organic chemistry | อินทรีย์เคมี, วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี สมบัติและการเกิดเป็นสารประกอบของสารอินทรีย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
acetic acid | กรดแอซีติก, กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CH3COOH มีชื่อสามัญว่า กรดน้ำส้ม ใช้เป็นสารปรุงอาหาร เป็นตัวทำละลายและใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น พลาสติก สี การถ่ายรูป เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Aliphatic | อะลิฟาทิก สารประกอบอินทรีย์ซึ่งอะตอมของคาร์บอนมีโครง สร้างแบบลูกโซ่เปิด ประกอบด้วยพาราฟิน โอเลฟิน และ อะเซทิลีนไฮโดรคาร์บอนและอนุมูล [สิ่งแวดล้อม] |
alkaloid | แอลคาลอยด์, สารอินทรีย์ที่ได้จากพืช มีสมบัติเป็นเบส ในโมเลกุลจะประกอบด้วยธาตไนดตรเจนอย่างน้อย 1 อะตอม แอลคาลอยด์มีหลายชนิด เช่น นิโคติน เป็นแอลคาลอยด์ที่พบในใบยาสูบ มอร์ฟิน เป็นแอลคาลอยด์ที่พบในฝิ่น เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alkane | แอลเคน, สารอินทรีย์ประเภทอิ่มตัวพันธะระหว่างอะตอมของคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยวทั้งสิ้น สูตรเคมีทั่วไปคือ CnH2n+2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alkene | แอลคีน, สารอินทรีย์ประเภทไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุลอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง สูตรเคมีทั่วไป คือ CnH2n [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alkyne | แอลไคน์, สารอินทรีย์ประเภทไม่อิ่มตัวที่มีพันธะสามอยู่ในโมเลกุลอย่างน้อย 1 ตำแหน่งสูตรเคมีทั่วไปคือ CnH2n-2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
amine | เอมีน, สารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลเกิดจากหมู่ไฮโดรคาร์บอนแทนที่ไฮโดรเจนในโมเลกุลของแอมโมเนียเพียงหนึ่ง สอง หรือ ทั้งสามอะตอมก็ได้ เช่น อะนิลีน C6H5NH2 ไดเมทิลอามีน(CH3)2NH เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Ammonification | แอมโมนิฟิเคชัน การย่อยสลายสารอินทรีย์ไนโตรเจนเป็นแอมโมเนีย โดยแบคทีเรีย [สิ่งแวดล้อม] |
Aromatic | อะโรมาติก สารประกอบอินทรีย์ซึ่งประกอบด้วยวงแหวนเบนซิน 1 วง หรือมากกว่า [สิ่งแวดล้อม] |
AS | เอเอส ดู activated sludge หมายถึง จุลินทรีย์ที่เลี้ยงไว้ในถังเติมอากาศเพื่อใช้ กำจัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย [สิ่งแวดล้อม] |
Bog | ที่ลุ่มสนุ่น, พรุ บริเวณที่ลุ่มน้ำขังตลอดปีหรือเกือบตลอดปี มีซากพืชที่ตายแล้วผุพังกลายเป็น พีต(peat) ที่เป็นกรดจัด จับตัวกันในลักษณะหลวม ๆ ทับถมกันหนาบางตามสภาพแวดล้อมที่เกิด บางส่วนลอยอยู่บนผิวน้ำ บางส่วนจมใต้ผิวน้ำ เมื่อเหยียบย่ำจะหยุ่นคล้ายฟองน้ำ พืชพรรณที่ขึ้นในพรุมีหลากหลาย ได้แก่ หญ้า กก เฟริ์น ปาล์มหมาก หวาย เตย รวมทั้งไม้ยืนต้นบางชนิด ดิน อินทรีย์ที่พบในพื้นที่นี้มีปฎิกิริยาเป็นกรดจัด [สิ่งแวดล้อม] |
Carbonaceous BOD | บีโอดี (จากสาร) คาร์บอน ค่าออกซิเจนที่ต้องการใช้ในการออกซิไดส์ สารอินทรีย์คาร์บอนให้เป็น คาร์บอนไดออกไซด์ [สิ่งแวดล้อม] |
composed fertillizer | ปุ๋ยหมัก, ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของซากพืช ซากสัตว์ และมูลสัตว์ บางทีเรียกว่า ปุ๋ยอินทรีย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Decomposition | การสลายตัว การสลายตัวของวัตถุดิบที่มีโครงสร้างซับซ้อน กลายเป็นโครงสร้างซับซ้อนน้อยลง โดยกระบวนการทางเคมีหรือทางชีวภาพ 1) การสลายตัวของหินและแร่ อันมีผลทำให้หินและแร่สลายไปโดยปฏิกิริยาเคมี 2) การสลายตัวของสารอินทรีย์ให้กลายเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ [สิ่งแวดล้อม] |
Ebonite | อีโบไนต์หรือยางแข็ง (hard rubber) คือ ยางที่ผ่านกระบวนการวัลคาไนเซชันโดยใช้กำมะถันในปริมาณสูง (30-50%) และให้ความร้อน ทำให้ยางมีโครงสร้างแบบร่างแห (network) และมีสมบัติแข็งมากแต่เปราะ ติดไฟง่าย ไม่เป็นพิษ ไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ทั่วไป นิยมใช้ทำหม้อบรรจุแบตเตอรีหรือภาชนะบรรจุกรด-เบส [เทคโนโลยียาง] |
ester | เอสเทอร์, สารประกอบที่เกิดจากแอลกอฮอล์ทำปฏิกิริยากับกรดอินทรีย์ สูตรโครงสร้างทั่วไปคือ เช่น ไขมันเป็นเอสเทอร์ชนิดหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ether | อีเทอร์, สารอินทรีย์ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทั่วไป คือ R - O - R´ เช่น ไดเอทิลอีเธอร์(C2H5 - O - C2H5) เป็นของเหลวไม่มีสี ใช้เป็นยาสลบและตัวทำละลาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
freon | ฟรีออน, สารประกอบอินทรีย์พวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอนสลายตัวยาก ไม่มีสี และไม่ติดไฟ ทำให้เป็นของเหลวหรือเป็นไอได้ง่าย ใช้เป็นสารทำให้เกิดความเย็นในเครื่องทำความเย็นหรือทำให้เกิดแรงดันในกระป๋องสเปรย์ต่าง ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Garbage | ขยะเปียก, ขยะครัว, เศษอาหาร ขยะพวกเศษอาหาร พืชผัก เศษเนื้อสัตว์ และเศษสิ่งของส่วนใหญ่ ที่ได้จากการประกอบอาหารจากตลาด หรือเศษที่เหลือจากการรับประทาน ขยะเปียกจะมีลักษณะส่วนมากประกอบด้วยอินทรีย์วัตถุ ซึ่งมักจะเป็นที่สลายได้ง่าย ดังนั้น ถ้าขยะเปียกถูกปล่อยทิ้งไว้นานเกินจะเกินการเน่าเสียและเกิดกลิ่นเหม็นรบกวน ได้ง่าย โดยกปติแล้วขยะเปียกจะมีปริมาณความชื้นประมาณร้อยละ 40-70 ของขยะทั้งหมด ขยะที่ส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ ประกอบด้วยเศษผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ที่เหลือทิ้งจากการจัดเตรียมอาหาร, การประกอบอาหารและเหลือจากการบริโภค [สิ่งแวดล้อม] |
glycerol | กลีเซอรอล, สารประกอบอินทรีย์พวกแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ C3H8O3 เป็นของเหลวข้น ไม่มีสี มีจุดเดือด 290oC ละลายน้ำได้ เป็นองค์ประกอบสำคัญของไขมันหรือน้ำมัน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลีเซอริน ใช้ในอุตสาหกรรมทำยา เครื่องสำอาง สบู่ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
lipid | ลิพิด, ไขมัน, สารประกอบอินทรีย์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยธาตุ C, H, O เป็นส่วนใหญ่ไม่ละลายน้ำแต่ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ขี้ผึ้ง ไขมันสัตว์ น้ำมันที่สกัดจากพืช เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Loam | ดินร่วน ดินที่มีเนื้อเป็นดินเหนียวปนทรายกับวัตถุ อินทรีย์ประกอบกัน มีสภาพซุยและมีโอชะในดินธรรมชาติ เป็นผลให้ปลูกพืชได้งอกงามอยู่ในตัวโดยไม่ต้อง ปรับปรุงอย่างใดอีก เรียกได้ว่าเป็นดินอุดม [สิ่งแวดล้อม] |
Molten Salt Combustion | การเผาไหม้ด้วยเกลือเหลว เทคนิคการเผาไหม้เพื่อกำจัดสารอินทรีย์โดยการ ฉีดพ่นในอ่างเกลือเหลว ณ อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียล เกลือที่ใช้ ได้แก่ โซเดียมหรือโพแทสเซียมคาร์บอเนต [สิ่งแวดล้อม] |
nucleic acid | กรดนิวคลิอิก, สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ประกอบด้วยหน่วยย่อยคือ นิวคลีโอไทด์ต่อกันเป็นสาย กรดนิวคลีอิกมี 2 ชนิด คือ DNA และ RNA [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
O-Horizon | ชั้นโอ เป็นช่วงชั้นดินอินทรีย์ (organic soil horizon) ปกติแล้วจะมีปริมาณอินทรีย์วัตถุมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป แบ่งย่อยออกเป็น O1 ชั้นโอหนึ่ง อินทรียวัตถุส่วนใหญ่ยังมิได้มีการสลายตัว O2 ชั้นโอสอง อินทรียวัตถุส่วนใหญ่มีการสลายตัวแล้ว [สิ่งแวดล้อม] |
Oil Shale | หินน้ำมัน มีลักษณะคล้ายหินดินดาน สีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลแก่ มีอินทรียสารที่เรียกว่าเคโรเจน (Kerogene) เป็นสารน้ำมันอุ้มอยู่ในเนื้อหิน ถ้าจุดไฟจะติดไฟ ชาวบ้านจึงเรียกว่า หินติดไฟหรือหินดินดานน้ำมัน ซึ่งจะใช้ประโยชน์ในการกลั่นเอาน้ำมันใช้เป็นเชื้อเพลิงและประโยชน์อื่นๆ แหล่งหินน้ำมันที่สำคัญในประเทศไทยได้แก่ แหล่งที่อำเภอแม่สอด-แม่ระมาด และที่อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก แหล่งบ้านป่าคา อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน และแหล่งที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ [ปิโตรเลี่ยม] |
organic acid [carboxylic acid] | กรดอินทรีย์, สารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) อยู่ในโมเลกุล เช่น กรดแอซีติก (CH3COOH) กรดฟอร์มิก (HCOOH) เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Peat | ลำดับเบื้องต้นของกระบวนการเกิดถ่านหินซากพืชที่ยังไม่แข็งตัว สะสมในที่ลุ่มชื้นแฉะ จึงทำให้มีความชื้นสูง (อย่างน้อยร้อยละ 75) เนื้อเซลลูโลสของซากพืชต่างๆถูกแบคทีเรียและเชื้อราแปรสภาพเป็นอินทรียวัตถุและก๊าซมีเทน แต่ยัง ปรากฏลักษณะซากพืชต่างๆให้เห็นอยู่ภายในเนื้อ มีคาร์บอนประกอบอยู่ประมาณร้อยละ 60 และออกซิเจนประมาณร้อยละ 30 เมื่อแห้งจะติดไฟได้ดี [ปิโตรเลี่ยม] |
Pigment | สารให้สีที่ไม่ละลายในยาง เติมลงไปในยางที่ไม่มีผงเขม่าดำเพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ยางที่ได้มีสีสันตามความ ต้องการของผู้ผลิต แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผงสีอินทรีย์และผงสีอนินทรีย์ [เทคโนโลยียาง] |
protein | โปรตีน, โปรตีน [โปฺร-] น. สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนของไนโตรเจน มีโมเลกุลขนาดใหญ่ประกอบด้วยกรดแอมิโนหลายชนิดเชื่อมโยงกัน เป็น
|
Putrescible | เน่าได้ สภาพที่เกิดการย่อยสลายของสารอินทรีย์ในเวลา อันสั้น ในสภาวะอากาศธรรมดา [สิ่งแวดล้อม] |
Sediment | ตะกอนหมวดคุณภาพน้ำ หมายถึง ของแข็งที่ตกจมจากสภาพการแขวนลอยในของเหลว / สสาร หรือสารอินทรีย์ที่เคลื่อนย้ายจากแหล่งเดิม เนื่องจากกระแสลมหรือกระแสน้ำพัดผ่านและตกอยู่ตามผิวโลกไม่ว่าจะอยู่สูงหรือต่ำกว่าระดับน้ำทะเล หมวดทรัพยากรที่ดินและการใช้ที่ดิน หมายถึง เศษหิน ดิน แร่ และอินทรียวัตถุที่เกิดจากกระบวนการผุสลายและพังทลาย วัสดุเหล่านี้ถูกน้ำ ลม หรือธารน้ำแข็งพามาสะสม [สิ่งแวดล้อม] |
Separator | เครื่องแยก อุปกรณ์ที่ใช้แยกขยะหรือกรรมวิธีแยกวัตถุ แบ่งเป็น 1) Cinder Separator เครื่องแยกขยะกากเถ้า : สายพานเอียงใช้สำหรับ แยกขยะกากเถ้า โดยขยะประเภทสารอินทรีย์จะค้างอยู่บนสายพาน ปล่อย ให้กากเถ้าหรือขยะเม็ดผ่านรูสายพานออกไป 2) Inclined-Belt Separator [สิ่งแวดล้อม] |
Tinner | ทินเนอร์ สารอินทรีย์ที่เป็นตัวทำละลาย ซึ่งใช้ผสมกับสิ่งอื่นเพื่อช่วยลดความหนืดหรือความข้นเหลว และตามปกติในการใช้ไม่มุ่งหมายให้เกิดปฏิกริยาทางเคมีต่อสิ่งของนั้น ทางเคมีต่อสิ่งของนั้น [สิ่งแวดล้อม] |
vanilla | วานิลลา, พืชชนิดหนึ่งมีมากในอเมริกาใต้ นำเมล็ดมาสกัดได้สารอินทรีย์ สูตรเคมีคือC8H8O3 เป็นผลึกสีขาว จุดหลอมเหลว 81-82 °C จุดเดือด 285 °C มีกลิ่นหอม นิยมใช้ผสมอาหาร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Volatile Acids | กรดระเหยง่าย ส่วนใหญ่ได้แก่ กรดอะซิติก โพริไพโอนิก และบิวทิริก ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการย่อยสลายแบบไร้อากาศของสลัดจ์ และของเสียที่เป็นสารอินทรีย์ [สิ่งแวดล้อม] |
Sedimentary Deposits | แหล่งแร่กำเนิดจากการสะสม แหล่งแร่ที่เกิดจากการสะสมนั้นเกิดขึ้นแบบ เดียว กับการเกิดหินชั้นนั่นเอง อาจจะโดยกรรมวิธีทางเคมี คือตกผลึกจากสารละลาย หรือโดยกรรมวิธีทางชีวะ คือการสะสมตัวของอินทรีย์สาร หรือโดยการระเหย แหล่งแร่ มักจะเกิดเป็นชั้นหรือเป็นส่วนในชั้น หรือไม่ก็กระจายอยู่ในชั้นใดชั้นหนึ่ง แหล่งแร่สะสม ได้แก่ แร่เหล็ก แมงกานีส ถ่านหิน ยิปซัม ดินเบา แอนไฮไดรท์ หินเกลือ เป็นต้น [สิ่งแวดล้อม] |