Wollastonite | โวลลาสโทไนต์ แหล่ง - พบที่แถบเขาพระพุทธบาท สระบุรี ลพบุรี บริเวณสัมผัสของหินปูนกับหินแกรนิตหรือหินอัคนีชนิดอื่นตามภาคต่าง ๆ ของประเทศพบหลายแห่ง แถบแหล่งแร่แบบสัมผัสแถบถ้ำทะลุ จังหวัดยะลา ประโยชน์ - ใช้ในอุตสาหกรรมกระเบื้อง [สิ่งแวดล้อม] |
Augite | ออไจต์ แหล่ง - ประเทศไทย พบเป็นแร่ประกอบหินในหินอัคนี เช่น หินแอนดีไซต์ [สิ่งแวดล้อม] |
Dike | พนัง 1) พนังหินอัคนีที่ขวางตัวอยู่ตามชั้นหินหรือหินเดิมอื่น ๆ ของเปลือกโลก ซึ่งเกิดจากหินเหลวหรือหินหนืด (magma) ที่ถูกบีบอัดอยู่ภายใน และทะลักออกมา ตามรอยร้าวของผิวโลก แล้วแข็งตัวประจุอยู่ในรอยร้าวนั้น พนังหินนี้มักมีมุมสูงชัน ในขณะที่หินเหลวแลบขึ้นมานั้น ถ้าผ่านระหว่างชั้นของหินแต่ละชนิดที่มีรอยชั้นเป็นจุดอ่อน หินเหลวจะผ่านเข้าไปประจุอยู่ระหว่างชั้นหิน และเมื่อแข็งตัวแล้วจะกลายเป้นพนังหินอัคนีที่แทรกในชั้นหิน จึงเรียกว่า พนังแทรกชั้น (sill) 2) คันดินและทรายที่เสริมให้สูงขึ้นจากผิวดินเดิม เพื่อกั้นไม่ให้แม่น้ำหรือจากทะเล มหาสมุทรๆหลผ่านเข้ามาได้ เช่นการสร้างคันดินกั้นน้ำทะเลในประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อให้ท้องทะเลแห้ง ใช้ทำการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกได้ อนึ่ง ในกรณีที่เกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลัน อาจจะสร้างคันดินกั้นน้ำมิให้น้ำทำความเสียหายแก่ทรัพย์สินบ้านเรือนประชากร แถบฝั่งน้ำได้ โดยเอาทรายใส่กระสอบไปวางเรียงซ้อนสลับกันอาจช่วยลดอุทกภัยลงได้มาก [สิ่งแวดล้อม] |
Dyke | พนัง 1) พนังหินอัคนีที่ขวางตัวอยู่ตามชั้นหินหรือหินเดิมอื่น ๆ ของเปลือกโลก ซึ่งเกิดจากหินเหลวหรือหินหนืด (magma) ที่ถูกบีบอัดอยู่ภายใน และทะลักออกมา ตามรอยร้าวของผิวโลก แล้วแข็งตัวประจุอยู่ในรอยร้าวนั้น พนังหินนี้มักมีมุมสูงชัน ในขณะที่หินเหลวแลบขึ้นมานั้น ถ้าผ่านระหว่างชั้นของหินแต่ละชนิดที่มีรอยชั้นเป็นจุดอ่อน หินเหลวจะผ่านเข้าไปประจุอยู่ระหว่างชั้นหิน และเมื่อแข็งตัวแล้วจะกลายเป้นพนังหินอัคนีที่แทรกในชั้นหิน จึงเรียกว่า พนังแทรกชั้น (sill) 2) คันดินและทรายที่เสริมให้สูงขึ้นจากผิวดินเดิม เพื่อกั้นไม่ให้แม่น้ำหรือจากทะเล มหาสมุทรๆหลผ่านเข้ามาได้ เช่นการสร้างคันดินกั้นน้ำทะเลในประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อให้ท้องทะเลแห้ง ใช้ทำการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกได้ อนึ่ง ในกรณีที่เกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลัน อาจจะสร้างคันดินกั้นน้ำมิให้น้ำทำความเสียหายแก่ทรัพย์สินบ้านเรือนประชากร แถบฝั่งน้ำได้ โดยเอาทรายใส่กระสอบไปวางเรียงซ้อนสลับกันอาจช่วยลดอุทกภัยลงได้มาก [สิ่งแวดล้อม] |
Gineous Rock | หินอัคนี เนื้อหินหยาบเกืดจากการเย็นตัวของหินละลายใต้ พื้นโลก ประกอบด้วยแร่เฟลด์สปาร์ แร่ควอตซ์เป็นส่วนใหญ่ มีลักษณะแข็งแกร่ง [สิ่งแวดล้อม] |
Igneous Rock | หินอัคนี หินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืดใต้เปลือก โลก ไม่ว่าจะแข็งตัวอยู่ภายในเปลือกโลก หรือพุพ้นเปลือกโลก ออกมาแข็งตัวอยู่บนผิวโลกก็ตาม พวกแรกเรียกว่า หินอัคนีแทรกซอน (intrusive igneous rock) พวกหลังเรียกว่า หินอัคนีพุ (extrusive igneous rock)หินอัคนีแทรกซอนนั้น [สิ่งแวดล้อม] |
Magma | หินหนืด สารเหลวร้อนเกิดตามธรรมชาติอยู่ภายในโลก สามารถเคลื่อนตัวไปมาได้ในวงจำกัด อาจมีของแข็งเช่นผลึกและเศษหินแข็ง และ/หรือก๊าซ รวมอยู่ด้วยหรือไม่มีเลยก็ได้ เมื่อแทรกดันขึ้นมา หรือพุพุ่งออกสู่ผิวโลกแล้ว จะเย็นและแข็งตัวเกิดเป็นหินอัคนี [สิ่งแวดล้อม] |
Metamorphic Rock | หินแปร เป็นหินที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหินเดิม ซึ่งอาจจะเป็นหินอัคนีหรือหินชั้นก็ตามโดยได้รับความร้อน และความด้นจากภายในโลกทำให้หินเดิมแปรสภาพไป คืออาจจะทำให้ส่วนประกอบ หรือโครงสร้าง หรือรูปร่าง หรือเนื้อหินเปลึ่ยนแปลงไปได้ [สิ่งแวดล้อม] |
Nonconformity | รอยชั้นไม่ต่อเนื่องบนหินอัคนี รอยต่อของหินต่างชุด โดยหินชุดบนเป็นหินชั้น หินชุดล่างเป็นหินอัคนีระดับลึก (plutonic rock) [สิ่งแวดล้อม] |
obsidian | หินออบซิเดียน, หินอัคนีชนิดหนึ่งมีเนื้อละเอียดมาก มีสีดำ เป็นมันวาว เกิดจากลาวาเย็นตัวอย่างรวดเร็ว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Rock | หิน มวลของแข็งที่ประกอบด้วยแร่ชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หินอัคนี (igneous rock) หินชั้นหรือหินตะกอน (sedimentary rock) และหินแปร (metamorphic rock) [สิ่งแวดล้อม] |
Unconformity | รอยชั้นไม่ต่อเนื่อง รอยต่อของชั้นหินต่างชุดที่วางซ้อนกัน เกิดเนื่องจากชั้นหินชุดล่างซึ่งมีอายุแก่กว่าขาดหายไปช่วงใดช่วงหนึ่ง เพราะมีการกร่อนเป็นเวลานาน รอยชั้นไม่ต่อเนื่อง แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 1. รอยชั้นไม่ต่อเนื่องเชิงมุม (angular unconformity) 2. รอยชั้นไม่ต่อเนื่องคงระดับ (disconformity) 3. รอยชั้นไม่ต่อเนื่องบนหินอัคนี (nonconformity) [สิ่งแวดล้อม] |
volcanic rock | หินภูเขาไฟ, หินอัคนีเกิดจากลาวาที่พ่นออกมาจากภูเขาไฟระเบิด มีการเย็นตัวเร็วจึงทำให้มีลักษณะเนื้อละเอียดแน่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |