bank switching | การสลับชิปไปมาหมายถึง การสลับไปมาของการใช้ชิปในหน่วยความจำเดิมที่ติดมากับเครื่อง กับหน่วยความจำที่เพิ่มภายหลัง ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้รู้สึกเสมือนว่า หน่วยความจำทั้งสองนั้นเป็นหน่วยความจำเดียวกัน เช่น บริษัทไอบีเอ็มผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกมาขายในตลาดโดยมีหน่วยความจำติดมาภายในตัวเครื่องเพียง 640 เคไบต์ แต่เรานำไปเพิ่มหน่วยความจำเป็นถึง 16 เมกกะไบต์ การที่จะทำให้หน่วยความจำเดิมกับหน่วยความจำที่เพิ่มมาใหม่ทำงานสลับกันไปมาได้ ก็จะต้องอาศัยการสลับชิปไปมานี้ อย่างไรก็ตาม หากเราเป็นเพียงผู้ใช้เครื่อง (user) ก็ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องนี้เท่าไรนัก เป็นหน้าที่ของช่างฝ่ายเทคนิคที่จะต้องติดตั้งหรือจัดการทำให้ |
diskette | แผ่นบันทึกหมายถึง จานบันทึกขนาดเล็ก เฉพาะที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะอ่อน จึงเรียกว่า แผ่นบันทึก บรรจุไว้ในซองกระดาษ ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล เช่นเดียวกับจานบันทึกแม่เหล็ก ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว มีความจุประมาณ 360 เคไบต์ (K byte) หรือ 360,000 ตัวอักษร และ 1.2 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร บางทีเรียกกันว่า floppy disk นอกจากนั้น มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว บรรจุอยู่ในซองที่แข็งกว่า มีความจุประมาณ 720 เคไบต์ และ 1.44 เมกะไบต์ หรือ หนึ่งล้านสี่แสนตัวอักษร ในปัจจุบัน อาจใช้เก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า ทำให้บรรจุข้อมูลได้มาก (เดิมบรรจุข้อมูลได้หน้าเดียว) หรือบางทีอาจทำให้ข้อมูลเบียดอัดมากขึ้น เรียกว่า double density (DD) ชนิดธรรมดาเรียกว่า single density (เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว) และหากเก็บข้อมูลได้หน้าเดียว เรียกว่า single sided (SS) ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว หากเก็บข้อมูลได้ทั้งสองหน้า เรียกว่า double sided (DS) แผ่นบันทึกชนิดที่มีความจุพิเศษ คือจุได้ถึง 1.2 ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 5.25 นิ้ว และจุได้ 1.44ล้านตัวอักษรสำหรับแผ่น 3.5 นิ้ว เรียกว่า high density (HD) ดู disk ประกอบ |
file size | ขนาดแฟ้มข้อมูลหมายถึง จำนวนเนื้อที่ที่แฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้มใช้เมื่อเก็บลง ในจานบันทึก โดยปกติ จะวัดกันเป็นไบต์ (byte) , หรือ เคไบต์ (K byte) |
k | (เค) พยัญชนะอังกฤษตัวที่ 11,เสียง K ย่อมาจาก kilobyte (กิโลไบต์) มีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า KB ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก ฯ 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737,280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65,536 ตัวอักขระ |
kilobyte | (กิโลไบต์) ใช้ตัวย่อว่า KB มีค่าเท่ากับ 1,024 (2 ยกกลง 10) ไบต์ เช่น ถ้าพูดว่าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำ 64 เคไบต์ หมายความว่า มีเนื้อที่ในหน่วยความจำ 65,536 ไบต์ สามารถเก็บตัวอักขระได้ 65,536 ตัวอักขระ |
storage capacity | ความจุของหน่วยเก็บข้อมูลหมายถึง จำนวนข้อมูลที่หน่วยเก็บ เช่น จานบันทึก ฮาร์ดดิสก์ แถบแม่เหล็ก สามารถรับข้อมูลไปเก็บไว้ได้ โดยปกติจะวัดกันเป็น เคไบต์ (K bytes) |
kb | ย่อมาจาก kilobyte มีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า K เฉย ๆ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737,280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65,536 ตัวอักขระ |
kiiobyte | ใช้ตัวย่อว่า K หรือ KB มีค่าเท่ากับ 1,024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า KB ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก ฯ 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737,280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65,536 ตัวอักขระ |
segment | (เซก'เมินทฺ) n. ส่วน,ตอน,ท่อน,ข้อ,ปล้อง,ซีก,เสี้ยว,ชั้น,กลีบ,ส่วนตัดของรูป vt.,vi. แยกหรือแบ่งออกเป็นส่วน (ตอน,ท่อน,ข้อ...) เซ็กเมนต์หน่วยความจำในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาด 1 เมกะไบต์ จะถูกแบ่งออก เป็น 16 ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า "เซ็กเมนต์ " แต่ละเซ็กเมนต์จะมีความจุ 64 เคไบต์ (เฉพาะชิป (chip) 8088 หรือ 8086), See also: segmentary adj., Syn. part |