในแถบบันทึกหรือเทป ถ้าข้อมูลที่ต้องการอยู่ตอนปลาย ก็จะต้องรอให้เทปเดินหน้าไปจนถึงจุดนั้นเสียก่อน การเข้าถึงข้อมูลโดยวิธีนี้ จะมีหัวอ่าน/บันทึก (read head) ต่อกับก้านโลหะที่เคลื่อนเข้า/ออกได้ เหนือจานที่หมุนรอบแกนอีกทีหนึ่ง เปรียบเทียบ) ถ้าเปรียบกับการฟังเพลงจากจานเสียงและเทป จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าเป็นเทปหรือแถบบันทึก หากจะฟังเพลงที่อยู่ในลำดับท้าย ๆ ก็จะต้องรอให้เทปหมุนผ่านเพลงในลำดับแรก ๆ ไปก่อน แต่ถ้าเป็นจานเสียง เราต้องการฟังเพลงใด ก็สั่งได้ทันทีดู sequential access เปรียบเทียบ |
random access memory | หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มใช้ตัวย่อว่า RAM (อ่านว่า แรม) เป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการสุ่ม การเข้าถึงโดยสุ่มหมายถึง การเข้าถึงหน่วยความจำทุกจุดได้ โดยใช้เวลาในการเข้าถึงเท่ากันหมด ไม่ต้องตั้งต้นใหม่ทุกครั้งแล้วรอไปตามลำดับ (อย่างแถบบันทึกหรือเทป) "แรม" จะหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ วัดขนาดกันเป็นกิโลไบต์ หรือเมกะไบต์ ทำงานได้รวดเร็วมาก แต่เมื่อปิดไฟ ข้อมูลในนี้ก็จะหายไปหมด ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ขายทั่วไปมักจะต้องมีข้อความบอกว่า มีแรมขนาดใด ยิ่งมีแรมมาก ก็จะยิ่งทำงานได้เร็ว ในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ที่วางขายทั่วไปจะมีแรมประมาณ 1 - 8 เมกะไบต์ ปัจจุบันโปรแกรมสำเร็จใหญ่ ๆ หลายโปรแกรม เจาะจงว่าจะต้องใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มีแรมอย่างน้อย 8 เมกะไบต์ดู read only memory เปรียบเทียบ |
random access storage | หน่วยเก็บเข้าถึงโดยสุ่มเป็นหน่วยความจำประเภทหนึ่งที่เราสามารถเข้าถึงได้โดยวิธีการสุ่ม การเข้าถึงโดยสุ่มหมายถึง การเข้าถึงหน่วยความจำทุกจุดได้ โดยใช้เวลาในการเข้าถึงเท่ากันหมด ไม่ต้องตั้งต้นใหม่ทุกครั้งแล้วรอไปตามลำดับ (อย่างแถบบันทึกหรือเทป) หน่วยเก็บในที่นี้หมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ วัดขนาดกันเป็นกิโลไบต์ หรือเมกะไบต์ ทำงานได้รวดเร็วมาก แต่เมื่อปิดไฟ ข้อมูลในนี้ก็จะหายไปหมด นอกจากนั้นยังหมายถึงจานบันทึก ซึ่งใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลเท่ากันหมดเช่นกัน |
sam | แซม ย่อมาจาก sequential access method แปลว่า วิธีเข้าถึงโดยลำดับ เป็นวิธีเก็บข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้วิธีหนึ่ง หมายถึง การเข้าถึงหน่วยเก็บข้อมูลหรือสื่อบางชนิด เช่น แถบแม่เหล็ก (tape) ซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้โดยเรียงไปตามลำดับ วิธีที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลขึ้นอยู่กับระยะทางของตำแหน่งของข้อมูลที่บรรจุไว้ในสื่อนั้น หากข้อมูลถูกเก็บอยู่ตอนปลาย กว่าจะเข้าถึงข้อมูล ก็ย่อมจะเสียเวลานาน |
scratchpad memory | หน่วยความจำใช้งานชั่วคราวหมายถึง เรจิสเตอร์เอนกประสงค์ชุดหนึ่งหรือตำแหน่งซึ่งใช้เป็นที่เก็บคำสั่ง (instruction) หรือผลลัพธ์ที่เกิดในขณะนั้นจากการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์หรือตรรกะ ข้อมูลในหน่วยความจำชุดนี้จะเข้าถึง (access) ได้เร็วกว่าในหน่วยความจำหลักมากมีความหมายเหมือน cache memoryดู register ประกอบ |
sequential access method | วิธีเข้าถึงโดยลำดับใช้ตัวย่อว่า SAM (อ่านว่า แซม) หมายถึง การเข้าถึงหน่วยเก็บข้อมูลหรือสื่อบางชนิด เช่น แถบแม่เหล็ก (tape) ซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้ตามลำดับ วิธีที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลขึ้นอยู่กับระยะทางของตำแหน่งของข้อมูลที่บรรจุไว้ในสื่อนั้น หากข้อมูลถูกเก็บอยู่ตอนปลาย กว่าจะเข้าถึงข้อมูล ก็ย่อมจะเสียเวลานานดู random access เปรียบเทียบ |
temporary storage | หน่วยเก็บชั่วคราวหมายถึง หน่วยความจำที่จัดไว้สำหรับเก็บข้อมูลที่ต้องการใช้เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการค้นหาและเข้าถึง (access) เพื่อจะได้นำไปประมวลผลได้เร็วขึ้นไปอีก โดยปกติแล้ว จะมีอยู่เฉพาะในสื่อที่เก็บแบบเข้าถึงโดยตรงได้ (direct access storage) เป็นต้นว่า จานบันทึก (disk) ส่วนแถบบันทึก (tape) ก็มีบ้าง แต่น้อยมาก |