alphameric | อักขระที่เป็นตัวเลขอักษรเลขหมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่พิมพ์จากแป้นพิมพ์ ทั้งตัวอักษร และตัวเลข |
alphanumeric characters | หมายถึง สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่พิมพ์จากแป้นพิมพ์ ทั้งตัวอักษร และตัวเลข |
apple desktop bus | ตัวนำข้อมูลเข้า ใช้ตัวย่อว่า ADB หมายถึง ตัวประสาน (interface) ที่ทำหน้าที่ประสานการทำงานของแป้นพิมพ์ เมาส์ (mouse) แทร็กบอลล์ (trackball) ฯ และอุปกรณ์ป้อนข้อมูลอื่น ๆ ให้สามารถนำข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ (เฉพาะแมคอินทอช) |
arrow keys | แป้นลูกศรเป็นแป้นพิมพ์พิเศษที่ใช้เพื่อการเลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ให้ขึ้นลง หรือขยับไปทางซ้ายหรือ ขวาได้ แป้นลูกศรนี้มีอยู่ 4 แป้นและจะมีลูกศรเล็ก ๆ เป็นเครื่องหมายบ่งบอกทิศทางของการ เลี่อน (ซ้าย,ขวา,บน,ล่าง) |
backspace key | ปุ่มย้อนถอยหลัง เป็นแป้น ๆ หนึ่งบนแผงแป้นอักขระ บางทีมีขนาดยาวกว่าแป้นพิมพ์อื่น บางทีมีสัญลักษณ์เป็นรูปลูกศรหันหัวลูกศรไปทางซ้าย (บางทีมีคำ BS) โปรแกรมสำเร็จหลายโปรแกรมกำหนดไว้ว่า การกดแป้นนี้ทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ถอยไปทางซ้าย 1 ตัวอักษร และลบตัวอักษรทางซ้ายนั้นออกให้ด้วย |
bs | abbr. blood sugar,breath sound,bowel sound, (บีเอส) 1. ย่อมาจาก billisecond เท่ากับ 1/1,000 ล้านวินาที 2. ถ้าอยู่บนแป้นพิมพ์ จะเป็นตัวย่อของ backspace ใช้เป็นแป้นถอยหลัง ดู Backspace key |
caps lock key | แป้นตรึงอักษรตัวใหญ่ เป็นแป้น ๆ หนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีคำ Caps lock อยู่บนแป้น ปกติจะมีในเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดาด้วย หากกดแป้นนี้ไว้ครั้งหนึ่งแล้ว ถ้าเป็นการพิมพ์ภาษาอังกฤษ จะมีผลทำให้การกดแป้นพิมพ์ตัวอักษรทุกตัวออกมาเป็นตัวใหญ่ (capital letter) ไปตลอด เหมือนกดแป้น Shift ไปพร้อมกัน แต่ถ้าพิมพ์ภาษาไทย การกดแป้นนี้ไว้ตั้งแต่แรก แล้วไปกดแป้นอื่น ก็จะเท่ากับเป็นการพิมพ์ตัวที่อยู่ข้างบนของแป้นพิมพ์ เช่น ฤ ฆ ฏ 1 2 หากต้องการยกเลิก ให้กดแป้นนี้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง |
character graphics | อักขระภาพหมายถึง สัญลักษณ์หรือภาพต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นโดยการกดแป้นพิมพ์ ถือว่าเป็นแบบอักษร (font) แบบหนึ่ง (สำหรับเครื่องพีซี อาจใช้วิธีกดแป้น ALT+ เลขต่าง ๆ ตาม รหัสที่กำหนดไว้ก็ได้) เช่น แบบตัวอักขระภาพที่มากับระบบวินโดว์ของพีซี มีชื่อว่า Wingdings ส่วนของแมคอินทอช ชื่อ Zapf การขยายหรือลดขนาดภาพเหล่านี้ ใช้วิธีเดียวกับที่ทำกับแบบอักษรอื่น ๆ ไม่ใช่วิธีที่ทำกับภาพ |
computer system | ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง หรือหนึ่งชุด ซึ่งประกอบด้วย 1. หน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น แป้นพิมพ์ 2. หน่วยประมวลผลกลาง (cetral processing unit) 3. หน่วยแสดงผล (output unit) เช่น จอภาพ เป็นต้น |
cursor key | แป้นควบคุมตัวชี้ตำแหน่งหมายถึง แป้นพิมพ์ที่สามารถเคลื่อนย้ายตัวชี้ตำแหน่งไปในทิศทางที่ต้องการ เช่นแป้นลูกศร, แป้น PageUp, PageDn เป็นต้น บางทีเรียก arrow keys หรือ cursor movement keys |
dvorak keyboard | แป้นพิมพ์ดีโวรักแป้นพิมพ์แบบพิเศษ ที่อ้างว่าจัดเรียงลำดับของแป้นอักษรและสัญลักษณ์ เพื่อให้ สะดวกในการใช้สอยสูงสุด แต่กลับมีคนรู้จักน้อยและไม่นิยมใช้กันเท่าใดนัก ดู Qwerty keyboard เปรียบเทียบ |
edit mode | ภาวะบรรณาธิกรหมายถึง การที่คอมพิวเตอร์อยู่ในสภาวะที่เตรียมพร้อมจะรับการแก้ไข เราสามารถสั่งแก้ไขข้อความบนจอภาพได้ โดยผ่านทางแป้นพิมพ์ |
event-driven programming | การเขียนโปรแกรมเชิงเหตุการณ์หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมวิธีหนึ่งที่จะนำเอาเหตุการณ์จริงเข้ามาใช้ และจะรอคอยให้ผู้ใช้ กดแป้นพิมพ์ หรือเมาส์ เสียก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนใด ๆ |
command key | เป็นแป้นพิมพ์พิเศษแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระของเครื่องแมคอินทอช ซึ่งมีสัญลักษณ์ เป็นรูปแอปเปิลแหว่งอยู่บนแป้น หากใช้พร้อมกับแป้นอื่นสามารถใช้แทนคำสั่งบางคำสั่งได้ เช่น ถ้ากดแป้นนี้พร้อมกับแป้น X แปลว่าสั่งให้ cut ถ้ากดแป้นนี้พร้อมกับ แป้น C แปลว่าสั่งให้ copy และถ้ากดแป้นนี้พร้อมกับแป้น V ก็เป็นการ สั่ง paste (ทำหน้าที่คล้ายแป้น ALT ของเครื่องพีซี) |
con | (คอน) 1. {conned,conning,cons} v. ต่อต้าน,แย้ง,เรียนรู้,ศึกษา,ตรวจสอบอย่างระมัดระวัง,จำไว้,นำเรือ,ถือพวงมาลัยเรือ n. การต่อต้าน,การโต้เถียง,ผู้คัดค้าน,ผู้ลงบัตรคัดค้าน,นักโทษ,วัณโรค adj. ซึ่งหลอกให้เชื่อ 2. ย่อมาจากคำว่า CONsole ซึ่งศัพท์บัญญัติฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ส่วนเฝ้าคุม ในวงการคอมพิวเตอร์ มักจะหมายถึง อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ส่วนที่เป็นแป้นพิมพ์และจอภาพ เป็นต้นว่า คำสั่ง COPY CON:autoexec.bat เป็น คำสั่งที่นำมาใช้เมื่อต้องการนำข้อความที่เราพิมพ์จากแป้นพิมพ์และมองเห็นบนจอภาพ (โดยไม่ต้องใช้โปรแกรมประมวลผลคำ) คัดลอกเข้าไปเก็บไว้เป็นแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่ง ชื่อว่า autoexec.bat เมื่อพิมพ์ข้อความที่ต้องการเสร็จแล้ว ให้กด CTRL+Z หลังจากนั้น ในคอมพิวเตอร์ก็จะมีแฟ้มข้อมูลชื่อ autoexec.bat ซึ่งบรรจุข้อความที่พิมพ์ไว้นั้น |
config.sys | แฟ้มโครงแบบย่อมาจาก configuration system เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในระบบดอสและโอเอสทูซึ่งจะมีข้อความที่กำหนดในเรื่องการใช้แป้นพิมพ์ จำนวนของบัฟเฟอร์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบนั้นจะใช้ ฯ พอเริ่มใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไปสักพัก ก็จะต้องเรียนรู้วิธีการสร้างแฟ้มข้อมูลนี้ คอมพิวเตอร์จะแฟ้มข้อมูลนี้เฉพาะเมื่อมีการเริ่มเครื่องใหม่เท่านั้น |
control panel | แผงควบคุมเป็นชื่อโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) กลุ่มหนึ่ง เป็นตัวกำหนดเกี่ยวกับอุปกรณ์ หรือส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น จอภาพ, เมาส์ , แป้นพิมพ์, หน่วยความจำ ระบบเครือข่าย ฯ control panel นี้จะมีให้ใช้ทั้งในแมคอินทอช และระบบวินโดว์บนพีซี หรือ Presentation Manager ของ โอเอสทู (OS 2) |
dumb terminal | เครื่องปลายทางใบ้เครื่องปลายทางธรรมดาหมายถึง เครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ชนิดธรรมดา ดูเผิน ๆ จะเหมือนกับไมโครคอมพิวเตอร์ แต่จริง ๆ แล้ว จะมีแต่แป้นพิมพ์และจอภาพ ซึ่งเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe) ที่อื่น เครื่องปลายทางชนิดนี้ไม่มีหน่วยบันทึกข้อมูล หน่วยความจำ หรือตัวประมวลผล ฉะนั้นจะเก็บข้อมูลหรือประมวลผลอะไรไม่ได้เลยดู intelligent terminal หรือ smart terminal เปรียบเทียบ |
extended keyboard | หมายถึง แผงแป้นอักขระที่มีแป้นต่าง ๆ เพิ่มมากกว่าแป้นพิมพ์ปกติ นอกจากจะมีแป้นตัวเลขและแป้นตัวอักษรแยกออกจากกันแล้ว ยังมีแป้นฟังก์ชันอีกประมาณ 10 -15 แป้น โดยปกติแป้นพิมพ์ชนิดนี้จะมี 101 แป้น จึงมักจะมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า 101 key keyboard มีความหมายเหมือน expanded keyboard |
green pc | พีซีประหยัดไฟหมายถึงคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการจัดสร้างให้ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุด เช่น ถ้าไม่ใช้แป้นพิมพ์หรือเมาส์ชั่วระยะหนึ่ง จอภาพก็จะมืด (ไม่มีแสงสว่าง) |
home key | แป้นกดกลับตำแหน่งต้นเป็นแป้นพิมพ์แป้นหนึ่งในแผงแป้นอักขระ มีคำว่า Home อยู่บนแป้น เมื่อกดแป้นนี้จะเป็นการบังคับให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) กลับไปสู่จุดเริ่มต้นของบรรทัดใหม่ หรือจุดเริ่มต้นบรรทัดบนสุดของเอกสารหน้าหนึ่ง ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโปรแกรมแต่ละโปรแกรมด้วย |
enter key | แป้นป้อนเข้าหมายถึง แป้นที่จะใช้กด เมื่อพิมพ์คำสั่งเสร็จแล้ว และต้องการให้คอมพิวเตอร์เริ่มทำงานตามคำสั่ง ถ้าเป็นโปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) แป้นนี้เป็นแป้นสำหรับสั่งให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ ในบางครั้งก็เรียกกันว่า Return key และมักเขียนย่อว่า ในบางโปรแกรม แป้นนี้อาจถูกกำหนดให้ทำอย่างอื่นก็ได้ แป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ทุกชนิด ทุกยี่ห้อ จะต้องมีแป้นนี้ |
esc key | (แป้นพิมพ์) แป้นหลีกมาจากคำว่า ESCape key ซึ่งเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีไว้เพื่อสั่งให้ยกเลิกคำสั่งสุดท้ายที่ได้สั่งให้เครื่องปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้ว เป็นต้นว่า สั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูล ถ้าเกิดเปลี่ยนใจ ให้กดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะเลิกทำ คล้าย ๆ กับการกดเมาส์ที่ " cancel " โดยปกติ แป้นนี้มักจะอยู่แถวบนสุดทางด้านซ้ายของแผงแป้นอักขระ |
escape character | อักขระหลีกตัวอักขระบนแป้นพิมพ์ที่เมื่อกดแล้ว ทำให้ตัวอักขระอื่น ๆ ที่ตามมา ต้องแปลความต่างไป จากตัวอักขระที่ใช้มาก่อนหน้านี้ ตัวอย่าง เช่น จะใช้อักขระหลีก เพื่อกำหนดความหมายว่า ตัวอักขระที่จะใช้ต่อไปนั้น จะต้องใช้รหัสแปลความแตกต่างไปจากรหัสแปลความที่เคยใช้ก่อนหน้านี้ หรืออาจจะถือว่า อักขระเหล่านั้นไม่ใช่ข้อมูลอีกต่อไป แต่เป็นอักขระเพื่อการควบคุมเท่านั้น เป็นต้น |
function keys | แป้นกำหนดหน้าที่หมายถึง แป้นพิเศษกลุ่ม หนึ่งที่มักจะถูกจัดไว้ให้อยู่แถวบน สุดของแป้นพิมพ์ (บางทีก็อยู่ ด้านซ้ายมือ) ปกติจะมีอยู่ราว ๆ 10-15 แป้น บนแป้นจะมีตัวอักษร F ตามด้วยเลขตั้งแต่ 1-15 (แล้วแต่ว่ามีกี่แป้น) แป้นเหล่านี้จะถูกกำหนด หน้าที่ เฉพาะ ให้ใช้แทนคำสั่งบางคำสั่งได้เลย เช่น ในระบบดอส แป้น F3 จะใช้แทนคำสั่ง copy ได้ เป็นต้น |
hardware | n. เครื่องโลหะ. ,เครื่องกลไกที่ใช้ปฏิบัติการ,อาวุธ,ยุทโธปกรณ์,อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องกลไกของคอมพิวเตอร์,หมายถึง ส่วนกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1. หน่วยรับข้อมูล เช่น แป้นพิมพ์ หน่วยบันทึก 2. หน่วยความจำ เช่น ชิป (chip) หรือหน่วยความจำรอง เช่น จานบันทึก 3. หน่วยแสดงผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ ฯลฯ นอกจากนั้นยังรวมถึงอุปกรณ์ ประกอบอื่น ๆ เช่น โมเด็ม ดู software เปรียบ เทียบ |
interface | ตัวประสานหมายถึง การเชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์ ที่ถ่ายโอนข้อมูลจากกันและกันได้ แต่มักนำมาใช้ในความหมายของ user interface ที่แปลว่า การติดต่อประสานระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ เช่น แป้นพิมพ์, จอภาพ ต่างก็เป็นตัวประสานกับผู้ใช้ทั้งสิ้น |
keyboard | (คี'บอร์ด) n. แถวก้านดีดของเปียโน,แถวก้านดีดที่มีตัวอักษรของเครื่องพิมพ์ดีด,แป้นพิมพ์ดีด |
keypad | แผงแป้นพิเศษหมายถึง กลุ่มแป้นพิมพ์ที่จัดไว้เป็นกลุ่ม ๆ เพื่อให้สะดวกในการใช้พิมพ์งานที่เป็นประเภทเดียวกัน เช่น แผงแป้นตัวเลข (numeric keypad) หรือ แผงแป้นตัวชี้ตำแหน่ง (cursor keypad) เป็นต้น |
lower case | ตัวเล็กใช้เมื่อพูดถึงแป้นพิมพ์ หมายถึง การพิมพ์ตัวเล็กในความหมายที่ไม่ใช่ capital letter เช่น a b c d .. (ถ้า เป็นตัวใหญ่ ต้องมีลักษณะดังนี้ เช่น A B C D ภาษาไทยไม่มีตัวเล็ก/ตัวใหญ่ lower case จึงหมายถึง อักขระตัวล่าง และ upper case หมายถึงอักขระตัวบนของแป้นพิมพ์ดู upper case เปรียบเทียบ |
pointing device | อุปกรณ์ชี้หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เคลื่อนที่ ไปได้ทั่วจอภาพ อาจเป็นแป้นพิมพ์ เมาส์ (mouse) แทร็กบอลล์ (trackball) หรือ ก้านควบคุม (joystick) ก็ได้ |
input device | อุปกรณ์รับเข้าหมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถอ่านข้อมูล และส่งข้อมูลเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เพื่อให้ทำการประมวลผลต่อไป โดยอุปกรณ์นี้จะส่งข้อมูลหรือโปรแกรมไปยังหน่วยความจำก่อน ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ก็จะมีหลายชนิด เป้นต้นว่า หน่วยขับจานบันทึก หน่วยขับแถบบันทึก เครื่องกราดภาพ ฯ ถ้าเป็นไมโครคอมพิวเตอร์ ก็รวมถึง แป้นพิมพ์ เมาส์ ฯลฯ ด้วยดู output device เปรียบเทียบ |
keyboard buffer | ที่พักข้อมูล (ที่ส่งเข้าไปทางแป้นพิมพ์) หมายถึง เขตพื้นที่ของหน่วยความจำส่วนหนึ่ง ที่แบ่งเอาไว้เพื่อรองรับสัญญาณ ที่จะเกิดขึ้น เมื่อเราพิมพ์สัมผัสเร็วกว่าที่เครื่องจะรับปฏิบัติตามคำสั่งได้ทัน คอมพิวเตอร์ จะนำข้อมูลที่เรากดแป้นพิมพ์แล้ว ไปเก็บไว้ยัง "ที่พักข้อมูล" นี้ก่อน จะเห็นได้ว่า ในบางครั้ง แม้เราจะหยุดพิมพ์แล้ว ที่พักข้อมูลส่วนนี้ก็ยังทะยอยส่งข้อมูลที่เรากดแป้นไว้เข้าไปยังหน่วยความจำมีความหมายเหมือน keystroke buffer |
keystroke buffer | หมายถึง เขตพื้นที่ของหน่วยความจำส่วนหนึ่ง ที่แบ่งเอาไว้เพื่อรองรับสัญญาณ ที่จะเกิดขึ้น เมื่อเราพิมพ์สัมผัสเร็วกว่าที่เครื่องจะรับปฏิบัติตามคำสั่งได้ทัน คอมพิวเตอร์ จะนำข้อมูลที่เรากดแป้นพิมพ์แล้ว ไปเก็บไว้ยัง "ที่พักข้อมูล" นี้ก่อน จะเห็นได้ว่า ในบางครั้ง แม้เราจะหยุดพิมพ์แล้ว ที่พักข้อมูลส่วนนี้ก็ยังทะยอยส่งข้อมูลที่เรากดแป้นไว้เข้าไปยังหน่วยความจำมีความหมายเหมือน keyboard buffer |
micr | (เอ็มไอซีอาร์) ย่อมาจาก magnetic ink character reader แปลว่าเครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็ก การอ่านนี้จะทำให้คอมพิวเตอร์นำข้อมูลที่อ่านไปเก็บในหน่วยความจำแล้วประมวลผลให้ เหมือนกับการป้อนข้อมูลทางแป้นพิมพ์ หมึกที่ใช้ต้องมีลักษณะพิเศษ เช่นเป็นแม่เหล็ก ส่วนมากใช้อ่านในกิจการของธนาคาร เช่น อ่านเลขที่บัญชีของลูกค้าในสมุดเช็ค เป็นต้น |
numeric keypad | แผงแป้นตัวเลขหมายถึง กลุ่มแป้นพิมพ์ที่มีตัวเลข และเครื่องหมายที่ใช้ในการคำนวณ จัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เรียงกันแบบเดียวกับเครื่องคิดเลข มักอยู่ทางด้านริมขวาของแผงแป้นอักขระ (keyboard) เพื่อ ความสะดวกรวดเร็วในการพิมพ์ ถ้าจะพิมพ์เฉพาะตัวเลข มีราว ๆ 10 - 20 แป้น การใช้แป้นใน กลุ่มนี้พิมพ์ตัวเลข จะต้องกดแป้น Num Lock ก่อน (ดู Num Lock) มิฉะนั้นจะใช้เป็นเหมือนแป้นลูกศร หรือพิมพ์ไม่ติดเลย หรืออาจเป็นสัญลักษณ์สั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำคำสั่งอื่น ๆ แทน |
print screen | แป้นพิมพ์จอภาพเป็นแป้น ๆ หนึ่ง ใช้เป็นคำสั่งในระบบดอส ที่สั่งให้พิมพ์ข้อความที่ปรากฏบนจอภาพออกทางเครื่องพิมพ์ โดยการกดแป้นนี้บนแผงแป้นอักขระ ที่มีอักษรย่อว่า PrtSc อยู่บนแป้น แต่ในระบบวินโดว์ การกดแป้นนี้ จะเป็นคำสั่งเก็บภาพที่ปรากฏบนจอภาพไว้ในคลิปบอร์ด (clipboard) |
ocr | abbr. optical character recognition,optical character reader (แปลตรง ๆ ได้ว่า เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง) หมายถึง ความสามารถของคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมทำให้แสงผ่านตัวอักขระหรือภาพ แล้วสามารถรับรู้ นำเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ และนำไปประมวลผลได้ ซึ่งจะทำให้ทุ่นเวลากว่าการส่งข้อมูลเข้าด้วยแป้นพิมพ์ได้มากทีเดียว ใช้ในการอ่านตัวเลขต่าง ๆ เช่น ธนาคารนำมาใช้อ่านเบอร์บัญชีของเช็ค เป็นต้น |
optical character reecogn | การรับรู้อักขระด้วยแสงใช้ตัวย่อว่า OCR (อ่านว่า โอซีอาร์) หมายถึง ความสามารถของคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมทำให้แสงผ่านตัวอักขระหรือภาพ แล้วสามารถรับรู้ นำเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ และนำไปประมวลผลได้ ซึ่งจะทำให้ทุ่นเวลากว่าการส่งข้อมูลเข้าด้วยแป้นพิมพ์ได้มากทีเดียว ใช้ในการอ่านตัวเลขต่าง ๆ เช่น ธนาคารนำมาใช้อ่านเบอร์บัญชีของเช็ค เป็นต้น |
screen saver | โปรแกรมรักษาจอภาพหมายถึง โปรแกรมพิเศษที่จัดให้จอภาพมีภาพที่เคลื่อนไหวได้มาแทนงานที่กำลังทำ ทั้งนี้เพราะการปล่อยให้จอภาพแสดงภาพใดภาพหนึ่งนานเกินไป จอจะมีรอยไหม้ (burn in) รอยนี้จะติดอยู่ตลอดไป ลบออกไม่ได้ บางทีอาจทำให้จอมืดไปเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อขยับเมาส์ หรือแตะที่แป้นพิมพ์แป้นใดแป้นหนึ่ง ข้อความหรือภาพบนจอที่เคลื่อนไหวอยู่ ก็จะหายไป และกลับเป็นเหมือนเดิม ในระบบวินโดว์ คำสั่งกำหนดเรื่อง screen saver ว่าจะใช้ภาพใด เคลื่อนไหวช้าเร็วเพียงใดจะอยู่ในเรื่องของ " Desktop " (กดที่สัญรูป Control Panel) จะมีภาพจากระบบวินโดว์มาให้เลือกหลายภาพ เมื่อเลือกแล้ว ภาพเหล่านี้จะปรากฏบนจอเองโดยอัตโนมัติ หลังจากที่หยุดใช้เมาส์หรือกดแป้นพิมพ์ประมาณ 2-3 นาที (กำหนดเองได้) |