at | (เอที) เป็นคำย่อที่บริษัทไอบีเอ็มนำมาใช้แทนคำว่า advanced technology ซึ่งแปลว่า เทคโนโลยีขั้นสูงนั่นเอง เมื่อสมัยที่ไอบีเอ็มผลิตเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ชุดใหม่ที่ใช้ชิปหมายเลข 80286 ได้ตั้งชื่อคอมพิวเตอร์ที่ออกสู่ตลาดรุ่นนั้นว่า " IBM AT " |
beta test | ทดสอบรอบสองหมายถึง โปรแกรมที่ทำออกมาให้ลูกค้าทำการทดสอบเป็นครั้งที่สอง (ครั้งแรกเรียกว่า alpha test) เพื่อจะดูว่า โปรแกรมดังกล่าวปฏิบัติงานตามที่ต้องการได้เรียบร้อยครบถ้วนดีแล้วหรือยัง ก่อนที่จะนำออกขายในตลาด โปรแกรมที่นำออกมาทดสอบเหล่านี้มักจะมีเขียนบอกไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ใช้รู้ว่า ยังเป็นโปรแกรมที่อยู่ในขั้นทดลองใช้ เช่น Alpha 1, Beta 5 ซึ่งหมายถึง รุ่น 1.0 หรือ 5.0 นั่นเองดู alpha test ประกอบ |
buffer | (บัฟ'เฟอะ) {buffered,buffering,buffers} n. ตัวกันชน,สารที่สามารถทำให้ทั้งกรดและด่างเป็นกลาง,เครื่องขัดเงา,คนงานขัดเงา vt. ใส่ตัวทำให้กรดหรือด่างเป็นกลาง,ผ่อนคลาย,ปกป้อง,กันชน, Syn. cushion ที่พัก (ข้อมูล) กันชนบัฟเฟอร์ในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ (พิมพ์ตามไม่ทัน) เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด คอมพิวเตอร์นั้นจะมีที่พักข้อมูลทั้งเมื่อรับข้อมูลเข้าและเมื่อส่งข้อมูลออก อันที่จริง บัฟเฟอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง |
bug | (บัก) {bugged,bugging,bugs} n. แมลง,เชื้อจุลินทรีย์,ความบกพร่อง,แฟน,คนคลั่ง,เครื่องดักฟัง,ความคลั่ง,เหยื่อตกปลาที่คล้ายแมลง vt. รบกวน,ติดตั้งเครื่องดักฟังในที่ลับ, Syn. fault,defect จุดบกพร่องหมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นกับโปรแกรมอันเนื่องมาจากคำสั่งในโปรแกรมนั้นเอง ซึ่งทำให้การทำงานของโปรแกรมไม่ถูกต้อง มีข้อผิดพลาด หรือไม่ราบรื่นเท่าที่ควร นอกจากปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมแล้ว อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับตัวเครื่องก็ได้ คำนี้มาจากคำ bug ที่แปลว่า ตัวด้วง ตัวแมลง ที่ชอบทำให้คอมพิวเตอร์สมัยก่อนเสีย (เกิดการลัดวงจรขึ้น) การแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรม จึงใช้คำว่า "debug" |
check box | กล่องเลือกช่องสำหรับกาเครื่องหมายหมายถึง ช่องสี่เหลี่ยมหรือวงกลมที่สร้างขึ้นไว้เพื่อให้ทำเครื่องหมายอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป แสดงว่า ได้มีการเลือกตัวเลือกนั้นไว้แล้วนั่นเอง โดยปกติจะวางไว้หน้าตัวเลือก มักใช้ในกรอบสนทนา (dialog box) |
edp | (อีดีพี) ย่อมาจาก electronic data processing (แปลว่า การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์) หมายถึงการใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง) ทำการประมวลผลข้อมูลที่รับเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว แล้วแสดงผลลัพธ์ให้ตามที่สั่ง |
electronic data processin | การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ใช้ตัวย่อว่า EDP (อ่านว่า อีดีพี) หมายถึงการใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ซึ่งก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง) ทำการประมวลผลข้อมูลที่รับเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว และแสดงผลลัพธ์ให้ตามที่สั่ง |
chief information officer | ประธานฝ่ายสารสนเทศใช้ตัวย่อว่า CIO (อ่านว่า ซีไอโอ) งานสารสนเทศเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง เพราะหน่วยงานนี้ก็คือหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนั่นเอง เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ แล้วส่งผล (สารสนเทศ) ให้ผู้ที่มีอำนาจ ใช้ในการตัดสินใจ หรือเพื่อไม่ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจผิดพลาดเพราะขาดข้อมูล (บางทีใช้ในความหมายเดียวกันกับหัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์) |
cio | (ซีไอโอ) ย่อมาจาก chief information officer หรือประธานฝ่ายสารสนเทศ งานสารสนเทศเป็นงานที่สำคัญที่สุดงานหนึ่ง เพราะหน่วยงานนี้ก็คือหน่วยงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักนั่นเอง เป็นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ แล้วส่งผล (สารสนเทศ) ให้ผู้ที่มีอำนาจ ใช้ในการตัดสินใจ หรือเพื่อไม่ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจผิดพลาดเพราะขาดข้อมูล (บางทีใช้ในความหมายเดียวกันกับหัวหน้าฝ่ายคอมพิวเตอร์) |
client | (ไคล'เอินทฺ) n. ลูกความ,คนไข้,ลูกค้า,คนซื้อของ,ผู้พึ่งคนอื่น, บุคคลหรือบริษัทที่จ่ายเงินสำหรับสินค้าหรือการบริการ adj. เป็นลูกค้าประจำ, See also: cliental adj. ดูclient ผู้รับบริการ1. ใช้ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่สามารถเรียกข้อมูลข่าวสารหรือโปรแกรมจากเครื่องบริการแฟ้ม (file server) มาใช้ได้ หรืออาจหมายถึงเครื่องที่ทำงานอย่างอิสระ โดยใช้โปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่องนั้นเองก็ได้ ดู file server ประกอบ2. หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกับเครื่องอื่นได้ โดยใช้ระบบ DDE หรือ dynamic data exchange ดู dynamic data exchange ประกอบ |
compatibility | ความเข้ากันได้ความใช้แทนกันได้การเทียบเคียงกันได้หมายถึง ความสามารถในการทำงานของอุปกรณ์หรือโปรแกรมที่สามารถเทียบแทนกันได้กับอุปกรณ์หรือโปรแกรมที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว เช่น ถ้าใช้ว่า "IBM Compat" ก็แปลความได้ว่าคอมพิวเตอร์นั้นไม่ใช่ยี่ห้อไอบีเอ็ม แต่ผลิตขึ้นมาด้วยมาตรฐานเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม และสามารถนำมาใช้แทนเครื่องไอบีเอ็มได้ (หมายถึง ใช้โปรแกรมหรือคำสั่งต่าง ๆ ของไอบีเอ็มได้นั่นเอง) |
cpu | (ซีพียู) เป็นคำที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องรู้จัก ย่อมาจาก Central Processing Unit แปลว่า ตัวประมวลผลกลาง หมายถึงส่วนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ประกอบด้วยหน่วย ความจำ หน่วยคำนวณ และหน่วยควบคุม เมื่อพูดถึง "ซีพียู" ของไมโครคอมพิวเตอร์ มักจะหมายถึงชิป (chip) ที่ใช้ ว่าเป็นเบอร์ 80286, 80386, 80486 หรือ เพนเทียม (pentium) |
front end | เสริมหน้าหมายถึง โปรแกรมหนึ่งโปรแกรมใด หรือคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดที่ซ่อนรายละเอียดของการเข้าถึงข้อมูลเอาไว้ สรุปง่าย ๆ ได้ว่า ตัวโปรแกรมนั้นเองที่มีตัวเสริมหน้า เป็นตัวกันมิให้ใครเข้าถึงข้อมูลได้ นอกจากจะรู้จักคำสั่งต่าง ๆ |
gateway | (เกท'เวย์) n.ทางผ่าน,ทางเข้า,วิธีการ, Syn. entrance ประตูสัญญาณหมายถึง ประตูสัญญาณที่ต่อเชื่อมไว้ระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่างตระกูลกัน (ตระกูลพีซี, ตระกูลแมคอินทอช ฯ) ในกรณีที่ต้องการแยกเครือข่ายทั้งสองออกจากกัน ก็ เพียงแต่ปิดสวิตช์ตัวประตูสัญญาณนี้เสียเท่านั้นเอง |
memory map | แผนที่แสดงการใช้หน่วยความจำหมายถึงแผนที่หรือแผนผังที่แสดงถึงการใช้หน่วยความจำส่วนที่เรียกว่า แรม (RAM) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายกับแผนที่แสดงที่ตั้งจังหวัดต่าง ๆ ในแต่ละประเทศนั้นเอง สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องนี้เลยก็ได้ |
display | (ดิสเพล') vt. แสดง,เปิดเผย,โอ้อวด,แผ่ออก,เรียงพิมพ์ให้เด่นชัด n. การแสดง,การโอ้อวด, สิ่งที่แสดงให้เห็นชัด,นิทรรศการ, Syn. exhibit แสดงผลหน่วยแสดงผลหมายถึงการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว หน่วยแสดงผลก็คือจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ นั่นเอง นอกจากนั้น การแสดงผลอาจแสดงได้ทางเครื่องพิมพ์ (printer) , พล็อตเตอร์ (plotter) ฯ |
exit | (เอค'ซิท,เอค'ซิท) n. ทางออก,ประตูฉุกเฉิน,การจากไป,การลงจากเวที,การตาย. vi. ออกไป,จากไป,ลงจากเวที,ตาย. -make one's exit ออกไป,จากไป, Syn. outlet, ออกทางออกหมายถึงคำสั่งที่ผู้ใช้โปรแกรมใช้ เมื่อต้องการหยุดหรือเลิกใช้โปรแกรมนั้นเพื่อกลับออกไปสู่ระบบปฏิบัติการ (operating systems) หลังจากที่ใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมต่าง ๆ ของแมคอินทอชมักจะใช้คำว่า Quit แทน ซึ่งก็มีความหมายเหมือนกัน ในระบบวินโดว์ของพีซี ทุกโปรแกรมจะมีคำสั่งนี้ไว้ให้เลือกใต้เมนู File ซึ่งเป็นคำสั่งกลับออกไปยังระบบวินโดว์นั้นเอง |
fortran | (ฟอร์แทรน) เป็นชื่อภาษาระดับสูง (high level language) ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง สร้างขึ้นเป็นภาษาแรก ๆ เพื่อให้นัก คณิตศาสตร์ใช้ได้สะดวก และรวดเร็ว ย่อมาจากคำว่า FORmular TRANslator ซึ่งก็แปลได้ว่า ตัวแปลสูตรคณิตศาสตร์ นั่นเอง โปรแกรมภาษาฟอร์แทรนนั้น สามารถนำไปใช้กับ เครื่อง คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ได้หลายยี่ห้อ โดยแทบจะไม่ต้อง ปรับ แก้เลย ก่อนหน้าที่จะมีการใช้ภาษานี้ นักเขียนโปรแกรม รู้จัก แต่ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) |
halt | (ฮอลทฺ) vi.,n.adj. (การ) หยุด,ชะงัก,เป็นง่อย,ขาเป๋,ลังเล,สองจิตสองใจ interj. หยุด, Syn. stand,check ชะงัก1. การที่เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดปฏิบัติงานตามชุดคำสั่ง ซึ่งอาจเกิดจากการขัดจังหวะหรือมีที่ผิดมีความหมายเหมือน hang2. มีคำสั่งใดคำสั่งหนึ่งในชุดคำสั่งนั้นเองที่สั่งให้หยุดคำสั่งในชุดคำสั่งหรือในโปรแกรมเพียงชั่วขณะใดขณะหนึ่ง เพื่อทำการตรวจสอบโปรแกรมเปลี่ยนแถบบันทึกหรือจานบันทึก การหยุดแบบนี้ ถ้าผู้คุมเครื่อง (operator) กดปุ่ม START โปรแกรมจะทำงานต่อได้ทันทีมีความหมายเหมือน pause |
ibm | abbr. Intercontinental Ballistic Missile จรวดขีปนาวุธข้ามทวีป,International Business Machines Corporation,บริษัทไอบีเอ็ม เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตเครื่องจักรประมวลผลสำหรับธุรกิจหลายชนิด ซึ่งก็หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ไอบีเอ็มเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดบริษัทหนึ่งในด้านนี้ ในปัจจุบัน เริ่มมีคู่แข่งมากขึ้น บริษัทไอบีเอ็มนี้ผลิตคอมพิวเตอร์ทุกขนาดตั้งแต่ขนาดใหญ่ (mainframe) จนถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ราคาเครื่องของบริษัทนี้จะแพงกว่าของบริษัทอื่น และมีบริษัทมากมายพยายามเลียนแบบ จนเกิดมีคำ"IBM compatibles" ซึ่งใช้เรียกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เทียบเคียงกับคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มได้ กล่าวคือ ใช้โปรแกรมระบบ (operating system) อย่างเดียวกัน |
short | (ชอร์ท) adj. สั้น,เตี้ย,ต่ำ,ย่อ,ตื้น,ลุ่น,ห้วน,ระยะสั้น,สังเขป,ใกล้,ไม่นาน,ขาดแคลน,ขาด,ไม่ถึง,ไม่พอ,ไม่ดีพอ,อ่อน,น้อย,เปราะ,บอบบาง (เสียง) ,ไม่เน้น, short of น้อยกว่า,เลวกว่า,ไม่เพียงพอ adv. กะทันหัน,ทันใดนั้นเอง,ฉับพลัน,สั้น ๆ ,ย่อ ๆ ,โดยสังเขป,ใกล้,ย่น,ไม่ถึง |
topology | โทโพโลจี คำว่า topol ในแวดวงของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นหมายถึง แบบโครงสร้างของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (local area network) พูดง่าย ๆ ก็คือ หมายถึงแบบของโครงสร้างนั่นเอง เช่น เป็นแบบรวมศูนย์ (centralized) หรือแบบแยกศูนย์ (decentralized) ส่วนรูปแบบการจัดเครือข่าย เป็น แบบวงแหวน (ring) หรือแบบดาว (star) ฯ |
international business ma | นิยมเรียกชื่อย่อว่า IBM (อ่านว่า ไอบีเอ็ม) เป็นชื่อบริษัทที่ผลิตเครื่องจักรประมวลผลสำหรับธุรกิจหลายชนิด ซึ่งก็หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ไอบีเอ็มเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดบริษัทหนึ่งในด้านนี้ ในปัจจุบัน เริ่มมีคู่แข่งมากขึ้น บริษัทไอบีเอ็มนี้ผลิตคอมพิวเตอร์ทุกขนาดตั้งแต่ขนาดใหญ่ (mainframe) จนถึงไมโครคอมพิวเตอร์ ราคาเครื่องของบริษัทนี้จะแพงกว่าของบริษัทอื่น และมีบริษัทมากมายพยายามเลียนแบบ จนเกิดมีคำ"IBM compatibles" ซึ่งใช้เรียกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เทียบเคียงกับคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มได้ กล่าคือ ใช้โปรแกรมระบบเดียวกัน |
memory unit | หน่วยความจำหมายถึง หน่วยความจำที่อยู่ในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลเข้าไปแล้ว เครื่องอ่านก็จะนำข้อมูลที่อ่านได้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ แล้วจะเรียกมาใช้ในเวลาที่ต้องการ ข้อความหรือข้อมูลที่นำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำแล้วไม่ว่าจะนำมาใช้สักกี่ครั้งกี่หน ก็จะยังคงเป็นอยู่อย่างเดิม แต่ถ้าข้อมูลอื่นถูกอ่านทับเข้าไป ข้อมูลเก่าจะถูกลบไปทันที หรือถ้าไฟดับ ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยความจำก็จะหายไปหมดเช่นกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดี หรือมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับหน่วยความจำนี้มากกว่าอย่างอื่น สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ เราเรียกหน่วยความจำนี้ว่า ชิป (chip) ซึ่งใช้เป็นที่เก็บข้อมูล แบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทอ่านได้อย่างเดียว เรียกว่า "รอม" (ROM หรือที่ย่อมาจาก read-only memory) ซึ่งเก็บคำสั่งประเภทที่เครื่องต้องปฏิบัติตามทันที เช่น ไบออส (BIOS) ข้อมูลในนั้นจะไม่มีวันลบหายแม้ว่าจะปิดเครื่อง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า "แรม" (RAM หรือที่ย่อมาจาก random access memory) หน่วยความจำแรมนี้ใช้เก็บโปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังจะใช้งาน เมื่อปิดไฟที่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะหายไปหมด และหากเริ่มต้นเปิดเครื่องใหม่ ต้องการจะใช้โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลใด ก็จะต้องบรรจุ (load) โปรแกรมหรือแฟ้มข้อมูลนั้นมาเก็บไว้ในแรมก่อน จึงจะทำงานต่อไปได้ สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์แล้ว ยิ่งแรมมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งแสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีประสิทธิภาพเท่านั้นอย่างไรก็ตาม หน่วยความจำที่กล่าวถึงนั้นเป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่เรายังมีหน่วยเก็บข้อมูลที่อยู่นอกเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย หน่วยความจำนอกเครื่องนี้ เราเรียกว่า หน่วยความจำช่วย (auxiliary memory) ซึ่งหมายถึงสื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง เป็นต้นว่า จานบันทึก แถบบันทึก หน่วยความจำเหล่านี้ ไฟดับข้อมูลก็ยังอยู่ |
track ball | แทร็คบอลล์ ลูกกลมควบคุมหมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้นำเข้าข้อมูล ใช้ปฏิบัติงานได้ในทำนองเดียว กับเมาส์ นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (notebook) อยู่ใกล้ ๆ กับแป้นพิมพ์ ช่วยทำให้โน้ตบุ๊กมีขนาดกระทัดรัดขึ้น มีลักษณะเป็นลูก กลม ๆ หมุนรอบตัวได้เหมือนลูกกลมที่อยู่ใต้เมาส์นั่นเอง |
trailer label | ป้ายชื่อท้ายแฟ้มหมายถึงระเบียนสุดท้ายของเทปหรือแถบบันทึก ซึ่งมีหน้าที่บอกจุดสิ้นสุดของการบันทึกบนม้วนเทปนั้น มักจะเป็นที่เก็บข้อความย่อ ๆ เกี่ยวกับเทปนั้นเองมีความหมายเหมือน trailer record ดู header label เปรียบเทียบ |
oa | (โอเอ) ย่อมาจาก office automation แปลว่า การอัตโนมัติสำนักงาน, สำนักงานอัตโนมัติ หมายถึง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงาน เพื่อให้ดำเนินการไปโดยอัตโนมัติ หลีกเลี่ยงการปฏิบัติด้วยมือให้มากที่สุด เป็นต้นว่า การทำจดหมายเวียน (ข้อความในจดหมายเหมือน ๆ กัน แต่ส่งถึงชื่อคนหลายคน) ในกรณีนี้ หากใช้คอมพิวเตอร์ทำ ก็จะประหยัดเวลาได้มาก เพราะสามารถสั่งทีเดียวได้เลย ส่วนในความหมายของคำแปลที่ว่า "สำนักงานอัตโนมัติ" นั้น อธิบายง่าย ๆ ได้ว่า หมายถึง สำนักงานที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง (ในภาษาอังกฤษ บางทีใช้ automated office) |
office automation | การอัตโนมัติสำนักงานใช้ตัวย่อว่า OA (อ่านว่า โอเอ) หมายถึง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ภายในสำนักงาน เพื่อให้ดำเนินการไปโดยอัตโนมัติ หลีกเลี่ยงการปฏิบัติด้วยมือให้มากที่สุด เป็นต้นว่า การทำจดหมายเวียน (ข้อความในจดหมายเหมือน ๆ กัน แต่ส่งถึงชื่อคนหลายคน) ในกรณีนี้ หากใช้คอมพิวเตอร์ทำ ก็จะประหยัดเวลาได้มาก เพราะสามารถสั่งทีเดียวได้เลย ส่วนในความหมายของคำแปลที่ว่า "สำนักงานอัตโนมัติ" นั้น อธิบายง่าย ๆ ได้ว่า หมายถึง สำนักงานที่ใช้เครื่อวคอมพิวเตอร์นั่นเอง (ในภาษาอังกฤษ บางทีใช้ automated office) |
output buffer | บัฟเฟอร์ส่งออกในกรณีที่อัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์บางอย่างมีความเร็วไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า เครื่องพิมพ์และหน่วยประมวลผลซึ่งทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันมาก คอมพิวเตอร์ประมวลผลเสร็จแล้วจึงต้องส่งผลมารออยู่ที่บัฟเฟอร์ก่อน เพราะเครื่องพิมพ์จะใช้เวลามากกว่าในการพิมพ์ (พิมพ์ตามไม่ทัน) เราจะพบบ่อย ๆ ว่า แม้ว่าจะสั่งให้หยุดพิมพ์ แต่เครื่องพิมพ์จะไม่หยุดทันที ทั้งนี้เป็นเพราะมีข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ส่งไปรออยู่ที่บัฟเฟอร์แล้ว เครื่องพิมพ์จะต้องพิมพ์จนหมดข้อมูลในบัฟเฟอร์นี้ จึงจะหยุด อันที่จริง บัฟเฟอร์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำนั่นเอง |
overlay | ซ้อนแทนหมายถึง การแบ่งโปรแกรมขนาดใหญ่ออกเป็นหลาย ๆ โปรแกรม บางทีเรียกส่วนย่อย ๆ นี้ว่า มอดุล (modul) ด้วยเหตุที่ว่าโปรแกรมนั้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะบรรจุได้ในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ จึงต้องมีการจัดแยกคำสั่งบางชุดไว้ต่างหาก จะเรียกมาใช้เมื่อถึงเวลาจำเป็นเท่านั้น โปรแกรมที่แยกไปนี้เรียกว่าโปรแกรมซ้อนแทน การเรียกมาใช้ต้องเรียกผ่านโปรแกรมใหญ่อีกทีหนึ่ง (ให้โปรแกรมใหญ่เป็นผู้เรียกให้) โปรแกรมเหล่านี้จะใช้นามสกุลว่า .OVR ซึ่งก็คงมาจากคำ " overlay " นั้นเอง |
trailer record | ระเบียนท้ายหมายถึงระเบียนสุดท้ายของเทปหรือแถบบันทึก ซึ่งมีหน้าที่บอกจุดสิ้นสุดของการบันทึกบนม้วนเทปนั้น มักจะเป็นที่เก็บข้อความย่อ ๆ เกี่ยวกับเทปนั้นเอง มีความหมายเหมือน trailer label ดู header label เปรียบเทียบ |
vdt | วีดีที ย่อมาจาก video display terminal หมายถึง เครื่องปลายทางที่มีจอภาพ (monitor) และแผงแป้นอักขระ (keyboard) นั่นเอง |
video display terminal | ใช้ตัวย่อว่า VDT (อ่านว่า วีดีที) ซึ่งก็หมายถึงเครื่องปลายทาง ที่มีจอภาพ (monitor) และแผงแป้นอักขระ (keyboard) นั่นเอง |
pc-dos | (พีซี ดอส) ย่อมาจาก personal computer disk operating system หมายถึง ระบบปฏิบัติการแบบใช้จาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือไมโครคอมพิวเตอร์ ลักษณะและวิธีใช้ก็เหมือน ๆ กับ MS DOS ที่บริษัทไมโครซอฟต์นำมาดัดแปลงจนใช้กันทั่วไปนั่นเอง ปัจจุบัน พีซีดอสได้มีการพัฒนาไปมากแล้ว แต่พอวินโดว์ 95 เป็นที่นิยม ระบบดอสก็ดูเหมือนจะไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นพีซีดอส หรือเอ็มเอสดอสดู MS DOS ประกอบ |
personal computer disk op | ระบบปฏิบัติการแบบใช้จาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือไมโครคอมพิวเตอร์ ลักษณะและวิธีใช้ก็เหมือน ๆ กับ MS DOS ที่บริษัทไมโครซอฟต์นำมาดัดแปลงจนใช้กันทั่วไปนั่นเอง ปัจจุบัน พีซีดอสได้มีการพัฒนาไปมากแล้ว แต่พอวินโดว์ 95 เป็นที่นิยม ระบบดอสก็ดูเหมือนจะไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นพีซีดอส หรือเอ็มเอสดอสดู MS DOS ประกอบ |
recycled bin | ถังขยะเป็นศัพท์ที่ใช้ในระบบวินโดว์ 95 ของพีซี (แมคอินทอชใช้ trash) หมายถึง ที่ซึ่งจัดไว้เป็นการเฉพาะสำหรับลากแฟ้มข้อมูลที่ไม่ต้องการทิ้งลงไป สัญรูปก็มีลักษณะเหมือนถังขยะ ใช้เป็นที่ทิ้งสิ่งที่ไม่ต้องการใช้อีกแล้ว (ถ้าเก็บต่อไป จะทำให้เปลืองที่ อย่างน้อยก็ทำให้มีที่ว่างมากขึ้น) มีความหมายคล้ายคำสั่ง delete ในดอสนั่นเอง เมื่อต้องการกำจัดของในถังขยะให้หมดไป ก็ใช้คำสั่ง "empty recycled bin " แต่ถ้าเปลี่ยนใจไม่ลบทิ้ง ก็สามารถเปิดถัง (กดเมาส์ที่ถัง 2 ที) ลากแฟ้มข้อมูลนั้นกลับคืนออกมาได้ |
target language | ภาษาเป้าหมายหมายถึง ภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ และปฏิบัติตามได้ทันที โดยปกติในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เรามักจะเขียนคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติตามเป็นภาษาต้นฉบับ (source language) หรือภาษาระดับสูง (high level language) ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ และจะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่องก่อนคอมพิวเตอร์จึงจะทำงานตามคำสั่งที่ต้องการได้ ภาษาเป้าหมายก็คือภาษาเครื่องนั่นเองมีความหมายเหมือน object language หรือ machine languageดู source language เปรียบเทียบ |
time sharing | การแบ่งกันใช้เวลาหมายถึง การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น ตัวประมวลผล เครื่องพิมพ์ และหน่วยขับจานบันทึกในเครื่องเมนเฟรม หรือเครือข่าย ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ร่วมกันในเวลาเดียวกัน หรือมิฉะนั้นอาจใช้หมายถึงระบบการประมวลผลแบบหนึ่ง ที่ทำให้ เครื่องปลายทาง (terminal) ที่มีอยู่หลายเครื่อง สามารถแบ่งกันใช้เวลาของหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ได้ หมายถึงว่า ทำให้เครื่องสามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ในเวลาเดียวกัน หรือพูดง่าย ๆ ได้ว่า เป็นสมรรถวิสัยของเครื่องที่จะสามารถรับข้อมูลจากเครื่องปลายทางได้มากกว่า 1 เครื่องในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย ๆ ก็คือการถอนเงินจากตู้เงินด่วนหรือเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM) ซึ่งก็คือเครื่องปลายทางแบบหนึ่งนั่นเอง หลายคนจะสามารถถอนเงินจากสาขาต่างกันได้พร้อม ๆ กัน ในเวลาเดียวกัน (บางทีเขียนติดกัน เป็น timesharing ก็มี) |
vga | วีจีเอ ย่อมาจาก video graphics array (หนังสือบางเล่มว่า video gate array) ที่แปลว่า ขบวนปรับภาพแบบวีดิทัศน์ หมายถึง มาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับจอภาพสี จอภาพชนิดนี้สามารถแสดงสีได้ถึง 256 สีในเวลาเดียวกัน พัฒนามาจากจอภาพรุ่นเก่า ที่เรียกว่า ซีจีเอ (CGA) และ อีจีเอ (EGA) จอวีจีเอนี้ให้ภาพที่คมชัดกว่า แสดงภาพได้แม่นตรงกว่า ความละเอียด (reso- lution) ของจอนั้นสามารถกำหนดได้สูงถึง 640 x 480 จุด (pixels) ในปัจจุบัน ยิ่งพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้ คือกำหนดความคมชัดได้สูงถึง 1,024 x 768 จุด เรียกว่า SVGA หรือ super VGA นั่นเองดู CGA, EGA, SVGA ประกอบ |
video graphics array | ขบวนปรับภาพแบบวีดิทัศน์ใช้ตัวย่อว่า VGA (อ่านว่า วีจีเอ) หมายถึง มาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับจอภาพสี จอภาพชนิดนี้สามารถแสดงสีได้ถึง 256 สีในเวลาเดียวกัน พัฒนามาจากจอภาพรุ่นเก่า ที่เรียกว่า ซีจีเอ (CGA) และ อีจีเอ (EGA) จอวีจีเอนี้ให้ภาพที่คมชัดกว่า แสดงภาพได้แม่นตรงกว่า ความละเอียด (resolution) ของจอนั้นสามารถกำหนดได้สูงถึง 640 x 480 จุด (pixels) ในปัจจุบัน ยิ่งพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้ คือกำหนดความคมชัดได้สูงถึง 1,024 x 768 จุด เรียกว่า SVGA หรือ super VGA นั่นเอง |