Solvent | ตัวทำละลาย หมวดสารพิษและกากของเสีย หมายถึง ของเหลวที่ละลายสารอื่น อาจจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ตัวทำลายนี้เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ในสารละลาย หมวดคุณภาพน้ำ หมายถึง ของเหลวที่ใช้ในการละลายสาร [สิ่งแวดล้อม] |
acetic acid | กรดแอซีติก, กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CH3COOH มีชื่อสามัญว่า กรดน้ำส้ม ใช้เป็นสารปรุงอาหาร เป็นตัวทำละลายและใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น พลาสติก สี การถ่ายรูป เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Ebonite | อีโบไนต์หรือยางแข็ง (hard rubber) คือ ยางที่ผ่านกระบวนการวัลคาไนเซชันโดยใช้กำมะถันในปริมาณสูง (30-50%) และให้ความร้อน ทำให้ยางมีโครงสร้างแบบร่างแห (network) และมีสมบัติแข็งมากแต่เปราะ ติดไฟง่าย ไม่เป็นพิษ ไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ทั่วไป นิยมใช้ทำหม้อบรรจุแบตเตอรีหรือภาชนะบรรจุกรด-เบส [เทคโนโลยียาง] |
ether | อีเทอร์, สารอินทรีย์ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทั่วไป คือ R - O - R´ เช่น ไดเอทิลอีเธอร์(C2H5 - O - C2H5) เป็นของเหลวไม่มีสี ใช้เป็นยาสลบและตัวทำละลาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
lipid | ลิพิด, ไขมัน, สารประกอบอินทรีย์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยธาตุ C, H, O เป็นส่วนใหญ่ไม่ละลายน้ำแต่ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ขี้ผึ้ง ไขมันสัตว์ น้ำมันที่สกัดจากพืช เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Recovery | การนำกลับคืนการสกัดสารมีค่าออกมาแบ่งออกเป็น : Material Recovery สกัดสารเป็นประโยชน์ออกมา เช่นกลั่นสารตัวทำละลายจากน้ำเสีย สกัดแร่เงินออกจากน้ำยาล้างฟิล์ม, ทำปุ๋ยจากขยะ : Energy Recovery สกัดพลังงานเป็นประโยชน์ออกมา เช่น นำขยะมาหมักจนได้ก๊าซชีวภาพ ซึ่งใช้หุงต้มได้, นำขยะมาเผาได้ความร้อนไปผลิตกระแสไฟฟ้า [สิ่งแวดล้อม] |
Sol rubber | ยางส่วนที่ละลายในตัวทำละลาย [เทคโนโลยียาง] |
solute | ตัวละลาย, สารที่เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของสารละลายและมีปริมาณน้อยกว่าองค์ ประกอบอีกส่วนหนึ่งซึ่งเรียกว่า ตัวทำละลาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Tinner | ทินเนอร์ สารอินทรีย์ที่เป็นตัวทำละลาย ซึ่งใช้ผสมกับสิ่งอื่นเพื่อช่วยลดความหนืดหรือความข้นเหลว และตามปกติในการใช้ไม่มุ่งหมายให้เกิดปฏิกริยาทางเคมีต่อสิ่งของนั้น ทางเคมีต่อสิ่งของนั้น [สิ่งแวดล้อม] |