Semiconductor | สารกึ่งตัวนำ สารกึ่งตัวนำเป็นสารที่มีคุณสมบัติอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน เช่น ซิลิคอน เจอเมเนียม เทลลูเนียมเป็นต้น [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
carrier | พาหะ, 1. สิ่งมีชีวิตที่นำเอาลักษณะทางพันธุกรรมหรือเชื้อโรคไปถ่ายทอดให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่น 2. อิเล็กตรอนซึ่งเป็นตัวพาประจุไฟฟ้าในตัวนำหรือสารกึ่งตัวนำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Central Processing Unit (CPU) | ซีพียู, ชิปที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นสารกึ่งตัวนำขนาดเล็ก ภายในบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ไว้มากมาย โดยวงจรจะประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก บางครั้งจึงเรียกชิปต่างๆ ว่า ไอซี ทำหน้าที่ในการประมวลผล และควบคุมการทำงานของคอมพิ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Diode | ไดโอดอุปกรณ์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ p-n สามารถควบคุมให้กระแสไฟฟ้าจากภายนอกไหลผ่านตัวมันได้ทิศทางเดียว ไดโอดประกอบด้วยขั้ว 2 ขั้ว คือ แอโนด (Anode ; A) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด p และ แคโธด (Cathode ; K) ซึ่งต่ออยู่กับสารกึ่งตัวนำชนิด n [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
rectifier | ตัวทำกระแสตรง, อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ทิศทางเดียว จึงทำหน้าที่เป็นเครื่องแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้า กระแสตรง โดยทั่วไปใช้ไดโอดที่เป็นสารกึ่งตัวนำเป็นอุปกรณ์สำคัญ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Solar Cell | เซลล์แสงอาทิตย์ สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมาก นำมาผ่านขบวนการทางวิทยาศาสตร์ผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ และในทันทีที่มีแสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่มีอนุภาคของพลังงานประกอบ จะมีการถ่ายเทพลังงานให้กับสารกึ่งตัวนำและเกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น กระบวนการแปรรูปพลังงานแสงอาทิตย์ [ปิโตรเลี่ยม] |
Transistor | ทรานซิสเตอร์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีรอยต่อของสารกึ่งตัวนำ p-n จำนวน 2 ตำแหน่ง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทรานซิสเตอร์รอยต่อไบโพลาร์ (Bipolar Juntion Transistor(BJT))
|