disk operating system | ระบบปฏิบัติการแบบใช้จานโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่สั่งการให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทำงาน ถ้าจะแปลให้ตรงตัว ก็จะเรียกได้ว่า เป็นระบบปฏิบัติการแบบที่ใช้จานบันทึกข้อมูล เรามักจะใช้คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า DOS (อ่านว่า ดอส) ส่วนระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ เรียกว่า OS อ่านว่า โอเอส (Operating System) ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ประเภทเทียบเคียงกับไอบีเอ็ม (IBM compatibles) หรือพีซี (PC) จะใช้ "ดอส" ที่เขียนโดยบริษัทไมโครซอฟต์ นิยมเรียกกันว่าMS-DOS หรือ Microsoft DOS ส่วนระบบปฏิบัติการที่ใช้กับคอมพิวเตอร์แมคอินทอช มีชื่อว่า System 6 หรือ 7 |
network operating system | ระบบปฏิบัติการเครือข่ายใช้ตัวย่อว่า NOS เป็นชื่อซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทำระบบข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) ซึ่งจะต้องประกอบด้วย เครื่องบริการแฟ้ม (server) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่เก็บโปรแกรมและแฟ้มข้อมูลที่จะใช้ร่วมกัน และซอฟต์แวร์ที่จัดการเกี่ยวกับสถานีงาน (work station) เพื่อจัดการเกี่ยวกับการติดต่อโต้ตอบระหว่างเครื่องบริการแฟ้มกับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายด้วย |
operating system | ระบบปฏิบัติการใช้ตัวย่อว่า OS หมายถึง ซอฟต์แวร์ระบบ (systems software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด รวมทั้งการปฏิบัติงานของโปรแกรมด้วย เปรียบเสมือนเป็นแม่บ้าน ที่คอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานประสานกัน ระบบปฏิบัติการของโมโครคอมพิวเตอร์ จะเรียกว่า ระบบปฏิบัติการแบบใช้จาน (disk operating systemหรือที่ใช้ตัวย่อว่า DOS) ที่มีชื่อโด่งดังอยู่ในขณะนี้ ก็คือ MS DOS (ใช้กับพีซี) และ System 7 (ใช้กับแมคอินทอช) หลังจากดอสแล้ว ก็มานิยมใช้ระบบวินโดว์แทน |
personal computer disk op | ระบบปฏิบัติการแบบใช้จาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือไมโครคอมพิวเตอร์ ลักษณะและวิธีใช้ก็เหมือน ๆ กับ MS DOS ที่บริษัทไมโครซอฟต์นำมาดัดแปลงจนใช้กันทั่วไปนั่นเอง ปัจจุบัน พีซีดอสได้มีการพัฒนาไปมากแล้ว แต่พอวินโดว์ 95 เป็นที่นิยม ระบบดอสก็ดูเหมือนจะไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นพีซีดอส หรือเอ็มเอสดอสดู MS DOS ประกอบ |
appletalk | (แอปเปิลทอล์ค) ในปัจจุบัน มีการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาใช้ร่วมกัน เพื่อทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่เรียกว่า "ข่ายงาน" (network) การทำเช่นนี้จำเป็นจะ ต้องมีระบบประสานการใช้เครื่อง แอปเปิล ทอล์คนั้น ทำหน้าที่นี้ แต่ใช้สำหรับทำให้นำเครื่องแอปเปิลแมคอินทอชและเครื่องไอบีเอ็ม พีซีซึ่งมีระบบปฏิบัติการต่างกันมาใช้ร่วมกันในข่ายงานเดียวกันได้ เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชทุกเครื่องจะมีช่องต่อออก สำหรับแอปเปิลทอลค์ แต่ไอบีเอ็มพีซียังไม่มี ดู network ประกอบ |
appleshare | (แอปเปิลแชร์) หมายถึง โปรแกรมระบบปฏิบัติการที่จะใช้ในข่ายงาน (network) ที่บริษัทแอปเปิลสร้างขึ้นสำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์แมคอินทอช (ดู networks ประกอบ) |
dir | เป็นคำสั่งหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอส ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์แสดงชื่อ สารบบ และแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในสารบบหรือในจานบันทึก |
dos | (ดอส) ย่อมาจาก disk operating system (ระบบปฏิบัติการแบบใช้จาน) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกับการจัดการควบคุมแผ่นบันทึก (disk) หรือที่เรียกว่าระบบปฏิบัติการ (OS) ดอสที่ใช้เฉพาะกับไมโครคอมพิวเตอร์ (ดอสที่ใช้กับเมนเฟรมก็มี เป็นของบริษัทไอบีเอ็ม) |
ascii file | แฟ้มข้อมูลแอสกี หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่ไม่ใช่โปรแกรม มีตัวอักขระที่ใช้เป็นรหัสแอสกีทั้งหมด บางที เรียกว่า " text file " แฟ้มแอสกี (ASCII file) มีลักษณะเฉพาะคือเป็นแฟ้มที่ไม่มีรูปแบบในการจัดหน้า ข้อความจะยาวไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจาก จะเริ่มระเบียนใหม่ โปรแกรมเวิร์ด สตาร์ (WordStar) เป็นผู้นำคำนี้มาใช้ก่อน (ตรงข้ามกับ document file ซึ่งหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดรูปหน้าไว้แล้ว) ส่วนมากจะใช้ศัพท์นี้เมื่อต้องการเปลี่ยน (convert) แฟ้มข้อมูลของโปรแกรมหนึ่งเป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง เช่นจาก Word Perfect เป็น Microsoft Word ในกรณีเช่นนี้ อาจจะมีเมนูให้เลือกได้ว่าจะเปลี่ยนเป็น text file หรือ ASCII file หรือไม่ ซึ่งก็หมายความว่าเปลี่ยนเป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกีทั้งหมด ทำให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ภายใต้ระบบปฏิบัติการเดียวกัน นิยมใช้กันมากในระบบสื่อสารและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล |
batch processing | การประมวลผลเชิงกลุ่มหมายถึงการประมวลผลที่ทำต่อเนื่องกันไปตามลำดับโดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นตัวควบคุม ในการประมวลผลแบบนี้ เราจะต้องจัดรวบรวมข้อมูลและแบ่งแยกเป็นกลุ่มไว้ให้เรียบร้อยก่อน จึงส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลทีเดียว เมื่อเสร็จแล้วจึงจัดรวบรวมเป็นรายงาน หรือสรุปผลอีกทีหนึ่ง วิธีการประมวลผลแบบนี้ทำง่าย ประหยัด และตรงไปตรงมา แต่อาจจะช้าไปบ้าง เพราะต้องรอให้ข้อมูลเรียบร้อยก่อน ตรงกันข้ามกับการประมวลผลแบบเชื่อมตรง (on line proessing) ซึ่งหมายถึงการที่เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูลดู on line processing ประกอบ |
computer program | โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์หมายถึง คำสั่งคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง ๆ ที่เขียนขึ้นเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาซี (C) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาเบสิก (BASIC) หรือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ฯ คำ "โปรแกรม" นี้ อาจจะเรียกเป็นชื่ออื่นก็ได้ เช่น ซอฟต์แวร์ (software) หรือ แอพพลิเคชัน (application) โปรแกรมนั้น แบ่งได้เป็นหลายประเภท ประเภทแรกคือประเภทที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเองเพื่อให้ตรงกับความต้องการ กับอีกประเภทหนึ่งมีคนทำสำเร็จรูปไว้ขาย เช่น โปรแกรมสำหรับวาดภาพ (graphics) โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) โปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) นอกจากนั้น ยังมีโปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีบางส่วนติดตั้งมาจากโรงงานที่ผลิตเลย และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่จะทำหน้าที่เหมือนแม่บ้านคอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานให้ประสานกัน สรุปว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทุกอย่าง แต่คนเขียนคำสั่งต้องเข้าใจขั้นตอน วิธี (algorithm) และภาษาที่จะใช้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถเขียนสั่งเครื่องให้ทำงานได้ |
linus | (ลีนุส) ลีนุส ทรอวัลด์ ชาวฟินแลนด์ เป็นผู้เขียนแก่นของระบบปฏิบัติการลินุกซ์ และดูแลระบบปฏิบัติการลินุกซ์อยู่ในปัจจุบัน |
linus torvald | (ลีนุส ทรอวัลด์) ลีนุส ทรอวัลด์ ชาวฟินแลนด์ เป็นผู้เขียนแก่นของระบบปฏิบัติการลินุกซ์ และดูแลระบบปฏิบัติการลินุกซ์อยู่ในปัจจุบัน |
multifinder | มัลติไฟน์เดอร์หมายถึง ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ (operating system) ของเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชในการเข้าสู่แฟ้มข้อมูล |
multiuser system | ระบบหลายผู้ใช้หมายถึง โปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการที่ยอมให้มีผู้ใช้ได้มากกว่าหนึ่งคน ในเวลาเดียวกัน เช่น การจัดข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้ใช้หลายคนสามารถเรียกหาได้พร้อม ๆ กันอย่างในระบบเครือข่าย (network) เป็นต้น |
executive program | โปรแกรมกระทำการหมายถึง โปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล หรือควบคุมการกระทำการ (execution) ของคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ดูแลการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล (input/output unit) การดำเนินการและกำหนดการใช้หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำ (memory unit) ให้ทำงานให้สอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบทำงานแบบหลายชุดคำสั่ง หรือระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (multiprogramming) ชุดคำสั่งชุดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ (operating system) มีหน้าที่หลักในการดูแลไม่ให้การประมวลผล โปรแกรมทีละหลาย ๆ โปรแกรม เกิดความสับสนกัน มีความหมายเหมือน supervisor |
exit | (เอค'ซิท,เอค'ซิท) n. ทางออก,ประตูฉุกเฉิน,การจากไป,การลงจากเวที,การตาย. vi. ออกไป,จากไป,ลงจากเวที,ตาย. -make one's exit ออกไป,จากไป, Syn. outlet, ออกทางออกหมายถึงคำสั่งที่ผู้ใช้โปรแกรมใช้ เมื่อต้องการหยุดหรือเลิกใช้โปรแกรมนั้นเพื่อกลับออกไปสู่ระบบปฏิบัติการ (operating systems) หลังจากที่ใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมต่าง ๆ ของแมคอินทอชมักจะใช้คำว่า Quit แทน ซึ่งก็มีความหมายเหมือนกัน ในระบบวินโดว์ของพีซี ทุกโปรแกรมจะมีคำสั่งนี้ไว้ให้เลือกใต้เมนู File ซึ่งเป็นคำสั่งกลับออกไปยังระบบวินโดว์นั้นเอง |
file name | ชื่อแฟ้ม (ข้อมูล) แฟ้มข้อมูลก็ดี โปรแกรมหรือชุดคำสั่งก็ดี จะต้องมีชื่อที่ ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ได้เมื่อ ต้องการ เรียกใช้ระบบปฏิบัติการแต่ละระบบ จะมีข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลไว้ เป็นต้นว่า ระบบดอสและวินโดว์ มีข้อกำหนดว่า ชื่อของแฟ้ม ข้อมูล จะต้องยาวไม่เกิน 8 ตัวอักขระ (ตัวอักษรหรือตัวเลข) ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ต้องไม่มีช่องว่าง ฯ และที่สำคัญที่สุด คือตั้งชื่อเป็นภาษาไทยไม่ได้โดยเด็ดขาด นอกจากนั้น อาจจะต้องมีนามสกุล (filetype) ซึ่งต้องประกอบด้วย 3 ตัวอักษร ส่วนระบบของแมคอินทอช มีข้อจำกัดน้อยกว่านั้น มาก เช่น จะใช้ภาษาไทยก็ได้ |
filter | (ฟิล'เทอะ) n. ที่กรอง,กระดาษกรอง,สารที่ใช้กรอง,บุหรี่ก้นกรอง. vt. กรองออก,กรอง vi. กรอง. adj. เกี่ยวกับบุหรี่ก้นกรอง., See also: filterer n., Syn. strainer,sieve,sift ตัวกรองหมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปแบบ (format) การเก็บข้อมูลหรือภาพให้ เป็นรูปแบบที่ต้องการใช้ ส่วนมากโปรแกรมนี้จะมีแทรกอยู่ในโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกมการจัดพิมพ์ ฯ ที่มักจะมีการโอนแฟ้มข้อมูล ประเภทอื่น เช่น จากโปรแกรม dBASE หรือ Lotus เข้ามา ถ้าไม่มีตัวกรองเตรียมไว้ ก็จะโอนเข้ามา ไม่ได้ นอกจากนั้น ยังเป็นคำสั่งในระบบปฏิบัติการ คำสั่งหนึ่งที่สั่งให้ประมวลผล ข้อมูลเสียก่อนที่จะทำอย่างอื่นต่อไป ตัวกรองของระบบดอส จะประกอบด้วยคำสั่ง More, Find, และ Sort คำสั่ง More เป็นคำสั่งให้แสดงผลไปเรื่อย ๆ จอภาพ ก็จะเลื่อนไปเรื่อย ๆ เพื่อแสดงผลต่อไปจนกว่าจะหมด find เป็นคำสั่งให้หาแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ และ sort ก็เป็น คำสั่งให้เรียงลำดับแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกี (ASCII) |
os/2 | โอเอส/ทูหมายถึง เครื่องหมายการค้าของผลิตภัณฑ์ของบริษัทไอบีเอ็ม และบริษัทไมโครซอฟต์ ย่อมาจากคำเต็มว่า operating system II ระบบปฏิบัติการชุดนี้สร้างขึ้นมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซี |
p-code | รหัสพีหมายถึง รหัสเทียม (pseudocode) ที่ใช้กับระบบปฏิบัติการพี (P operating system) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นเก่ารุ่นหนึ่ง รหัสพีนี้จะใช้ได้กับพีซีเกือบทุกยี่ห้อที่ใช้ระบบปฏิบัติการพี บัดนี้ไม่มีใครใช้กันแล้ว ทั้งระบบปฏิบัติการพี และรหัสพี |
finder | (ไฟ'เดอะ) n. ผู้ค้นหา,สิ่งที่ใช้ค้นหา,กล้องโทรทรรศน์,กล้องส่องทางไกล,กล้องดูภาพ,เครื่องวัด,เครื่องตรวจสอบ ตัวหาเป็นชื่อโปรแกรมที่อยู่ในระบบปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช (ดูใน System Folder) ที่ทำหน้าที่จัดการ ในเรื่องสัญรูป (icon) การแสดงรายการต่าง ๆ ตลอดถึงการแสดงวินโดว์ การคัดลอก การย้าย และการลบแฟ้มข้อมูล หากไม่มี โปรแกรมนี้ การทำงานจะช้ากว่านี้ มาก เครื่องแมคอินทอช รุ่นใหม่ ๆ จะแสดงเป็นเมนูดัง ที่เห็นในภาพข้าง ๆ |
ibm pc | ไอบีเอ็ม พีซีเป็นชื่อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่บริษัทไอบีเอ็ม เริ่มผลิตออกสู่ตลาดมาตั้งแต่ ค.ศ.1981 ก่อนหน้านี้ บริษัทไอบีเอ็มจะผลิตแต่เครื่องขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เมนเฟรม (mainframe) คำ PC นั้นย่อมาจาก personal computer ในปัจจุบัน คำพีซีกลายเป็นคำที่หมายถึงไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้ออะไรก็ได้ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการเดียวกับไอบีเอ็ม บางทีก็เรียกว่า "เทียบเคียงกับไอบีเอ็ม" หรือ "IBM compatibles" |
jcl | (เจซีแอล) ย่อมาจาก job control language ที่แปลว่า ภาษาควบคุมงาน หมายถึง คำสั่งที่จะกำหนดระบบการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยติดต่อผ่านทางระบบปฏิบัติการ (operating system) ว่า จะทำงานต่าง ๆ อย่างไร ใช้รหัสใดเพื่อสื่อสารให้ระบบปฏิบัติการควบคุมการทำงานให้ อาจจะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การเรียกหาแฟ้มข้อมูลบางแฟ้ม รวมทั้งการใช้อุปกรณ์รับข้อมูลหรืออุปกรณ์แสดงผลชนิดใด |
job control language | ภาษาควบคุมงานใช้ตัวย่อว่า JCL หมายถึง คำสั่งที่จะกำหนดระบบการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยติดต่อผ่านทางระบบปฏิบัติการ (operating system) ว่า จะทำงานต่าง ๆ อย่างไร ใช้รหัสใดเพื่อสื่อสารให้ระบบปฏิบัติการควบคุมการทำงานให้ อาจจะเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การเรียกหาแฟ้มข้อมูลบางแฟ้ม รวมทั้งการใช้อุปกรณ์รับข้อมูลหรืออุปกรณ์แสดงผลชนิดใด |
linux | (ลีนุกซ์) ระบบปฏิบัติการคล้ายระบบยูนิกซ์ (UNIX like operating system) ของคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง แก่นของระบบถูกเขียนขึ้นโดย ลีนุส ทรอวัลด์ และเขาได้ทำการเผยแพร่ไปทางอินเตอร์เน็ต จนเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน สามารถแจกจ่ายทำซ้ำได้โดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ ใช้กันมากในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ใช้งานร่วมกันหลายราย (multiusers) มี่โปรแกรมสำเร็จรูปจำนวนมากที่เขียนภายใต้ระบบนี้ ดู DOS, UNIX, GUI, Linus, Linus Torvald ประกอบ |
partition | (พาร์ทิช'เชิน) n. การแบกแยก vt. แบ่ง,แยก,ส่วนเก็บระบบปฏิบัติการหมายถึง ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่กันเอาไว้เพื่อใช้เก็บระบบปฏิบัติการ (operating system) โดยเฉพาะ |
portable operating system | ใช้ตัวย่อว่า POSIX (อ่านว่า โพสซิกส์) เป็นระบบปฏิบัติการ UNIX รุ่นหนึ่ง ที่สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE) เป็นผู้พัฒนาขึ้น |
posix | (โพสซิกส์) ย่อมาจาก portable operating system interface for UNIX เป็นระบบปฏิบัติการ UNIX รุ่นหนึ่ง ที่สถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE) เป็นผู้พัฒนาขึ้น |
lost cluster | ส่วนตกค้างหมายถึง ส่วนของแฟ้มข้อมูลที่ยังเหลือค้างอยู่ในจานบันทึก แม้ว่าแฟ้มตาราง แสดงรายการข้อมูลจะไม่บ่งบอกว่ามีเหลืออยู่ก็ตาม การที่เป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะในขณะที่มีการคัดลอกแฟ้มข้อมูลลงไปในแผ่นจานบันทึก ไฟเกิดตก แต่บางทีก็หาสาเหตุไม่พบ โดยปกติ เราอาจใช้คำสั่ง Chkdsk/F ซึ่งเป็นคำสั่งในระบบปฏิบัติการดอส สั่งลบส่วนที่เหลือออกให้หมด จะได้มีที่ว่างไว้เก็บแฟ้มอื่นได้ |
microsoft disk operating | ใช้ตัวย่อว่า MS-DOS (อ่านว่า เอ็มเอสดอส) เป็นชื่อระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีที่บริษัทไมโครซอฟต์เป็นผู้ผลิตขึ้น และได้พัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เรื่อย ๆ จนปัจจุบันเป็นรุ่น (version) 6.21 แล้ว รุ่นใหม่นี้สามารถป้องกันไวรัสได้ถึงกว่า 8,000 ชนิด ไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม และเครื่องเทียบเคียงไอบีเอ็ม (IBM compatibles) เกือบทั้งหมดใช้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS นี้ (ระบบปฏิบัติการของบริษัทไอบีเอ็มเอง มีชื่อเรียกว่า IBM DOS แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่า MS-DOS) |
ms-dos | เอ็มเอสดอสย่อมาจากคำว่า Microsoft disk operating system เป็นชื่อระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีที่บริษัทไมโครซอฟต์เป็นผู้ผลิตขึ้น และได้พัฒนาให้ดีขึ้นอยู่เรื่อย ๆ จนปัจจุบันเป็นรุ่น (version) 6.21 แล้ว รุ่นใหม่นี้สามารถป้องกันไวรัสได้ถึงกว่า 8,000 ชนิด ไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม และเครื่องเทียบเคียงไอบีเอ็ม (IBM compatibles) เกือบทั้งหมดใช้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS นี้ (ระบบปฏิบัติการของบริษัทไอบีเอ็มเอง มีชื่อเรียกว่า IBM DOS แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่า MS-DOS) |
nos | (นอส) ย่อมาจาก network operating system (ระบบปฏิบัติการเครือข่าย) เป็นชื่อซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทำระบบข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) ซึ่งจะต้องประกอบด้วย เครื่องบริการแฟ้ม (server) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่เก็บโปรแกรมและแฟ้มข้อมูลที่จะใช้ร่วมกัน และซอฟต์แวร์ที่จัดการเกี่ยวกับสถานีงาน (work station) เพื่อจัดการเกี่ยวกับการติดต่อโต้ตอบระหว่างเครื่องบริการแฟ้ม กับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายด้วย |
os | (โอเอส) ย่อมาจาก operating system (ระบบปฏิบัติการ) หมายถึง ซอฟต์แวร์ระบบ (systems software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด รวมทั้งการปฏิบัติงานของโปรแกรมด้วย เปรียบเสมือนเป็นแม่บ้าน ที่คอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานประสานกัน ระบบปฏิบัติการของโมโครคอมพิวเตอร์ จะเรียกว่า ระบบปฏิบัติการแบบใช้จาน (disk operating systemหรือที่ใช้ตัวย่อว่า DOS) ที่มีชื่อโด่งดังอยู่ในขณะนี้ ก็คือ MS DOS (ใช้กับพีซี) และ System 8 (ใช้กับแมคอินทอช) หลังจากดอสแล้ว ก็มานิยมใช้ระบบวินโดว์ (Windows) แทน ระบบเหล่านี้ได้รับการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เช่น ขณะนี้ ในขณะที่แมคใช้ System 8 หรือ 8.5 พีซีกำลังนิยมใช้ วินโดว์ 95 และ98 |
pararell computer | คอมพิวเตอร์งานขนานหมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ทำงานทางตรรกะ หรือทางคณิตศาสตร์หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจาก คอมพิวเตอร์นั้นมีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หลายตัว แต่ละตัวทำงานแต่ละอย่าง และสามารถทำไปพร้อม ๆ กันได้ โดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) ทำหน้าที่ดูแลให้ทำงานประสานกันดู serial computer เปรียบเทียบ |
pc-dos | (พีซี ดอส) ย่อมาจาก personal computer disk operating system หมายถึง ระบบปฏิบัติการแบบใช้จาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือไมโครคอมพิวเตอร์ ลักษณะและวิธีใช้ก็เหมือน ๆ กับ MS DOS ที่บริษัทไมโครซอฟต์นำมาดัดแปลงจนใช้กันทั่วไปนั่นเอง ปัจจุบัน พีซีดอสได้มีการพัฒนาไปมากแล้ว แต่พอวินโดว์ 95 เป็นที่นิยม ระบบดอสก็ดูเหมือนจะไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นพีซีดอส หรือเอ็มเอสดอสดู MS DOS ประกอบ |
port | (พอร์ท) n. ท่าเรือ,เมืองท่า,ท่า,ท่าอากาศยาน,ท่าด่าน ,ช่องทางเข้า/ออกช่องทาง1. หมายถึง ช่องสำหรับเสียบสายเคเบิลที่อยู่ด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ถ้าไม่เป็นแบบอนุกรม (serial) ก็จะเป็นแบบขนาน (pararell) 2. การที่ทำให้โปรแกรมที่ใช้ระบบปฏิบัติการหนึ่ง ไปใช้กับอีกระบบปฏิบัติการหนึ่ง ได้ ทั้ง ๆ ที่ในตอนแรก ผู้เขียนโปรแกรมไม่ได้ตั้งใจให้ใช้กับระบบปฏิบัติการนั้น, Syn. harbour |
postscript | (โพสทฺ'สคริพทฺ) n. ปัจฉิมลิขิต,ภาคผนวก,ภาพเสริมท้าย,คำเสริม ท้าย,โพสต์สคริปต์ เป็นชื่อภาษาที่ใช้ในการจัดหน้าของระบบอะโดบี (Adobe system) ใช้กับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) หรือหน่วยแสดงผลที่มีความละเอียดสูงมาก ๆ การที่จะใช้ภาษาโพสต์สคริปต์ได้ จำเป็นต้องมีชอฟต์แวร์ตัวนี้ (PostScript printer driver) ใน โปรแกรมที่ใช้ หรือในระบบปฏิบัติการ ข้อดีอย่างยิ่งก็คือ สามารถทำงานจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop publishing) ได้ อันที่จริง การสร้างหรือออกแบบงานพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นงานแผ่นพับ รายงานประจำสัปดาห์ ใบปลิว ใบโฆษณา ฯ เราสามารถ ใช้คอมพิวเตอร์ธรรมดาออกแบบก่อนได้ แล้วส่งไปพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์ชั้นดี ซึ่งจะทำให้ผลงานออกมาสวย และมีความคมชัดเหมือนกับเครื่องพิมพ์ใหญ่ ๆ |
printer driver | โปรแกรมขับเครื่องพิมพ์หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นล่ามแปลความระหว่างระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือโปรแกรมการใช้งาน กับแบบหรือชนิดของเครื่องพิมพ์ที่คอมพิวเตอร์จะสั่งให้พิมพ์ ระบบปฏิบัติการบางระบบจะมีซอฟต์แวร์ส่วนนี้ไว้ให้ในตัว แต่ถ้าเป็นระบบดอส แต่ละโปรแกรมต้องติดตั้ง (install) ซอฟต์แวร์ส่วนนี้เอง (ขึ้นอยู่กับว่า จะใช้เครื่องพิมพ์ยี่ห้ออะไร) |
privileged instruction | คำสั่งเอกสิทธิ์หมายถึง คำสั่งภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งจำกัดโปรแกรมต่าง ๆ ไม่ให้ทำงานผิดแนวทาง โดยปกติ คำสั่งเอกสิทธิ์จะประกอบด้วย คำสั่งข้อจำกัดการใช้ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยรับข้อมูลเข้า หน่วยแสดงผล การป้องกันหน่วยความจำ การหยุดชะงักการทำงานของเครื่อง และปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุม และการกำหนดเวลา คำสั่งนี้ผู้ใช้เครื่องธรรมดาไม่มีสิทธิใช้ และจะทำงานได้เฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะการใช้ระบบปฏิบัติการ (operating system mode) |