Alpha particle | อนุภาคแอลฟา, อนุภาคที่มีประจุบวก ประกอบด้วยโปรตอน 2 อนุภาค และนิวตรอน 2 อนุภาค ซึ่งเหมือนกับนิวเคลียสของฮีเลียม-4 มีความสามารถในการทะลุทะลวงต่ำ ผ่านอากาศได้เพียง 2-3 เซนติเมตร และไม่สามารถทะลุผ่านแผ่นกระดาษหรือผิวหนังได้ อนุภาคแอลฟาเกิดจากการสลายของสารกัมมันตรังสีบางชนิด เช่น ยูเรเนียม และทอเรียม [นิวเคลียร์] |
Atom | อะตอม, หน่วยที่เล็กที่สุดที่ยังคงสมบัติทางเคมีของธาตุ โครงสร้างของอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสอยู่ตรงกลางและอิเล็กตรอนอยู่ในวงโคจรรอบนิวเคลียส นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ในสภาพปกติอะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับโปรตอน [นิวเคลียร์] |
Breeder reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ผลิตเชื้อเพลิง, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ผลิตวัสดุฟิสไซล์ขึ้นในแบล็งเคต โดยนิวตรอนเข้าไปทำปฏิกิริยากับวัสดุเฟอร์ไทล์บางส่วนทำให้กลายเป็นวัสดุฟิสไซล์
|
BWR type reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำเดือด, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้น้ำเป็นทั้งตัวทำให้เย็นและตัวหน่วงความเร็ว นิวตรอน โดยออกแบบการทำงานให้น้ำเดือดอยู่ภายในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และใช้ไอน้ำที่เกิดขึ้นไปขับกังหันไอน้ำของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยตรงเพื่อ ผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า [นิวเคลียร์] |
Carbon-14 | คาร์บอน-14, ไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุคาร์บอน มีครึ่งชีวิต 5,730 ปี เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นบนของโลก โดยอนุภาคนิวตรอนที่เกิดมาจากรังสีคอสมิกไปชนนิวเคลียสของธาตุไนโตรเจนเกิดเป็นคาร์บอน-14 และถูกออกซิไดส์ไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่วงจรของสิ่งมีชีวิต หลังจากสิ่งมีชีวิตตายไป จะไม่มีการแลกเปลี่ยนกับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศอีก คาร์บอน-14 ที่มีอยู่ก็จะสลายลดลงด้วยอัตราที่สามารถทราบได้ จึงใช้ในการคำนวณอายุซากสิ่งมีชีวิตและวัตถุโบราณที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
|
chain reaction | ปฏิกิริยาลูกโซ่, ปฏิกิริยาที่ 1 ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ 2 และจากปฏิกิริยาที่ 2 ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ 3 เป็นดังนี้เรื่อย ๆ ไป เช่น ปฏิกิริยานิวเคลียร์ซึ่งเกิดจากนิวตรอนวิ่งไปชนนิวเคลียสทำให้นิวเคลียสแตกตัว และเกิดนิวตรอนใหม่ และนิวตรอนใหม่นี้จะทำให้นิวเคลียสอื่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Core | แกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, บริเวณส่วนกลางเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ประกอบด้วย เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ แท่งควบคุม สารหน่วงนิวตรอน และโครงสร้างที่รองรับอุปกรณ์ต่างๆ [นิวเคลียร์] |
Deuterium | ดิวเทอเรียม ไอโซโทปของไฮโดรเจน, นิวเคลียยสประกอบด้วยโปรตรอน และ นิวตรอน อย่างละ 1 อนุภาคมีมวลเป็นสองเท่าของไฮโดรเจน [นิวเคลียร์] |
elementary particle | อนุภาคมูลฐาน, อนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของสารทุกชนิดในจักรวาล เช่น อิเล็กตรอน โปรตอน นิวตรอน เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Fast Breeder Reactor | เครื่องปฏิกรณ์(นิวเคลียร์)แบบผลิตเชื้อเพลิง(ด้วยนิวตรอนเร็ว) เอฟบีอาร์ [นิวเคลียร์] |
Fertile material | วัสดุเฟอร์ไทล์, วัสดุซึ่งสามารถแปลงให้เป็นวัสดุฟิสไซล์ได้ โดยการก่อกัมมันตภาพรังสีด้วยนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ วัสดุเฟอร์ไทล์ ได้แก่ ยูเรเนียม-238 และทอเรียม-232 ซึ่งเมื่อจับยึดนิวตรอนแล้วจะเปลี่ยนเป็นวัสดุฟิสไซล์ คือ พลูโทเนียม-239 และยูเรเนียม-233 ตามลำดับ [นิวเคลียร์] |
Fission | ฟิชชัน, การแบ่งแยกนิวเคลียส, การที่นิวเคลียสของธาตุหนักบางชนิดแยกออกเป็นนิวเคลียสของธาตุที่เบากว่าอย่างน้อยสองชนิดที่มีขนาดใกล้เคียงกัน พร้อมกับปลดปล่อยนิวตรอน 1 ถึง 3 อนุภาค รังสีแกมมา และพลังงานออกมา [นิวเคลียร์] |
Fissionable material | วัสดุเกิดฟิชชันได้, วัสดุฟิสไซล์ และรวมถึงวัสดุที่นิวเคลียสแบ่งแยกได้ด้วยนิวตรอนเร็ว เช่น ยูเรเนียม-238
|
Heavy hydrogen | ไฮโดรเจนมวลหนัก, ไอโซโทปของไฮโดรเจนที่มีเลขมวลเท่ากับ 2 นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอน 1 อนุภาคและนิวตรอน 1 อนุภาค มีชื่อเฉพาะเรียกว่า ดิวเทอเรียม
|
Heavy water | น้ำมวลหนัก, น้ำที่มีองค์ประกอบของอะตอมไฮโดรเจนมวลหนัก ต่ออะตอมไฮโดรเจนธรรมดาสูงกว่าสัดส่วนตามธรรมชาติ (1 ส่วนต่อ 6,500 ส่วน) อย่างมีนัยสำคัญ ใช้เป็นตัวลดความเร็วนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์บางชนิด
|
Isomer | ไอโซเมอร์, นิวไคลด์ที่มีจำนวนนิวตรอนและโปรตอนในนิวเคลียสเท่ากัน แต่มีสถานะพลังงานต่างกัน เช่น Tc-99m เป็นไอโซเมอร์กับ Tc-99
|
Isotope | ไอโซโทป, อะตอมของธาตุเดียวกัน ซึ่งในนิวเคลียสมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนต่างกัน เช่น ธาตุไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป ได้แก่
|
mass number | เลขมวล, ตัวเลขแสดงผลบวก ของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนในนิวเคลียสของอะตอมของธาตุ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Moderator | ตัวหน่วงความเร็ว(นิวตรอน), วัสดุที่ใช้ลดความเร็วของนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ทำให้โอกาสของการเกิดปฏิกิริยาแบ่งแยกนิวเคลียสเพิ่มขึ้น เช่น น้ำ น้ำมวลหนัก และแกรไฟต์
|
Neutron | นิวตรอน, อนุภาคมูลฐานที่ไม่มีประจุ มีมวลมากกว่าโปรตอนเล็กน้อย และพบในนิวเคลียสของทุกอะตอมยกเว้นอะตอมไฮโดรเจนธรรมดา นิวตรอนอิสระไม่เสถียร มีครึ่งชีวิต 10.3 นาที สลายเป็นอิเล็กตรอน โปรตอน และนิวทริโน
|
Nuclear fission | การแบ่งแยกนิวเคลียส, การที่นิวเคลียสของธาตุหนักบางชนิดแยกออกเป็นนิวเคลียสของธาตุที่เบากว่าอย่างน้อยสองชนิดที่มีขนาดใกล้เคียงกัน พร้อมกับปลดปล่อยนิวตรอน 1 ถึง 3 อนุภาค รังสีแกมมา และพลังงานออกมา [นิวเคลียร์] |
Nuclear reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์, อุปกรณ์สำหรับให้ปฏิกิริยาลูกโซ่การแบ่งแยกนิวเคลียสเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสามารถควบคุมได้ ใช้สำหรับผลิตนิวตรอน หรือพลังงานความร้อน มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ แกนปฏิกรณ์ ซึ่งบรรจุเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ สารหน่วงความเร็วนิวตรอน สารสะท้อนนิวตรอน สารหล่อเย็น วัสดุกำบังรังสี และระบบควบคุม
|
Nucleus | นิวเคลียส, แกนกลางของอะตอม มีประจุเป็นบวก และขนาดเล็กประมาณ 10-15 เมตร หรือประมาณ 1 ใน 10,000 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของอะตอม เป็นที่รวมของมวลเกือบทั้งหมดของอะตอม ทุกนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ยกเว้นนิวเคลียสของไฮโดรเจนธรรมดาที่มีเพียงโปรตอนหนึ่งอนุภาค [นิวเคลียร์] |
Poison | สารพอยซัน(ต่อปฏิกิริยานิวเคลียร์), วัสดุใดๆ ที่มีภาคตัดขวางการดูดกลืนนิวตรอนสูง ซึ่งจะดูดกลืนนิวตรอนบางส่วนจากปฏิกิริยาลูกโซ่การแบ่งแยกนิวเคลียสในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นผลให้การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ลดลง
|
Reflector | ตัวสะท้อน(นิวตรอน), ชั้นวัสดุที่ล้อมรอบแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ทำหน้าที่สะท้อนนิวตรอนกลับเข้าไปในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ทำให้เกิดการแบ่งแยกนิวเคลียสมากขึ้นและใช้นิวตรอนอย่างคุ้มค่า วัสดุที่ใช้เป็นตัวสะท้อนนิวตรอน เช่น แกรไฟต์ เบริลเลียม และยูเรเนียมธรรมชาติ
|
Slow neutron | นิวตรอนช้า, นิวตรอนที่มีพลังงานในช่วงประมาณ 0.02 ถึง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ มีความเร็วเฉลี่ย 2,200 เมตรต่อวินาที ที่อุณหภูมิห้อง
|
Spallation Neutron Source | ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน, เครื่องผลิตนิวตรอนชนิดหนึ่ง โดยการเร่งโปรตอนพลังงานสูงกว่า 100 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เข้าชนเป้าซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น แทนทาลัม ทังสเตน หรือ ยูเรเนียม ทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่มีการปลดปล่อยนิวตรอนพลังงานเฉลี่ย 1 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์
|
Subatomic particle | อนุภาคย่อยของอะตอม, อนุภาคใด ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม เช่น อิเล็กตรอน นิวตรอน และโปรตอน
|
Thorium | ทอเรียม, ธาตุกัมมันตรังสีที่มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 90 มีน้ำหนักเชิงอะตอมประมาณ 232 ไอโซโทปที่มีอยู่ในธรรมชาติ คือ ทอเรียม-232 แปรธาตุเป็นยูเรเนียม-233 ได้ด้วยการอาบนิวตรอน (ดู fertile material, fissile material, transmutation ประกอบ)
|
Triton | ไทรทอน, นิวเคลียสของอะตอมทริเทียม ประกอบด้วยโปรตอน 1 อนุภาค และนิวตรอน 2 อนุภาค [นิวเคลียร์] |