Fault Plane | ระนาบรอยเลื่อน หน้าประกบของหินสองฟากรอยเลื่อนปรากฏ เป็นหน้าเรียบพอสมควร ระหว่างหน้าประกบ มักมีเศษหินที่ครูดไถกันและกันประจุอยู่เต็มช่องว่างจนวัดได้ว่าระนาบ นี้มีแนวระดับไปทิศใด และมีแนวเทรวมทั้งมุมเทเท่าใด เมื่อทราบแล้ว ก็สามารถติดตามและกำหนดขอบเขตของระนาบได้ ถึงแม้จะมีสิ่งอะไรปกคลุมจนมองไม่เห็น [สิ่งแวดล้อม] |
Plane | ระนาบ [TU Subject Heading] |
circle | วงกลม, เซตของจุดบนระนาบซึ่งแต่ละจุดอยู่ห่างจากจุดคงที่เป็นระยะทางเท่ากัน จุดคงที่นี้เรียกว่า จุดศูนย์กลางของวงกลม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Disconformity | รอยชั้นไม่ต่อเนื่องคงระดับ รอยชั้นไม่ต่อเนื่องที่มีระนาบชั้นหินที่อยู่ เหนือและใต้ รอยต่อมีแนวขนานกัน ซึ่งแสดงถึงการขาดช่วงในลำดับชั้น ของหินชั้น โดยทั่วไปช่วงที่ขาดตอนไปนั้น เกิดเนื่องจากการกร่อน หรือบางครั้งไม่มีการทับถม ปกติจะสังเกตเห็นได้จากรอยขรุขระ ของผิวของการกร่อน ซึ่งมีมากพอที่จะทำให้เห็นเป็นลักษณะสูง ๆ ต่ำ ๆ เช่น รอยชั้นไม่ต่อเนื่องที่หินชุดเก่ายังอยู่ในแนวนอนในช่วงที่มีการกร่อน หรือช่วงที่เปลือกโลกมีการแยกตัวและจมตัวลงโดยไม่เกิดการเอียงเทหรือเลื่อน เหลื่อม [สิ่งแวดล้อม] |
graph (of a relation) | กราฟ (ของความสัมพันธ์), เซตของจุดในระนาบซึ่งแต่ละจุดแทนคู่อันดับในความสัมพันธ์นั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hyperbola | ไฮเพอร์โบลา, เซตของจุดทุกจุดในระนาบ ซึ่งผลต่างของระยะทางจากจุดใด ๆ ในเซตไปยังจุดคงที่(จุดโฟกัส) 2 จุด บนระนาบมีค่าคงตัว ซึ่งมากกว่าศูนย์ แต่น้อยกว่าระยะห่างระหว่างจุดคงที่ทั้งสอง ดูรูป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
imaginary axis | แกนจินตภาพ, แกนตั้งของระนาบเชิงซ้อน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Overthrust Fault | รอยเลื่อนไถลทับ 1. รอยเลื่อนย้อนที่มีค่ามุมเทของระนาบรอยเลื่อนเท่ากับ หรือน้อยกว่า 10 องศา มวลหินจะเคลื่อนตัวไปได้หลายกิโลเมตร 2. ใช้เรียกรอยเลื่อนที่มีมวลหินด้านบนของระนาบ รอยเลื่อนเคลื่อนที่ยื่นล้ำออกไปจากมวลหินด้านล่าง [สิ่งแวดล้อม] |
Overturned Folds | ชั้นหินคดโค้งตลบทับ ชั้นหินคดโค้งที่มีระนาบแนวแกนเอียง และส่วนข้างทั้งสองเทไปทางเดียวกันแต่มักมีมุมเทต่างกัน [สิ่งแวดล้อม] |
polarization | โพลาไรเซชัน, กระบวนการที่จำกัดให้คลื่นตามขวางสั่นในระนาบเดียว เช่น โพลาไรเซชันของแสง คือ กระบวนการที่จำกัดให้สนามไฟฟ้าของคลื่นแสงสั่นในระนาบเดียว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
polaroid | โพลารอยด์, แผ่นโปร่งใสที่จะทำให้แสงที่ผ่านออกไปมีระนาบเดียว เรียกว่า แสงโพลาไรซ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
pyramid | พีระมิด, รูปทรงที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใด ๆ และมีด้านอื่น ๆ เป็นรูปสามเหลี่ยม มีจุดยอด(ซึ่งไม่อยู่บนระนาบเดียวกับฐาน)ร่วมกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Recumbent Fords | ชั้นหินคดโค้งนอนทับ ชั้นหินคดโค้งที่มีระนาบแนวแกนอยู่ในแนวนอน [สิ่งแวดล้อม] |
Strike-Slip Fault | รอยเลื่อนตามแนวระดับ รอยเลื่อนที่มีการเคลื่อนขนานกับแนวระดับของ รอยเลื่อน ปกติระนาบรอยเลื่อนจะตั้งชัน [สิ่งแวดล้อม] |
symmetry | สมมาตร, ลักษณะรูปร่างของวัตถุหรือรูปภาพซึ่งเมื่อแบ่งด้วยระนาบหรือเส้นหรือจุดอ้างอิงแล้วจะได้สองซีกซึ่งมีรูปร่างเหมือนกันแต่กลับกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
quadrant | ควอดรันต์ (จตุภาค), พื้นที่ในระนาบที่แบ่งโดยแกน X และแกน Y แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่อยู่ทางขวาของแกน Y และเหนือแกน X เรียกว่าควอดรันต์ที่ 1 ส่วนที่อยู่ทางซ้ายของแกน Y และเหนือแกน X เรียกว่าควอดรันต์ที่ 2 ส่วนที่อยู่ทางซ้ายของแกน Y และใต้แกน X เรียกว่าควอดรันต์ที่ 3 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
rectangular coordinate system | ระบบพิกัดฉาก, ระบบที่ประกอบด้วยแกนอ้างอิง 2 แกน ตั้งได้ฉากกันซึ่งเรียกว่า แกน X และแกน Y (หรือ ประกอบด้วยแกนอ้างอิง 3 แกน ตั้งได้ฉากซึ่งกันและกัน เรียกแกน X แกน Y และแกน Z) จุดที่ตัดกันของแกน X แกน Y (และแกน Z) เรียกจุดกำเนิด และ ตำแหน่งของจุดในระนาบ คือ ตำแหน่งของจุด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
torque | ทอร์ก, ปริมาณที่ทำให้เกิดการหมุนของวัตถุอันเนื่องมาจากแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุไม่ผ่านศูนย์กลางมวล ทอร์กเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีทิศทางตั้งฉากกับระนาบการหมุนของวัตถุ โดยทิศทางของทอร์กจะพุ่งออกตั้งฉากกับระนาบการหมุนเมื่อวัตถุหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา และทิศทางของทอร์ก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
translation | การเลื่อนขนาน, การเลื่อนขนานบนระนาบเป็นการแปลงทางเรขาคณิตที่มีการเลื่อนจุดทุกจุดไปบนระนาบตามแนวเส้นตรงในทิศทางเดียวกันและเป็นระยะทางที่เท่ากันตามที่กำหนด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |