acquire | (อะไคว' เออ) vt.ได้มา, เข้าถือสิทธิ์, เข้ายึด, ได้เรียนรู้, Syn. obtain, get, reap) |
ai | (เอไอ) abbr. 1. ย่อมาจากคำว่า aortic insufficiency 2. ย่อมาจากคำว่า artificial intelligence แปลว่า ปัญญาประดิษฐ์ หมายถึงแขนงการศึกษาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แขนงหนึ่งที่พยายามจะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์ |
apprentice | (อะเพรน'ทิส) n. ผู้ฝึกงาน,เด็กฝึกงาน,ผู้เรียนรู้,ผู้กำลังได้รับการฝึกอย่างพิเศษ. -vt. ทำให้เป็นผู้ฝึกงาน. -apprenticeship n. |
art 2 | (อาร์ทฺ) n. ศิลป,ฝีมือ,อุบาย,เล่ห์กระเท่ห์,เล่ห์เหลี่ยม,ความสามารถ,หลักการหรือวิธีการของการเรียนรู้,ความเชี่ยวชาญในกิจกรรมของมนุษย์,สาขาวิชาที่เกี่ยวกับศิลปศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, Syn. skill,craft ###A. artlessness, guilelessness |
artificial intelligence | ปัญญาประดิษฐ์ใช้ตัวย่อว่า AI หมายถึง แขนงการศึกษาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แขนงหนึ่งที่พยายามจะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคิดหาเหตุผลได้ เรียนรู้ได้ ทำงานได้เหมือนสมองมนุษย์ |
athenaeum | (แอธธินี'อัม) n. สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้, ห้องสมุด., Syn. atheneum |
c | (ซี) n. พยัญชนะอังกฤษตัวที่3,ตัวเลข100ของโรมัน,สัญลักษณ์ทางเคมีของธาตุคาร์บอน ภาษาซีเป็นภาษาระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ภาษานี้เริ่มต้นมาจากห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell ในช่วงทศวรรษ 1970 ภาษาซีนี้ เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปเทียบเคียงได้กับภาษาเบสิก (BASIC) หรือภาษาปาสกาล (Pascal) ความที่ภาษาซีเป็นภาษาที่ใช้ง่ายและสะดวก โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น Lotus 1-2-3 และ Microsoft FoxPro ก็เขียนด้วยภาษาซี ภาษาซีได้เปรียบภาษาอื่น ๆ อย่างน้อย 3 ประการด้วยกัน คือ 1. ภาษาซีง่ายในการเขียน และเรียนรู้ได้ง่ายเกือบจะเท่ากับภาษาเบสิก2. โปรแกรมภาษาซีใช้เวลาของเครื่อง (คอมพิวเตอร์) น้อยมาก พอ ๆ กับภาษาแอสเซมบลี (Assembly) แต่เขียนได้ง่ายกว่ากันมาก3. ภาษาซีใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นแมคอินทอชหรือไอบีเอ็ม (แทบจะไม่ต้องแก้ไขดัดแปลงอะไรเลย ผิดกับภาษาเบสิกและภาษาปาสกาล ซึ่งหากนำไปใช้กับเครื่องต่างตระกูลกันแล้ว จะต้องแก้ไขมากจนเรียกได้ว่าไม่คุ้ม |
comprehension | (คอมพริเฮน'เชิน) n. ความเข้าใจ,ภาวะที่เข้าใจ,ความสามารถเข้าใจ,ความสามารถในการเรียนรู้,การครอบคลุม,การกินความกว้าง, Syn. perception,grasp |
computer appreciation | คอมพิวเตอร์วิจักขณ์หมายถึง การเรียนรู้วิชาทางคอมพิวเตอร์เพียงพอที่จะรู้เรื่องราว ความเป็นมา องค์ประกอบ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวิธีที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ พอ สมควร มีความหมายเหมือน computer education |
computer education | คอมพิวเตอร์ศึกษาหมายถึง การเรียนรู้วิชาทางคอมพิวเตอร์เพียงพอที่จะรู้เรื่องราว ความเป็นมา องค์ประกอบ การใช้ งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวิธีที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้กับงานต่าง ๆ พอ สมควร มีความหมายเหมือน computer appreciation |
computer literacy | การรู้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานหมายถึง การเรียนรู้เพียงเพื่อให้เข้าใจพื้นฐานหรือความรู้เบี้องต้นเกี่ยวกับการทำงาน ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และการนำเครื่องไปใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ |
inclusive or | (อินคลูซีฟ ออร์) และ/หรือเป็นตัวดำเนินการ (operator) ตัวหนึ่งที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ใช้มากในคำสั่งที่เกี่ยวกับการเขียนภาพ ผลลัพธ์ของ inclusive OR จะเห็นได้จากตารางที่แสดง 1 คือจริง (true) และ 0 คือ เท็จ หรือ (false) ถ้าไม่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม ก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักคำสั่งนี้ก็ได้ |
computer language | ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล |
con | (คอน) 1. {conned,conning,cons} v. ต่อต้าน,แย้ง,เรียนรู้,ศึกษา,ตรวจสอบอย่างระมัดระวัง,จำไว้,นำเรือ,ถือพวงมาลัยเรือ n. การต่อต้าน,การโต้เถียง,ผู้คัดค้าน,ผู้ลงบัตรคัดค้าน,นักโทษ,วัณโรค adj. ซึ่งหลอกให้เชื่อ 2. ย่อมาจากคำว่า CONsole ซึ่งศัพท์บัญญัติฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ส่วนเฝ้าคุม ในวงการคอมพิวเตอร์ มักจะหมายถึง อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ส่วนที่เป็นแป้นพิมพ์และจอภาพ เป็นต้นว่า คำสั่ง COPY CON:autoexec.bat เป็น คำสั่งที่นำมาใช้เมื่อต้องการนำข้อความที่เราพิมพ์จากแป้นพิมพ์และมองเห็นบนจอภาพ (โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมประมวลผลคำ) คัดลอกเข้าไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ชื่อว่า autoexec.bat เมื่อพิมพ์ข้อความที่ต้องการเสร็จแล้ว ให้กด CTRL+Z หลังจากนั้น ในคอมพิวเตอร์ก็จะมีแฟ้มข้อมูลชื่อ autoexec.bat ซึ่งบรรจุข้อความที่พิมพ์ไว้นั้น |
knowable | (โน'อะเบิล) adj. รู้ได้,เรียนรู้ได้, See also: knowability n. ดูknowable |
learn | (เลิร์น) {learnt/learned,learning,learns} v. เรียน,เรียนรู้,ศึกษา,หาความรู้,รู้มาว่า,ได้ข่าวมาว่า,สั่งสอน., See also: learnable adj. ดูlearn learner n. ดูlearn |
learned | (เลิร์น'นิด) adj. มีความรู้มาก,คงแก่เรียน,เกี่ยวกับการเรียนรู้., See also: learnedness n. ดูlearned, Syn. erudite,scholarly |
learning | (เลิร์น'นิง) n. การเรียนรู้,การศึกษา,ความรู้,การปรับบุคลิกภาพจากการปฏิบัติฝึกฝนหรือประสบการณ์, Syn. education |
config.sys | แฟ้มโครงแบบย่อมาจาก configuration system เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในระบบดอสและโอเอสทูซึ่งจะมีข้อความที่กำหนดในเรื่องการใช้แป้นพิมพ์ จำนวนของบัฟเฟอร์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบนั้นจะใช้ ฯ พอเริ่มใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไปสักพัก ก็จะต้องเรียนรู้วิธีการสร้างแฟ้มข้อมูลนี้ คอมพิวเตอร์จะแฟ้มข้อมูลนี้เฉพาะเมื่อมีการเริ่มเครื่องใหม่เท่านั้น |
hacker | (แฮค' เคอร์) n. ผู้ที่ทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำ, ผู้ที่สนใจเรียนรู้คอมพิวเตอร์อย่างจริงจังจนเกินไป,คำนี้เป็นชื่อที่ใช้เรียกพวกที่มีความชำนาญในการใช้คอมพิวเตอร์ไปในทางที่ผิดกฎหมาย เช่น แอบขโมยข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย หรือแอบแก้ตัวเลขในธนาคารเพื่อถอนเงินออกมาใช้เอง คำว่า hack อาจหมายถึงการแอบปรับแก้หรือดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ก็แก้แล้วยิ่งกลับทำให้แย่ลง |
lisp | ลิสพ์ย่อมาจาก List Programming เป็นชื่อภาษาคอมพิวเตอร์อีกภาษาหนึ่ง ภาษานี้เกิดขึ้นในราว ๆ ต้น ค.ศ.1960 ที่ MIT เพื่องานวิจัยในด้านปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) โปรแกรมที่ใช้ภาษานี้ก็มีประเภทโปรแกรมประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language) และการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ในเรื่องของปัญญาประดิษฐ์ |
logo | n. รูปแบบที่เป็นสัญลักษณ์,รูปแบบเอกลักษณ์ โลโก (ภาษา) เป็น ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง (high level language) ภาษาหนึ่ง เขียนขึ้น ไว้โดยมีวัตถุประสงค์ให้เด็ก ๆ ใช้ในการเรียนรู้วิธีใช้คอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นภาษาเชิงสนทนา (conversational language) |
macintosh | (แมค' คินทอช) n. ชื่อคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง แมคอินทอชเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตระกูลสำคัญตระกูลหนึ่ง ออกแบบสร้างขึ้นโดยบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ นำออกสู่ตลาดครั้งแรกในปี ค.ศ.1984 คอมพิวเตอร์ตระกูลนี้ประกอบด้วยตัวประมวลผลแบบจุลภาค (microprocesssor) ขนาด 32 บิต เป็นเครื่องแรก อีกทั้งได้สร้างตัวประสานกับผู้ใช้ (user interface) ทำให้ผู้ใช้เครื่องรู้สึก สะดวกสบายเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถเรียนรู้เข้าใจได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานในวิทยาการคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากใช้ภาพเป็นสื่อทำให้เข้าใจสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ต่อมาเครื่องพีซีก็สร้างระบบวินโดว์ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตาม เครื่องยี่ห้อนี้มีส่วนแบ่งการตลาดสูงรองจากเครื่องของบริษัทไอบีเอ็มเท่านั้น |
mastery | (มาส'เทอรี) n. ความเป็นนาย,อำนาจปกครอง,อำนาจควบคุม,ความเข้าใจ,ความรอบรู้,ชัยชนะ,การเรียนรู้,ความเชี่ยวชาญ |
primitive | (พริม'มิทิฟว) adj. แรกเริ่ม,เบื้องต้น,สมัยแรก,ดั้งเดิม,บรรพกาล,ดึกดำบรรพ์,ยังป่าเถื่อน,ง่าย ๆ ,หยาบ,พื้นฐาน. n. คนสมัยดึกดำบรรพ์,นักศิลปะที่เรียนด้วยตนเอง,ผลงานของนักศิลปะที่เรียนรู้ด้วยตนเอง, See also: primitiveness n. primitivity n. คำที่มี |
self-taught | (เซลฟฺ'ทอท) adj. สอนตัวเอง,เรียนรู้ด้วยตัวเอง,ศึกษาเอง |
understand | (อันเดอะสแทนดฺ') vt.,vi. เข้าใจ,รู้,รู้จัก,เข้าใจความหมาย,เรียนรู้,เชื่อ,ยอมรับว่าเป็นความจริง,เห็นอกเห็นใจ, Syn. comprehend |
user-hostile | ยากสำหรับผู้ใช้หมายถึง ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่ใช้ยาก (แปลตามตัวว่าโหดร้ายกับผู้ใช้) แม้คนที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ดี ก็ยังไม่สามารถใช้ได้ กล่าวคือ เรียนรู้ได้ยาก มีความหมายตรงข้ามกับ user - friendly ดู user - friendly เปรียบเทียบ |
neural network | เครือข่ายเส้นประสาทหมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเลียนแบบเส้นใยประสาทของมนุษย์ ที่เรียกว่า นิวโรน ในสมองมนุษย์ ซึ่งมีนับจำนวนล้าน ๆ ตัว การประมวลผลกิจกรรมต่าง ๆ จะออกมาในลักษณะแบบขนาน (ไม่ใช่แบบอนุกรม) หมายถึง ทำงานพร้อม ๆ กัน เพื่อให้ได้คำตอบอันเดียว ทั้งนี้หมายถึง การที่ต้องสามารถทำงานที่สลับซับซ้อนมาก ๆ โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ได้เอง ฉะนั้นการที่เครือข่ายแบบนิวโรนนี้จะให้คำตอบได้ก็ต่อเมื่อมีการส่งปัญหาต่าง ๆ เข้าไปให้ลองทำมาก ๆ เครือข่ายแบบนี้จะเป็นประโยชน์ เฉพาะในงานประมวลผลงานบางประเภท เช่น เรื่องการประมวลผลเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นในตลาด หรือการหาความคล้ายคลึงระหว่างภาพหลาย ๆ ภาพ เช่น ลายนิ้วมือ เป็นต้น ดู artificial intelligence ประกอบ |
packaged program | โปรแกรมสำเร็จในทางคอมพิวเตอร์ใช้หมายถึง application package ซึ่งก็คือ โปรแกรมสำเร็จที่มีผู้เขียนไว้จำหน่าย มีการจดลิขสิทธิ์ (ห้ามการคัดลอก) ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก ราคาถูกกว่าการจ้างเขียน การใช้ก็ไม่ยาก ผู้ที่ซื้อไปใช้เพียงแต่อ่านคู่มือเอาเอง หรือเรียนรู้วิธีใช้คำสั่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้ผลิตจะแข่งขันกันในการทำให้โปรแกรมเหล่านี้ใช้ง่าย มีทั้งโปรแกรมระบบ เช่น MS DOS และ Windows โปรแกรมตารางจัดการเช่น Excel, Lotus โปรแกรมประมวลผลคำ เช่น Word Perfect, MS Word, CU Writer ฯลฯ |
software package | ส่วนชุดคำสั่งสำเร็จซอฟต์แวร์สำเร็จในทางคอมพิวเตอร์ บางทีใช้สั้น ๆ ว่าpackage ซึ่งก็คือ โปรแกรมสำเร็จที่มีผู้เขียนไว้จำหน่าย มีการจดลิขสิทธิ์ (ห้ามการคัดลอก) ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก ราคาถูกกว่าการจ้างเขียน การใช้ก็ไม่ยาก ผู้ที่ซื้อไปใช้เพียงแต่อ่านคู่มือเอาเอง หรือเรียนรู้วิธีใช้คำสั่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้ผลิตจะแข่งขันกันในการทำให้โปรแกรมเหล่านี้ใช้ง่าย มีทั้งโปรแกรมระบบ เช่น MS DOS และ Windows โปรแกรมตารางจัดการเช่น Excel, Lotus โปรแกรมประมวลผลคำ เช่น Word Perfect, MS Word, CU Writer ฯลฯมีความหมายเหมือน packaged program |
tele-education | การศึกษาทางไกลหมายถึง การศึกษาทางไกลผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนสามารถมองเห็นอาจารย์ผู้สอนได้ทั้งที่ผู้สอนอยู่ไกลออกไปโดยมองเห็นผ่านทางจอภาพของคอมพิวเตอร์ และใช้เทคโนโลยีที่ทำให้นักเรียนรู้สึกเหมือนมีครูอยู่ในห้องเรียน สามารถโต้ตอบไต่ถามครูได้เหมือนอยู่ในห้องเรียนธรรมดา |
windows | ย่อจากคำเต็มว่า Microsoft Windows เป็นชื่อของโปรแกรมระบบวินโดว์สของบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งทำงานภายใต้ระบบไมโครซอฟต์ดอส (Microsoft DOS) ที่เขียนโดยบริษัทเดียวกัน ถือว่าเป็นโปรแกรมระบบที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิป 80286 ขึ้นไป สามารถใช้ระบบวินโดว์สได้ ระบบวินโดว์ได้พัฒนาตลอดมา ปัจจุบัน กำลังอยู่ระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะเปลี่ยนจากวินโดว์ส 3.1 เป็นวินโดว์ส 95 วินโดว์ส 97 และวินโดว์ส 2000 ต่อไป ระบบวินโดว์นี้จะรวมเอาโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) ต่าง ๆ ไว้ให้อย่างพร้อมมูล นอกจากนั้น หลายบริษัทยังสร้างโปรแกรมสำเร็จต่าง ๆ ให้ทำงานบนระบบวินโดว์สนี้ เช่น Aldus PageMaker, Freelance ทุกโปรแกรมจะมีวิธีการใช้พื้นฐานคล้ายคลึงกัน ทำให้ง่ายในการเรียนรู้ เพราะเรียนรู้โปรแกรมหนึ่ง ก็ทำให้มีแนวที่จะเรียนโปรแกรมอื่นง่ายขึ้น ระบบวินโดว์สนี้ จะเน้นในเรื่องการใช้ภาพเป็นสื่อ มีการใช้เมาส์ ใช้เมนู มีรายการเลือกต่าง ๆ ทำให้ผู้ใช้รู้สึกสะดวกขึ้นมาก |