analog computer | (แอน' นะลอกคอมพิวเตอร์) n. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่คำนวณด้วยสิ่งที่แทนตัวเลขได้ และมีการแสดงผลลัพธ์โดยทางภาพที่ปรากฏบนจอภาพ หน้าปัด หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัด ค่าต่าง ๆ ที่นำมาใช้กับการคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ เป็นค่าที่ต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิ ความดัน อย่างไรก็ตาม การใช้คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จำเป็นต้องใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ช่วย เพื่อจะนำมาเปรียบเทียบแทนค่าได้ ตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ ได้แก่ สไลด์รูล (slide rule) เทอร์โมแสตท (thermostat) เครื่องวัดความเร็วรถยนต์ เป็นต้น ความละเอียดถูกต้องในการคำนวณด้วยอะนาล็อกคอมพิวเตอร์มีน้อยกว่าดิจิตอลคอมพิวเตอร์มากดู digital computer เปรียบเทียบ |
ansi character set | ชุดตัวอักขระของแอนซีหมายถึง การกำหนดตัวอักขระต่าง ๆ ที่คอมพิวเตอร์ใช้ ที่สถาบันแอนซี (ANSI) เป็นผู้กำหนดไว้ โดยปกติจะประกอบด้วยตัวอักษรธรรมดาซึ่งมีอยู่ 26 ตัว (A-Z) และตัวเลข 10 ตัว (0-9) และยังมีสัญลักษณ์พิเศษอื่น ๆ เช่น % # @ เป็นต้น ดู ANSI ประกอบ |
base number | เลขฐานหมายถึง จำนวนสัญลักษณ์ที่ ใช้บอกว่าเลขในระบบนั้น ๆ ว่ามีสัญลักษณ์โดด ๆ กี่ตัว เช่น ระบบฐานสิบมีสัญลักษณ์ 10 ตัว ระบบฐานสิบหกมีสัญลักษณ์ 16 ตัว เป็นต้น ในการเขียน มักจะต้องบอกฐานกำกับไว้ด้วยเสมอ |
bulletin board system | ระบบการบริการเครือข่ายที่อนุญาตให้ผู้ใช้ที่มีผลประโยชน์ร่วมให้ส่งและรับข้อมูลหรือได้รับซอฟแวร์ เป็นต้น ระบบแผงข่าวศูนย์รวมข่าวใช้ตัวย่อว่า BBS (อ่านว่า บีบีเอส) เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บรายการ หัวข้อ หรือข้อมูลที่เป็นที่สนใจ ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจจะโทรศัพท์ผ่านเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อขอคัดลอกแฟ้มข้อมูล หรือสอบถามข้อความ ก็ได้ เช่น ระบบแผงข่าวของมหาวิทยาลัยก็อาจมีประกาศต่าง ๆ เช่น ประกาศรับสมัครนิสิตเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ ปฏิทินการศึกษา รายการกีฬา ฯ ผู้ใช้บริการจะต้องมีคอมพิวเตอร์และโมเด็มพร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับข้อมูลสำคัญในทางธุรกิจ จะมีการเรียกเก็บค่าบริการด้วย (มีใช้เฉพาะในระบบเครือข่าย) |
cache | (แค?) {cached,caching,caches} n. ที่ซ่อน,ที่เก็บ,สิ่งที่ซ่อนไว้ vt. ซ่อน,เก็บ หน่วยความจำแคชหมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำ (memory) ที่ถูกกันไว้เก็บข้อมูลที่จะต้องการใช้เป็นการชั่วคราว การเข้าถึงหน่วยความจำส่วนนี้จะทำได้เร็วกว่าธรรมดามาก ในการโฆษณาขายเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ มักจะมีบ่งบอกไว้ด้วยเสมอว่า หน่วยความจำแคชนี้มีขนาดความจุเท่าใด เช่น 256 K cache เป็นต้น เพราะเป็นการแสดงถึงประสิทธิภาพของเครื่องอย่างหนึ่ง บางทีเรียก cache memory |
computer operation | การดำเนินการคอมพิวเตอร์การปฏิบัติการคอมพิวเตอร์หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์ทำงานไปตามคำสั่ง เช่น อ่านข้อมูล นำข้อมูลไปเก็บ นำข้อมูลมาบวก ลบ ฯ เป็นต้น แล้วได้ผลตามที่ต้องการ |
concatenate | (คอนแคท 'ทะเนท) vt,เชื่อมเข้าด้วยกัน ต่อกันหมายถึง การเชื่อมโยงสายอักขระ (string) สองสายเข้าเป็นสายเดียวกัน เช่น เชื่อม "ABC" และ "DEF" เป็น "ABCDEF" เป็นต้น เราอาจนำมาใช้กับการนำแฟ้มข้อมูลมาต่อกันก็ได้ |
cursor key | แป้นควบคุมตัวชี้ตำแหน่งหมายถึง แป้นพิมพ์ที่สามารถเคลื่อนย้ายตัวชี้ตำแหน่งไปในทิศทางที่ต้องการ เช่นแป้นลูกศร, แป้น PageUp, PageDn เป็นต้น บางทีเรียก arrow keys หรือ cursor movement keys |
card code | รหัสบัตรหมายถึง รหัสที่ใช้กับบัตร มีลักษณะเป็นรูสี่เหลี่ยมที่เจาะในแต่ละคอลัมน์ของบัตร เช่น ถ้าเจาะตำแหน่งคอลัมน์ที่ 12 และ 1 หมายถึงอักษร A ถ้าเจาะที่ตำแหน่งคอลัมน์ที่ 0 และ 9 หมายถึงอักษร Z เป็นต้น รหัสนี้บางทีเรียกรหัสฮอลเลอริท (Hollerith code) เพราะดร. เฮอร์แมน ฮอลเลอริท (Dr. Hermann Hollerith) เป็นผู้กำหนดไว้ ดู card ประกอบ |
cd-rom | (ซีดีรอม) ย่อมาจาก compact disc read-only memory หมายถึง compact disc ที่เป็นฟอร์แมตสำหรับผลิตภัณฑ์มัลติมีเดีย และเก็บเสียง ภาพ และข้อความ เป็นต้น เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ จะมีหน่วยบันทึกที่อ่านซีดีรอมได้ ข้อมูลที่เก็บในสื่อชนิดนี้จะเป็นข้อความ ภาพ หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะทั่วไปก็เหมือนจานซีดีที่บรรจุเพลง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์ หรือประมาณ 400 เท่าของจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนมากนิยมใช้เก็บโปรแกรม หรือใช้เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ส่วนใหญ่จานบันทึกประเภทนี้ยังคงใช้อ่านได้อย่างเดียว (read only) การบันทึกข้อมูลลงยังต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ราคาอุปกรณ์นี้ยังค่อนข้างแพง |
composite video | สัญญาณวีดิทัศน์คอมโพสิตหมายถึง สัญญาณวีดิทัศน์ที่ใช้กับเครื่องรับโทรทัศน์ โดยปกติแล้ว ใช้สายไฟสายเดียว ตรงข้ามกับสัญญาณอื่น เช่น สัญญาณ RGB (Red Green Blue) ซึ่งจะใช้แต่ละสาย สำหรับแต่ละสี คือมีสายสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน เป็นต้น ฉะนั้น หากเราต้องการภาพ เลือน ๆ ให้ปรากฏบนจอภาพ เครื่องรับโทรทัศน์ของเรา ก็ทำได้โดยส่งสัญญาณนี้แทน |
computer network | ข่ายงานคอมพิวเตอร์เครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึงระบบการนำเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง หรือเครื่องปลายทาง (terminal) หลาย ๆ เครื่องมาทำงานร่วมกัน โดยอาจใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องร่วมกัน เช่น สื่อนำข้อมูลเข้า/ออก เครื่องพิมพ์ โมเด็ม (modem) เป็นต้น การทำงานเป็นเครือข่ายจะทำให้ดึงข้อมูลจากกันและกันมาใช้ หรือใช้ร่วมกันได้ |
data record | ระเบียนข้อมูลหมายถึง หน่วยหนึ่งของข้อมูลที่บันทึกไว้ในฐานหรือคลังข้อมูล โดยปกติ ระเบียนหนึ่งจะประกอบด้วยเขตข้อมูล (field) 1 เขตขึ้นไป เช่น ระเบียนของพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยเขตข้อมูล 10 เขต มี ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเข้าทำงาน เงินเดือนที่ได้รับ ตำแหน่งปัจจุบัน ฯ เป็นต้น ดู data field ประกอบ |
hollerith code | รหัสฮอลเลอริทหมายถึง รหัสที่ใช้กับบัตรที่ดร. เฮอร์แมน ฮอลเลอริท เป็นผู้กำหนดไว้ มีลักษณะเป็นรูสี่เหลี่ยมที่เจาะในแต่ละคอลัมน์ของบัตร เช่น ถ้าเจาะตำแหน่งคอลัมน์ที่ 12 และ 1 หมายถึงอักษร A ถ้าเจาะที่ตำแหน่งคอลัมน์ที่ 0 และ 9 หมายถึงอักษร Z เป็นต้น มีความหมายเหมือน card code |
home page | (โฮม' เพจ) n. หน้าแรกของข่าวสารบนองค์การ มหาวิทยาลัยหรือบุคคล เป็นต้น บนเครือข่ายWWW (World Wide Web) |
linotronic | (ลิโนโทรนิก) เป็นชื่อยี่ห้อเครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพสูงยิ่ง มีความคมชัด (resolution) สามารถพิมพ์ด้วยจำนวนจุดต่อนิ้วที่สูงมาก เช่น 1200 จุดต่อนิ้ว หรืออาจถึง 2400 จุดต่อนิ้ว เป็นต้น (ยิ่งมีจุดมากแสดงว่า มีความละเอียดมาก จะทำให้ดูคมชัดมาก |
memory resident program | โปรแกรมในหน่วยความจำหมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ส่วนที่เก็บเอาไว้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่เราไม่รู้ไม่เห็น และไม่สามารถเรียกมาดูได้ โดยมากเป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ต่าง ๆ เช่น โปรแกรมตัวขับเมาส์ (mouse driver) เป็นต้น โปรแกรมประเภทนี้บางทีเรียกว่า TSR (terminate and stay residnts) |
computer language | ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล |
facing pages | แสดงพร้อมกัน 2 หน้าหมายถึง การสั่งให้จอภาพแสดงสองหน้าพร้อมกัน โดย ปกติ จะแสดงหน้าที่เป็นเลขคี่ทางขวา หน้าที่เป็นเลขคู่ทาง ซ้าย เช่น จะแสดงหน้า 2 ทางซ้าย หน้า 3ทางขวาพร้อม ๆ กัน หน้า 4 ทางซ้าย หน้า 5 ทางขวาพร้อม ๆ กัน เป็นต้น (จะสั่งให้แสดงหน้า 1 ทางซ้ายและหน้า 2 ทางขวาพร้อมกัน ไม่ได้) โปรแกรมประเภทประมวลผลคำ (word processing) หรือโปรแกรมการจัดพิมพ์ (desktop publishing) จะมีคำสั่ง facing pages นี้ไว้ให้เลือก เพราะจะทำให้ดูการจัดหน้า ซ้ายและหน้าขวาพร้อม ๆ กันได้ |
nonvolatile memory | หน่วยความจำไม่ลบเลือนหมายถึง หน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ข้อมูลในนั้นจะไม่ลบหายไป แม้ว่าจะปิดกระแสไฟแล้วก็ตาม เช่น หน่วยความจำประเภทอ่านอย่างเดียว (ROM) เป็นต้น ดู memory ประกอบ |
numeric format | รูปแบบการเขียนตัวเลขหมายถึง รูปแบบการแสดงจำนวนเลขที่อ่านได้ เห็นได้ เราอาจแสดงจำนวนเลขได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น .25 หรือ 25% เป็นต้น รวมทั้งการเขียนเลขแบบต่าง ๆ อย่างที่ใช้ในโปรแกรมตารางจัดการ เช่น 1000, 1,000, 1,000.00 ฯ |
op code | รหัสดำเนินการย่อมาจาก operation code (แปลว่า รหัสดำเนินการ) หมายถึงส่วนของคำสั่งในภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาแอสเซมบลี (assembly language) ที่เป็นคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติ เช่น คำสั่งให้เครื่องบวกหรือลบ เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งของคำสั่งซึ่งเป็นตัวถูกดำเนินการ เรียกว่า operandดู operand เปรียบเทียบ |
field length | ความยาวเขตข้อมูลหมายถึงขนาดความยาวของเขตข้อมูล (field) ที่สามารถกำหนดได้ เช่นเขตข้อมูล "ชื่อ" อาจใช้ความยาวถึงขนาด 30 ตัวอักขระ ส่วนเขตข้อมูล "อายุ" อาจใช้เพียง 2 ตัวอักขระ เป็นต้น แฟ้มข้อมูล (file) แต่ละแฟ้มจะต้องกำหนดเขตข้อมูลที่ใช้ชื่อเดียวกันให้ยาวเท่ากัน เช่น ถ้าเป็นเขตข้อมูล "ชื่อ" ไม่ว่าจะชื่อสั้นหรือยาวเพียงใด ก็ต้องใช้เนื้อที่ 30 ตัว อักขระหมดทั้งแฟ้ม |
high level language | ภาษาระดับสูงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่ผู้เขียนไม่จำเป็นต้องรู้ถึงโครงสร้างภายในของเครื่องแต่อย่างใด ภาษาระดับสูงมีอยู่ด้วยกันหลายภาษา เช่น ภาษาซี (C) ภาษาเบสิก (BASIC) และภาษาปาสกาล (PASCAL) เป็นต้น ตรงข้ามกับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ซึ่งเรียกกันว่าเป็นภาษาระดับต่ำ ผู้เขียนจะต้องรู้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เสียก่อน จึงจะเขียนโปรแกรมเป็นภาษานั้นได้ อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์จะยังไม่สามารถเข้าใจภาษาระดับสูงนี้ได้ แต่จะต้องใช้ตัวแปล (compiler) จัดการแปลเสียก่อน จึงจะปฏิบัติตามคำสั่งได้ดู computer language ประกอบ |
integratd program | ชุดคำสั่งเบ็ดเสร็จหมายถึง โปรแกรมที่ผู้ผลิต ผลิตออกมาเป็นชุดเดียวกัน สามารถทำงานได้หลาย โดยเฉพาะงานสำนักงานทั่วไป ที่ใช้กันมาก ได้แก่ โปรแกรมการประมวลผลคำ ตารางจัดการ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร เป็นต้น โดยปกติโปรแกรมประเภทนี้จะทำงานแต่ละอย่างได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าต้องเสียเงินซื้อก็จะถูกกว่าไปจ้างเขาเขียน |
integrated software | ซอฟต์แวร์เบ็ดเสร็จส่วนชุดคำสั่งเบ็ดเสร็จหมายถึง โปรแกรมที่ผู้ผลิต ผลิตออกมาเป็นชุดเดียวกัน สามารถทำงานได้หลาย โดยเฉพาะงานสำนักงานทั่วไป ที่ใช้กันมาก ได้แก่ โปรแกรมการประมวลผลคำ ตารางจัดการ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร เป็นต้น โดยปกติโปรแกรมประเภทนี้จะทำงานแต่ละอย่างได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าต้องเสียเงินซื้อก็จะถูกกว่าไปจ้างเขาเขียน |
interpreted language | ภาษาที่แปลด้วยตัวแปลภาษาหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมที่คอมพิวเตอร์จะอ่านคำสั่งทีละคำสั่ง จัดการแปลให้แล้วปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆ ทันที ก่อนที่จะไปอ่านคำสั่งใหม่ เช่น ภาษา BASIC, LISP, PROLOG และ LOGO เป็นต้น การใช้ภาษาประเภทนี้ ที่ใช้จะรู้สึกทันใจกว่า เพราะรายงานผลได้ทันที ถ้ามีที่ผิด ก็จะได้แก้ไขได้เลย ภาษาเหล่านี้เป็นภาษาที่ใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่า Interpreter เป็นตัวแปล |
operation code | ใช้ตัวย่อว่า op code (อ่านว่า ออป โคด) หมายถึงส่วนของคำสั่งในภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาแอสเซมบลี (assembly language) ที่เป็นคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติ เช่น คำสั่งให้เครื่องบวกหรือลบ เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งของคำสั่งซึ่งเป็นตัวถูกดำเนินการ เรียกว่า operandดู operand เปรียบเทียบ |
such | (ซัชฺ) adj. เช่นนั้น,เช่นนี้,ดังนั้น,ดังนี้,นั้น,นั้น ๆ ,นั่น,แท้,จริง ๆ ,แน่นอน. pron. คนเช่นนี้,คนเช่นนั้น,สิ่งนี้,สิ่งนั้น, -Phr. (as such ดังนั้น,ดังนี้,เช่นนั้น เช่นนี้) -Phr. (such as เช่น ตัวอย่างเช่น) -Phr. (such and such เป็นต้น เป็นอาทิ) |
laser printer | เครื่องพิมพ์เลเซอร์หมายถึง เครื่องพิมพ์แบบหนึ่งที่ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการสร้างภาพและถ่ายทอดลงสู่กระดาษด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (ทำงานคล้ายเครื่องถ่ายเอกสาร) ความ เร็วของเครื่องพิมพ์เลเซอร์นั้นวัดกันเป็นหน้าต่อนาที (ppm) เช่น 10 หน้าต่อนาที เป็นต้น (เพราะพิมพ์ครั้งละหนึ่งหน้า) ส่วนคุณภาพของการพิมพ์นั้น วัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dpi) เช่น 600 จุดต่อ 1 นิ้ว ยิ่งมีจุดมาก แสดงว่ามีความละเอียดมาก ภาพจะคมชัดกว่าภาพที่มีจุดน้อยหรือมีความละเอียดน้อย ดู dot matrix printer เปรียบเทียบ |
near-letter quality | คุณภาพเกือบคมชัดใช้ตัวย่อว่า NLQ แปลตามตัวอักษรว่า เกือบเหมือนตัวพิมพ์ดีด ใช้เป็นคำอธิบายถึงคุณภาพของเครื่องพิมพ์ว่า มีคุณภาพเกือบคมชัด หรือใกล้เคียงตัวพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพ จะมองดูเหมือนการนำจุดมาเรียงกันให้เป็นรูปตัวอักษร ฉะนั้น เครื่องพิมพ์ชนิดที่มีจุดมาก ๆ ติด ๆ กัน จะทำให้ดูมีความคมชัด (high resolution) ตัวอักษรที่พิมพ์ออกมา จะดูสวยและประณีต เหมือนตัวพิมพ์ดีด การวัดคุณภาพของเครื่องพิมพ์ จึงวัดเป็นจำนวนจุดต่อนิ้ว เช่น 600 จุดต่อนิ้ว ย่อมดีกว่า 300 จุดต่อนิ้ว เป็นต้น (300 จุดต่อนิ้ว พอจะเรียกได้ว่า คุณภาพเกือบคมชัด) ดู printer และ letter quality ประกอบ |
neural network | เครือข่ายเส้นประสาทหมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเลียนแบบเส้นใยประสาทของมนุษย์ ที่เรียกว่า นิวโรน ในสมองมนุษย์ ซึ่งมีนับจำนวนล้าน ๆ ตัว การประมวลผลกิจกรรมต่าง ๆ จะออกมาในลักษณะแบบขนาน (ไม่ใช่แบบอนุกรม) หมายถึง ทำงานพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ได้คำตอบอันเดียว ทั้งนี้หมายถึง การที่ต้องสามารถทำงานที่สลับซับซ้อนมาก ๆ โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ได้เอง ฉะนั้นการที่เครือข่ายแบบนิวโรนนี้จะให้คำตอบได้ก็ต่อเมื่อมีการส่งปัญหาต่าง ๆ เข้าไปให้ลองทำมาก ๆ เครือข่ายแบบนี้จะเป็นประโยชน์ เฉพาะในงานประมวลผลงานบางประเภท เช่น เรื่องการประมวลผลเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นในตลาด หรือการหาความคล้ายคลึงระหว่างภาพหลาย ๆ ภาพ เช่น ลายนิ้วมือ เป็นต้น ดู artificial intelligence ประกอบ |
nlq | (เอ็นแอลคิว) ย่อมาจาก near letter quality (คุณภาพเกือบคมชัด) แปลตามตัวอักษรว่า เกือบเหมือนตัวพิมพ์ดีด ใช้เป็นคำอธิบายถึงคุณภาพของเครื่องพิมพ์ว่า สามารถพิมพ์ได้เกือบคมชัด หรือใกล้เคียงตัวพิมพ์ดีด เครื่องพิมพ์ที่มีคุณภาพ จะมองดูเหมือนการนำจุดมาเรียงกันให้เป็นรูปตัวอักษร ฉะนั้น เครื่องพิมพ์ชนิดที่มีจุดมาก ๆ ติด ๆ กัน จะทำให้ความคมชัด (high resolution) ตัวอักษรที่พิมพ์ออกมา จะดูสวยและประณีต เหมือนตัวพิมพ์ดีด การวัดคุณภาพของเครื่องพิมพ์ จึงวัดเป็นจำนวนจุดต่อนิ้ว เช่น 600 จุดต่อนิ้ว ย่อมดีกว่า 300 จุดต่อนิ้ว เป็นต้น (300 จุดต่อนิ้ว พอจะเรียกได้ว่า คุณภาพเกือบคมชัด) ดู printer และ letter quality ประกอบ |
non executable statement | ข้อความสั่งไม่ทำการหมายถึง คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ทำการใด ๆ แต่เป็นการแจ้งให้ตัวแปลชุดคำสั่ง (compiler) รับรู้ข้อความบางอย่างที่ต้องการแจ้งให้ทราบเท่านั้น เช่น คำสั่ง END เป็นต้น คำสั่งนี้เป็นเพียงต้องการแจ้งให้ทราบว่า จบโปรแกรมนั้น ๆ แล้วเท่านั้น นอกจากนั้น ก็อาจเป็นคำสั่งให้เตรียมที่ในหน่วยความจำบ้าง เตรียมจัดรูปแบบข้อมูลบ้าง ถ้าสั่งให้อ่านข้อมูลโดยใช้คำสั่ง Read คำสั่งนี้เป็นข้อความสั่งทำการ (excutable statement) เครื่องจะทำการทันทีที่พบคำสั่งนี้ แต่อ่านข้อมูลแล้วนำไปจัดเก็บในรูปแบบตามคำสั่ง FORMAT (ในภาษาฟอร์แทรน) คำสั่ง FORMAT ถือว่าเป็นข้อความสั่งไม่ทำการดู excutable statement เปรียบเทียบ |
on line processing | การประมวลผลแบบเชื่อมตรงหมายถึง การประมวลผลที่ทำโดยอุปกรณ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของตัวเครื่อง (เช่นเครื่องอ่านบัตร) หรืออุปกรณ์นั้นจะอยู่ห่างออกไปแต่สามารถติดต่อโดยตรงกับเครื่องได้ เช่น การประมวลผลโดยมีการสื่อสารระหว่างเครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัล (terminal) และหน่วยประมวลผลกลางโดยทางโทรศัพท์ หรือวิธีอื่น ๆ การทำเช่นนี้เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูล ซึ่งจะเข้าสู่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา เช่น ที่ใช้ในการส่งยานอากาศไปนอกโลก การถอนเงินในระบบเงินด่วน เป็นต้น ดู batch processing เปรียบเทียบ |
radix | (เร'ดิคซฺ) n.เลขฐานของระบบเลขหรือlogarithmsหรืออื่น ๆ ,ราก,รากศัพท์,สมุฎฐาน,มูลฐาน, จำนวนสัญลักษณ์ที่ใช้บอกว่าเลขในระบบนั้น ๆ ว่ามีสัญลักษณ์โดด ๆ กี่ตัว เช่น ระบบฐานสิบมีสัญลักษณ์ 10 ตัว ระบบฐานสิบหกมีสัญลักษณ์ 16 ตัว เป็นต้น ในการเขียน มักจะต้องบอกฐานกำกับไว้ด้วยเสมอและมีวิธีเขียนหลายแบบ (ถ้าเป็นเลขฐาน 10 จะไม่ต้องเขียนฐานกำกับ) เช่น101 (8) หมายความว่า 101 เป็นเลขฐานแปด (101) 2 หมายความว่า 101 เป็นเลขฐานสองมีความหมายเหมือน base numberดู number system ประกอบ pl. radices,radixes, Syn. root,a radical |
record | (เรค'เคิร์ด) n. บันทึก,การบันทึก,สำนวน,สิ่งที่บันทึกไว้,ประวัติ,เอกสาร,หลักฐานที่บันทึกหรือเก็บไว้,จานเสียง,แผ่นเสียง,เทปบันทึก vt.,vi. (รีคอร์ด') บันทึก,ลงบันทึก adj. เป็นบันทึก,เกี่ยวกับบันทึก,ยอดเยี่ยม,ทำลายสถิติ,ตีกว่าคนอื่น ๆ ทั้งหมด, -Phr. (on record เป็นที่รู้กัน) ระเบียนบันทึก1. หมายถึงหน่วยหนึ่งของข้อมูลที่บันทึกไว้ในฐานหรือคลังข้อมูลโดยปกติ ระเบียนหนึ่งจะประกอบด้วยเขตข้อมูล (field) 1 เขตขึ้นไป เช่น ระเบียนของพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยเขตข้อมูล 10 เขต มี ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเข้าทำงาน เงินเดือนที่ได้รับ ตำแหน่งปัจจุบัน ฯ เป็นต้น ดู field ประกอบ2. ในอีกความหมายหนึ่ง แปลว่า บันทึกเก็บในหน่วยความจำหรือในสื่อที่ใช้เก็บข้อมูลชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น จานบันทึก (ในภาษาอังกฤษ มักใช้คำว่า write แทนมากกว่า) |
resolution | (เรซซะลู'เชิน) n. ความแน่วแน่,ความเด็ดเดี่ยว,การยืนหยัด,การตัดสินใจแล้ว,มิติ,การลงมติ,การแก้ปัญหา,การยุบลงของส่วนที่บวมหรืออักเสบ ,ความคมชัดหมายถึง ความละเอียดของภาพ โดยจะนับจุดเล็ก ๆ ในภาพนั้น ยิ่งมีมากจุดต่อนิ้วก็ยิ่งแสดงว่าภาพนั้นมีความคมชัด เช่น อาจใช้วัดประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) ว่า สามารถพิมพ์ได้ 300 - 600 จุดต่อนิ้ว เป็นต้น ถ้าเป็นชนิดดีมากควรจะพิมพ์ได้ถึง 2,400 จุดต่อนิ้ว ส่วนความละเอียดของจอภาพ มักจะวัดทั้งความกว้างและยาว เช่น 320 X 200 แสดงว่าจุดมีขนาดใหญ่ แต่ถ้าเป็น 1240 X 800 แสดงว่าจุดมีขนาดเล็ก หมายความว่า ภาพคมชัดกว่า เมื่อใช้อธิบายถึงภาพสี คำ resolution ใช้บอกจำนวนสีที่สามารถแสดงได้ในแต่ละครั้ง ถ้าความคมชัดต่ำ จะแสดงสีได้ครั้งละมาก ๆ ซึ่งทำให้มีความรู้สึกเหมือนกับว่า ภาพนั้นมีความคมชัดมาก ภาพที่มีความคมชัดมากจริง ๆ จะแสดงสีได้น้อยสีในคราวเดียวกัน โดยปกติ มักใช้คำ high res และ low res เป็นคำย่อว่า ความคมชัดมากหรือน้อยดู high resolutution และ low resolution ประกอบ, Syn. resolve,determination |
secondary key | กุญแจรองในการสั่งค้นหาหรือเรียงลำดับข้อมูล จะต้องมีการกำหนดว่าจะใช้ตัวอักษรใด ข้อความใดเป็นตัวกำหนด ที่เรียกว่า " กุญแจ " (key) ตัวที่สำคัญเป็นอันดับแรก เรียกว่า "กุญแจหลัก" (primary key) ส่วนตัวสำคัญรองลงมา ก็เรียกว่า " กุญแจรอง " (secondary key) เช่น กำหนดให้อายุ 20 ปี เป็นกุญแจหลัก และเป็นชาย เป็นกุญแจรอง ดังนี้ก็หมายความว่า ต้องการหาชายที่มี 20 ปี เป็นต้น ดู primary key เปรียบเทียบ |
supercomputer | (ซุเปอร์คอมพิวเตอร์) n. คอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ ใหญ่กว่าขนาดใหญ่ธรรมดาที่เรียกว่าเมนเฟรม (main frame) มีสมรรถนะสูง ทำงานได้เร็วว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดาหลายเท่าตัว ใช้ในงานประมวลผลที่มีข้อมูลมาก และต้องการผลทันที เพื่อจะได้สั่งการต่อไป เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการส่งดาวเทียม หรือการส่งยานอวกาศ เป็นต้น บริษัทที่ผลิตซุเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีชื่อได้แก่ บริษัทเครย์ (Cray) |