Bibliography | บรรณานุกรม [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Anthology | หนังสือรวมเรื่องAnthology หมายถึง หนังสือรวมเรื่องหรือส่วนที่ตัดตอนออกมาจากงานเขียนของผู้แต่งคนเดียวหรือ ผู้แต่งหลาย ๆ คนที่คัดเลือกมาสำหรับการจัดพิมพ์ในฉบับเดียวหรือในชุดเดียว ดังนั้น จึงมีเนื้อหาหลาย ๆ เรื่องรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน โดยไม่ได้มีเนื้อหาต่อเนื่องกันเลย เช่น หนังสือรวมบทความ หนังสือรวมงานวิจัย หนังสือรวมเรื่องสั้น เป็นต้น หนังสือรวมเรื่องมักถูกจำกัดที่รูปแบบของวรรณกรรมหรือประเภทของหนังสือ (เช่น เรื่องสั้น บทละคร ร้อยกรอง) หรือประเภทของผู้แต่ง ในบัตรรายการ อาจลงรายการจำแนก (Analytical entry) ให้กับงานเขียนที่จัดพิมพ์ในแบบหนังสือรวมเรื่อง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทราบ หรือค้นหาเนื้อหาของสิ่งพิมพ์แบบรวมเรื่องได้ ส่วนรายการออนไลน์ งานเขียนของผู้แต่งแต่ละบุคคลจะจัดทำรายการอยู่ในรายการบรรณานุกรม (Bibliographic record) ในเนื้อหาที่สามารถค้นหาเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ได้โดยใช้คำสำคัญในการสืบค้น [บรรณารักษ์และสารสนเทศศาสตร์] |
Online bibliographic searching | การค้นทางบรรณานุกรมแบบออนไลน์ [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Shelf list card | บัตรแจ้งหมู่, บัตรแจ้งหมู่หนังสือบัตรแจ้งหมู่หนังสือ หรือ บัตรแจ้งหมู่ (Shelf list card หรือ Shelflist card) คือ บัตรมี่ลักษณะเดียวกับบัตรหลักหรือบัตรยืนพื้น กล่าวคือ จะมีข้อมูลหรือรายละเอียดทางบรรณานุกรมเหมือนกันทุกประการ แต่มีการเพิ่มรายการทะเบียนวัสดุสารสนเทศไว้ที่ด้้านล่างซ้ายของบัตร และอาจเพิ่มรายการเกี่ยวกับการไดัรับ และ/หรือ ราคาไว้ที่ด้านหลังบัตร
|
Tag | เขตข้อมูลเขตข้อมูล เป็นรหัสประกอบด้วยตัวเลข 3 ตัว ใช้ในการลงรายการทางบรรณานุกรมที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ หรือ MAchine-Readable Cataloging (MARC) ซึ่งเป็นแต่ละเขตข้อมูลจะเป็นตัวบ่งบอกข้อมูล แบ่งเป็น 10 กลุ่ม
|
Tracing | แนวสืบค้นหมายถึง คำ หรือกลุ่มคำ ฯลฯ ที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบว่า ทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆ สามารถเข้าถึงได้ด้วยรายการใดบ้าง นอกเหนือจากรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นตัวแทนหรือข้อมูลทางกายภาพของสารสนเทศนั้นๆ แนวสืบค้น จะเป็นข้อมูลที่บ่งบอกได้ว่ารายการนั้นมีบัตรครบชุดหรือรายการเพิ่มใดบ้าง แนวสืบค้น มักจะประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้
|
Unnumbered page | หน้ากระดาษที่ไม่มีเลขหน้าหน้ากระดาษของสิ่งพิมพ์ ต้นฉบับตัวเขียนหรือหน้ากระดาษที่ว่างเปล่าที่ไม่มีเลขหน้า จะไม่นับรวมอยู่ในการเรียงลำดับเลขหน้า ในการทำบัตรรายการของห้องสมุด จะไม่ให้ความสนใจกับลำดับของหน้าที่ไม่มีเลขหน้า และจะปัดทิ้งไปถ้าไม่ได้เป็นส่วนที่สำคัญของสิ่งพิมพ์หรือให้อ้างไว้ในหมายเหตุ (Note) แต่ถ้าต้องการสืบค้นจำนวนหน้าที่ไม่มีเลขหน้าให้แน่ใจ ให้นับจำนวนหน้าดังกล่าวและอธิบายไว้ในส่วนของลักษณะรูปร่าง (Physical description) เพื่อบันทึกในรายการบรรณานุกรมโดยใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ (ตัวอย่างเช่น [65] หน้า) ถ้าจำนวนหน้ายังไม่มีการสืบค้นให้แน่ใจให้ประมาณจำนวนหน้าดังกล่าวโดยใช้เลขอารบิคและเขียนว่า ca. นำหน้าโดยไม่ต้องใส่เครื่องหมายวงเล็บ (ตัวอย่างเช่น ca. 250 หน้า) ลำดับหน้าที่ไม่มีเลขหน้านี้จะไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับหน้าโฆษณา หน้าที่ว่างเปล่า ฯลฯ
|