alu | (เอแอลยู) ย่อมาจาก arithmetic and logical unit เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ และเปรียบเทียบทางตรรกะดู central processing unit ประกอบ |
arithmetic logic unit | หน่วยคำนวณและตรรกะ ใช้ตัวย่อว่า ALU เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์ และเปรียบเทียบทางตรรกะ ดู central processing unit ประกอบ |
card punch | อุปกรณ์เจาะบัตรหมายถึง อุปกรณ์แสดงผล (output device) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องเจาะบัตร หรือ เครื่องที่ใช้บันทึกข้อความลงบนบัตรด้วยการเจาะรู ซึ่งเป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษอื่น ๆ ต่างกับเครื่องเจาะบัตรที่เรียกว่า keypunch กล่าวคือ keypunch เป็นเครื่องเจาะบัตรที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ (คนเป็นผู้เจาะ) แต่ card punch เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ทำงานภายใต้การควบคุมของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ดู keypunch เปรียบเทียบ |
central processing unit | หน่วยประมวลผลกลางนิยมใช้ตัวย่อว่า CPU (ซีพียู) หมายถึง ส่วนที่เป็นสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือส่วนที่เรียกว่าตัวประมวลผล (microprocessor) และหน่วยความจำ ประกอบด้วยชิป (chip) ส่วนนี้นับเป็นส่วนสำ คัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ใช้ทำหน้าที่ในการประมวลผล หรือทำการคำนวณ เมื่อทำการประมวลผล หรือคำนวณในส่วนนี้เสร็จแล้ว ก็จะถ่ายโอนผลลัพธ์ที่ได้ไปไว้ในส่วนอื่นอีกชั้นหนึ่ง ดู input unit และ output unit ประกอบ |
computer system | ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง หรือหนึ่งชุด ซึ่งประกอบด้วย 1. หน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น แป้นพิมพ์ 2. หน่วยประมวลผลกลาง (cetral processing unit) 3. หน่วยแสดงผล (output unit) เช่น จอภาพ เป็นต้น |
control unit | หน่วยควบคุมเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หน่วยควบคุม มีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมด กล่าวคือ ควบคุมการทำงานของหน่วยคำนวณและตรรกะ ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก (main memory) กับหน่วยความจำในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ติตต่อและควบคุมการทำงานของหน่วยรับข้อมูลและแสดงผล (input/output unit) เป็นต้นว่า รับข้อมูลเข้ามาเก็บในหน่วยความจำ ปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง รวมทั้งจัดการให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอน และแสดงผลตามคำสั่งด้วยดู central processing unit ประกอบ |
cycle time | เวลาครบรอบหมายถึงเวลาที่หน่วยประมวลผลกลางใช้ในการปฏิบัติตามคำสั่ง โดยเริ่มตั้งแต่ไปดึงคำสั่งมา (fetch) และลงมือกระทำการ (execute) มีหน่วยวัดเป็น นาโนวินาที (nano second) หรือหนึ่งในพันล้านวินาที และพิโกวินาที (picosecond) หรือหนึ่งในล้านล้านวินาที |
instruction register | เรจิสเตอร์คำสั่งเครื่องหน่วยความจำที่อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ที่ใช้เก็บชุดคำสั่งที่ไปนำมาเพื่อใช้กระทำการ (execute) |
microcomputer | (ไม' โครคอมพิวเตอร์) n. เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์, เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูก แต่ก็มีลักษณะของคอมพิวเตอร์ อย่างสมบูรณ์ กล่าวคือประกอบด้วยส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ (hard ware) และซอฟต์แวร์ (software) ส่วนหน่วยประมวลผลกลางจะประกอบด้วย วงจรเบ็ดเสร็จ,RAM,ROM |
microprocessor | (ไมโครโพร'เซสเซอร์) n. ,ไมโครโปรเซสเซอร์, ตัวประมวลผลจุลภาค, หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยชิป (chip) ที่มักจะเป็นวงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่หรือวีแอลเอสไอ (VLSI) มีหน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ และตรรกะที่รวมอยู่ในชิป (chip) อันเดียวนำมาใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์ |
executive program | โปรแกรมกระทำการหมายถึง โปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล หรือควบคุมการกระทำการ (execution) ของคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ดูแลการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล (input/output unit) การดำเนินการและกำหนดการใช้หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำ (memory unit) ให้ทำงานให้สอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบทำงานแบบหลายชุดคำสั่ง หรือระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (multiprogramming) ชุดคำสั่งชุดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ (operating system) มีหน้าที่หลักในการดูแลไม่ให้การประมวลผล โปรแกรมทีละหลาย ๆ โปรแกรม เกิดความสับสนกัน มีความหมายเหมือน supervisor |
fetch | (เฟทชฺ) {fetched,fetching,fetches} vt. ไปเอามา,ไปหยิบมา,เอามา,นำมา,ทำให้มา,ขายได้,ได้, (สูดลมหายใจ) ,ถอนใจ,ทำให้ (ตกลงมา) ,นำกลับ,ทำให้เกิดขึ้น. vi. ไปเอามา,เคลื่อน,แล่นเรือ,เอากลับ. -n. การไปเอามา,อุบาย,แผนการ,เขตลมคลื่น.,ผี, See also: fetch a breat ไปนำมาหมายถึงนำข้อมูลหรือคำสั่งจากหน่วยความจำเข้าไปใส่ไว้ในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เพื่อทำการประมวลผล บางทีใช้หมายถึงการโอนย้ายข้อมูลจากสื่อ (medium) เข้าไปเก็บในหน่วยความจำ |
kilo instructions per sec | พันคำสั่งต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า KIPS เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่น คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมาก |
kips | (กิปส์) ย่อมาจาก kilo instructions per second พันคำสั่งวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่นคอมพิวเตอร์นี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมากดู MIPS เปรียบเทียบ |
main memory | หน่วยความจำหลักหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main storage |
nubus | (นูบัส) หมายถึง บัสตัวใหม่ของเครื่องแมคอินทอช ที่สามารถสั่งโอนข้อมูลได้ดีกว่าบัสตัวเก่า คือ S-bus และจะทำให้ใช้หน่วยประมวลผลกลางได้หลายตัว |
off line device | อุปกรณ์นอกสายอุปกรณ์ไม่เชื่อมตรงหมายถึง ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ของระบบคอมพิวเตอร์ ที่ไม่ได้ติดต่อโดยตรงกับหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) และอยู่นอกเหนือการควบคุมของหน่วยประมวลผล กลาง เช่น เครื่องเจาะบัตร (keypunch) |
off line processing | การประมวลผลแบบไม่เชื่อมตรงหมายถึง การประมวลผลที่ทำขึ้นโดยไม่มีการเชื่อมต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) เช่น การแปลงข้อมูลจากบัตรแล้วบันทึกข้อมูลลงในแถบบันทึก หรือจานบันทึก เป็นต้นดู on line processing เปรียบเทียบ |
main storage | หน่วยเก็บหลักหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main memory |
on line device | อุปกรณ์เชื่อมตรงหมายถึง อุปกรณ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยประมวลผลกลาง เช่น หน่วยขับแถบบันทึก (tape drive) หน่วยขับจานบันทึก (disk drive) เครื่องพิมพ์ (printer) รวมไปถึงเครื่องปลายทาง (terminal) ฯลฯ ดู off-line device เปรียบเทียบ |
on line processing | การประมวลผลแบบเชื่อมตรงหมายถึง การประมวลผลที่ทำโดยอุปกรณ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของตัวเครื่อง (เช่นเครื่องอ่านบัตร) หรืออุปกรณ์นั้นจะอยู่ห่างออกไปแต่สามารถติดต่อโดยตรงกับเครื่องได้ เช่น การประมวลผลโดยมีการสื่อสารระหว่างเครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัล (terminal) และหน่วยประมวลผลกลางโดยทางโทรศัพท์ หรือวิธีอื่น ๆ การทำเช่นนี้เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูล ซึ่งจะเข้าสู่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา เช่น ที่ใช้ในการส่งยานอากาศไปนอกโลก การถอนเงินในระบบเงินด่วน เป็นต้น ดู batch processing เปรียบเทียบ |
output unit | หน่วยส่งออกหมายถึง องค์ประกอบส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์ เราถือว่า คอมพิวเตอร์นั้นมีองค์ประกอบด้วยกัน 3 ส่วน คือ หน่วยรับข้อมูล (input unit) หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) และหน่วยแสดงผล (output unit) ซึ่งมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น จอภาพ, พล็อตเตอร์, เครื่องพิมพ์ ฯลฯดู input unit เปรียบเทียบ |
paper tape | แถบกระดาษเทปกระดาษเป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเข้าและส่งข้อมูลออกของคอมพิวเตอร์เมนเฟรมในสมัยแรก ๆ โดยทั่วไป แถบกระดาษที่เคยนิยมใช้มีขนาดกว้าง 0.75 ถึง 1 นิ้ว แถบกระดาษม้วนหนึ่ง ๆ ยาว 30 - 1000 ฟุต ม้วนอยู่บนล้อวงกลม ลักษณะการบันทึก ใช้วิธีการเจาะเป็นรูกลม ๆ มีความจุประมาณ 10 ล้านตัวอักขระต่อเทป 1 นิ้ว ปัจจุบัน ไม่มีใครรู้จักแล้ว เพราะแก้ไขยาก ใช้ซ้ำไม่ได้เลย ทำให้สิ้นเปลืองมาก ในการอ่านข้อมูลบนแถบกระดาษ ใช้เครื่องอ่านแถบกระดาษ เรียกว่า paper tape reader ในการบันทึก ใช้เครื่องเจาะแถบกระดาษ ซึ่งเรียกว่า paper tape punch ซึ่งจะทำงานเมื่อได้รับสัญญาณจากหน่วยประมวลผลกลาง สามารถเจาะได้ประมาณ 10 - 150 แถวต่อวินาที |
paper tape punch | เครื่องเจาะแถบกระดาษเครื่องเจาะเทปกระดาษหมายถึง เครื่องเจาะแถบกระดาษให้เป็นรู เพื่อแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เครื่องเจาะนี้จะต้องได้รับสัญญาณจากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีความเร็วในการเจาะประมาณ 15 - 150 แถวต่อวินาที ดู paper tape ประกอบ |
processing unit | หน่วยประมวลผลมีความหมายเหมือน processor เป็นส่วนที่เรียกกันว่า "สมอง" ของคอมพิวเตอร์ ตรงกับคำว่าหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) ทำหน้าที่ประมวลผลต่าง ๆ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เปรียบเทียบ ฯ |
processor | (โพรเซส'เซอะ) n. ผู้ดำเนินการ,ผู้แปรรูป,เครื่องจัด,ตัวประมวลผลเป็นส่วนที่เรียกกันว่า "สมอง" ของคอมพิวเตอร์ ตรงกับคำว่าหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) ทำหน้าที่ประมวลผลต่าง ๆ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เปรียบเทียบ ฯ ดู process ประกอบ |
pararell computer | คอมพิวเตอร์งานขนานหมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ทำงานทางตรรกะ หรือทางคณิตศาสตร์หลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจาก คอมพิวเตอร์นั้นมีหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หลายตัว แต่ละตัวทำงานแต่ละอย่าง และสามารถทำไปพร้อม ๆ กันได้ โดยมีระบบปฏิบัติการ (operating system) ทำหน้าที่ดูแลให้ทำงานประสานกันดู serial computer เปรียบเทียบ |
primary storage | หมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ได้อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง ในการทำงานของคอมพิวเตอร์นั้น เมื่ออ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว คอมพิวเตอร์จะนำข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยความจำ แล้วจะเรียกมาใช้เมื่อต้องการ ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำนี้ จะอยู่ตลอดไปจนกว่าไฟจะดับ หรือมีการอ่านข้อมูลใหม่เข้าไปทับมีความหมายเหมือน main storageดู secondary storage เปรียบเทียบprint : พิมพ์หมายถึง การแสดงผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้จากคอมพิวเตอร์ลงบนกระดาษ หรือแผ่นใส ฯ กับใช้เป็นรายการคำสั่งในโปรแกรมสำเร็จหลายโปรแกรม ที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำการดังกล่าว ซึ่งมักจะมีคำถามตามมาอีกหลายคำถามในกรอบสนทนา (dialog box) เป็นต้นว่า พิมพ์กี่ชุด พิมพ์หน้าไหนบ้าง ขยายหรือย่อขนาดกี่เปอร์เซ็นต์ ฯ รวมทั้งเป็นคำสั่งในโปรแกรมในภาษาต่าง ๆ เกือบทุกภาษาด้วย |
teleprinter | เครื่องโทรพิมพ์หมายถึงเครื่องพิมพ์ที่มีการเชื่อมประสาน (interface) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ และสามารถแสดงผลได้ด้วยการพิมพ์ลงบนกระดาษ และรับข้อมูลผ่านไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ทำงานภายใต้การควบคุมของหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถพิมพ์ได้เร็วประมาณ 10 - 15 ตัวอักษร ต่อวินาที เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีลักษณะเหมือนเครื่องปลายทาง (terminal) ที่อาจอยู่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือห่างออกไปไกล ๆ ก็ได้ สามารถทำได้ทั้งส่ง และรับข้อมูลมีความหมายคล้าย teletypewriter |
time sharing | การแบ่งกันใช้เวลาหมายถึง การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น ตัวประมวลผล เครื่องพิมพ์ และหน่วยขับจานบันทึกในเครื่องเมนเฟรม หรือเครือข่าย ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ร่วมกันในเวลาเดียวกัน หรือมิฉะนั้นอาจใช้หมายถึงระบบการประมวลผลแบบหนึ่ง ที่ทำให้ เครื่องปลายทาง (terminal) ที่มีอยู่หลายเครื่อง สามารถแบ่งกันใช้เวลาของหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ได้ หมายถึงว่า ทำให้เครื่องสามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ในเวลาเดียวกัน หรือพูดง่าย ๆ ได้ว่า เป็นสมรรถวิสัยของเครื่องที่จะสามารถรับข้อมูลจากเครื่องปลายทางได้มากกว่า 1 เครื่องในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย ๆ ก็คือการถอนเงินจากตู้เงินด่วนหรือเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM) ซึ่งก็คือเครื่องปลายทางแบบหนึ่งนั่นเอง หลายคนจะสามารถถอนเงินจากสาขาต่างกันได้พร้อม ๆ กัน ในเวลาเดียวกัน (บางทีเขียนติดกัน เป็น timesharing ก็มี) |