ผลการค้นหา ความหมาย คำแปล แปลว่าอะไร ของ

จานบันทึก

ใน Dictionary 5 ภาษา
ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงความต้องการมากขึ้น *จานบันทึก*, -จานบันทึก-

จานบันทึก ในภาษาอังกฤษ

English-Thai: NECTEC's Lexitron Dictionary
จานบันทึก (n.) disk Syn. จาน
English-Thai: HOPE Dictionary
blank diskจานบันทึกเปล่าหมายถึง จานบันทึกที่ไม่มีข้อมูลเก็บ หรือข้อมูลถูกลบออกไปหมด
double sided double densiจานบันทึกสองหน้าและจุสองเท่าใช้ตัวย่อว่า DS/DD หมายถึงจานบันทึกข้อมูลที่ใช้บันทึกได้ทั้งสองหน้าและมีความจุสองเท่า ดู DS/DD
fixed diskจานบันทึกอยู่กับที่เป็นชื่อที่ใช้เรียกฮาร์ดดิสก์ (hard disk) อีกชื่อหนึ่ง เพราะโดยปกติ เราไม่อาจจะถอดจานบันทึกแข็งนี้ ออกจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และเพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่าง จานบันทึกแบบธรรมดา (floppy disk) ที่สามารถถอดหรือดึงออกได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ฮาร์ดดิสก์ที่ดึงเข้าออก ได้ก็มี ใช้อยู่ บ้าง แม้ว่าจะไม่เป็นที่นิยมนัก ฮาร์ดดิสก์ชนิดนั้น เรียกว่า removable hard disk ดู removable hard disk ประกอบ
floppy diskจานบันทึกอ่อนหมายถึง จานแบน ๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กไว้บนผิวหน้า ใช้สำหรับบันทึกข้อมูล ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบันนี้ มีอยู่สองขนาด คือขนาด 5.25 นิ้ว ซึ่งจะมีปลอก กระดาษหุ้ม กับขนาด 3.5 นิ้วซึ่งจะอยู่ในปลอกพลาสติก ทำให้แข็งและทนกว่า มีความจุในการบันทึกต่าง ๆ กัน ชนิดที่มีความหนาแน่นสองเท่า (double density) จะจุ 360 - 720 K (ประมาณ 360,000 - 720,000 ตัว อักขระ) ชนิดความหนาแน่นสูง (high density) จะจุ 1.2 - 1.44 เมกะไบต์ (ประมาณ 1.2 ล้าน - 1.4 ล้านตัวอักขระ) บางทีเรียก diskette เพื่อให้แตกต่างกับจานบันทึกที่ใช้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า disk มีความหมายเหมือน diskette
non system diskจานบันทึกที่ไม่มีแฟ้มข้อมูลระบบหมายถึง จานบันทึกที่ไม่สามารถนำมาใช้ ในการเริ่มเครื่องใหม่ (boot) ได้ ทั้งนี้ เพราะเมื่อจัดระบบการเก็บข้อมูล (format) ไม่ได้สั่งให้คัดลอกแฟ้มข้อมูลระบบมาด้วย แฟ้มข้อมูลระบบมี 3 แฟ้ม คือ Ibmbio.Com (Io.Sys) , Ibmdos.Com (Msdos.Sys) และ Command.Com สองแฟ้มแรกจะซ่อนอยู่ (hidden file) มองไม่เห็นบนจอภาพ จานบันทึกที่ไม่มีแฟ้มข้อมูลระบบทั้งสามนี้ เมื่อนำมาเริ่มเครื่องใหม่ จะมีข้อความระบุความผิดพลาดบนจอภาพ ว่า เป็น non-system disk และจะมีคำสั่งว่าให้กดแป้นใด ๆ ก็ได้เพื่อคอมพิวเตอร์จะได้ไปหาแฟ้มระบบนี้ในหน่วยบันทึกอื่นต่อไป
single-sided diskจานบันทึกหน้าเดียวหมายถึง จานบันทึกที่สามารถนำมาใช้บันทึกข้อมูลได้เพียงหน้าเดียว สมัยปัจจุบัน คงจะหาไม่ได้เพราะเลิกใช้ไปหมดแล้ว
source disketteจานบันทึกต้นแบบหมายถึง จานบันทึกแผ่นที่เป็นแบบที่จะใช้คัดลอก ถ้าเป็นจานบันทึกแผ่นที่จะคัดลอกลง เรียกว่า target disketteดู target diskette เปรียบเทียบ
start-up diskจานบันทึกสำหรับเริ่มเครื่องหมายถึง จานบันทึกจะเป็นจานแข็งหรือจานอ่อนก็ได้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่านในทันทีที่เปิดเครื่องเพื่อจะได้รู้ว่าจะต้องทำอะไรต่อไป ในจานนี้จะมีคำสั่งต่าง ๆ ที่ต้องทำทันทีที่เริ่มเปิดเครื่อง
access armก้านเข้าถึง หมายถึง อุปกรณ์ในหน่วยบันทึก มีลักษณะเป็นก้านที่ต่อกับหัวอ่าน/บันทึก (read / write head) ที่ใช้เจาะเข้าไปที่จานบันทึก เพื่ออ่านข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล หรือเพื่อบันทึกข้อมูลลงในจานบันทึก มีลักษณะคล้ายเข็มของเครื่องเล่นจานเสียง
access mechanismกลไกการเข้าถึง หมายถึง กลไกของอุปกรณ์ที่ใช้รองรับ และเคลื่อนย้ายก้านเข้าถึง (access arm) ของหน่วยจานบันทึก (disk drive) ไปบนพื้นผิวของจาน เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมา หรือบันทึกข้อมูลลงจานบันทึก
system diskจานบันทึกระบบหมายถึง จานบันทึกที่บรรจุระบบปฏิบัติการ (ถ้าเป็นพีซี ก็หมายถึง MS DOS) สามารถนำมาใช้เริ่มเครื่องใหม่ได้ (boot) โดยใส่ในหน่วยบันทึก A : จานบันทึกระบบต้องมีโปรแกรม 3 โปรแกรม เป็นอย่างน้อย คือ lo.sys, Msdos.sys และ Command.com สองแฟ้มแรกจะถูกซ่อนอยู่ (hidden files) แม้ว่าจะใช้คำสั่ง Dir ก็จะไม่แสดงบนจอภาพโปรแกรม lo.Sys จะดูแลในเรื่องการนำข้อมูลเข้า และการแสดงผล ส่วน MSDOS.sys จะจัดการเกี่ยวกับเรื่องการอ่านและการบันทึกข้อมูลลงในแผ่นจานบันทุกนั้น ส่วน Command.com ก็จะมีคำสั่งพื้นฐานต่าง ๆ เช่น dir, copy, delete จานบันทึกระบบนี้มีความสำคัญมาก (โดยเฉพาะเครื่องที่ไม่มีฮาร์ดดิสก์) ถ้าไม่มีจานบันทึกนี้จะเริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์ไม่ได้เลย ถ้ามีฮาร์ดดิสก์ อาจใช้ฮาร์ดดิสก์เป็นจานบันทึกระบบเลยก็ได้
winchester diskจานบันทึกวินเชสเตอร์หมายถึง จานบันทึกแบบหนึ่ง ที่บริษัทไอบีเอ็มสร้างขึ้นใช้เป็นครั้งแรก สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 30 เมกะไบต์ (30 ล้านตัวอักษร) ในแต่ละด้าน คล้ายฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน กล่าวคือ ไม่สามารถถอดเข้าออกได้ คำ Winchester นั้นอันที่จริงเป็นชื่อถนน ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัยของบริษัทที่ผลิตจานบันทึกชนิดนี้
access timeช่วงเวลาเข้าถึง (ข้อมูล) หมายถึง เวลาที่ใช้ในการที่หัวอ่าน (บางทีเรียกหัวเข็ม) ของหน่วยบันทึกจะสามารถอ่านแฟ้มข้อมูล หรือดึงข้อมูลออกมาจากที่เก็บข้อมูล เช่น จากจานบันทึก หรือฮาร์ดดิสก์ หากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อย ก็หมายความว่า อ่านได้เร็ว ดู direct access, indirect access, random access, sequential access, immediate access ประกอบ
alias(เอ' ลิแอส) 1. n., (pl. -ases) นามแฝง, สมญานาม. -adv. มีนามแฝงว่า, Syn. pseudonym) 2. สมนาม คอมพิวเตอร์แมคอินทอชที่ใช้ System 7 มีคำสั่ง Make Alias ใต้เมนู File คำสั่งนี้ใช้สำหรับสร้างสัญรูป (icon) อีกอันหนึ่งของแฟ้มข้อมูลที่เลือกไว้ แฟ้มใหม่นี้จะมีคำ alias ต่อท้ายชื่อเดิม หากเมื่อใดมีการแก้ไขแฟ้มใดแฟ้มหนึ่ง โดยเรียกมาทำในจอภาพ แล้วสั่งบันทึกเก็บลงในจานบันทึก การแก้ไขนั้นก็จะมีผลต่อแฟ้มสมนามนั้นด้วย ทั้งนี้เพราะอันที่จริงแล้ว สัญรูปสมนามนั้นไม่ว่าจะมีสักกี่อัน จะโยงถึงแฟ้มข้อมูลอันเดียวกันทั้งสิ้น ดู duplicate เปรียบเทียบ
auxiliary equipmentบริภัณฑ์ช่วย อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้เป็นหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผลของคอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องอ่านบัตร (card reader) , หน่วยขับจานบันทึก (disk drive) เป็นต้น
bad sectorsส่วนวงเสียหมายถึงส่วนวงในร่องที่ใช้บันทึกข้อมูลบนแผ่นจานบันทึกเสีย ทำให้ไม่สามารถอ่านข้อมูลออกมา หรือบันทึกข้อมูลลงไปเก็บได้ คอมพิวเตอร์จะแสดงข้อความนี้บนจอภาพเมื่อสั่งให้อ่านหรือบันทึกข้อมูล แล้วไม่สามารถทำได้ เพราะเกิดกรณีนี้ขึ้น
boot sectorส่วนวงปลุกเครื่องหมายถึง ส่วนของแผ่นจานบันทึกที่เก็บคำสั่งที่ใช้ในการปลุกเครื่อง ถ้าส่วนนี้เสีย (อ่านไม่ได้) คอมพิวเตอร์ก็จะไม่ทำงานเลยตั้งแต่ต้น
broken diskหน่วยบันทึกเสียเป็นคำสะแลง ใช้หมายถึง หน่วยบันทึกที่เสียหรือใช้การไม่ได้ แล้ว (ไม่ใช่จานบันทึก)
character readerเครื่องอ่านอักขระหมายถึง เครื่องอ่านอักขระจากตัวพิมพ์ซึ่งจะต้องมีลักษณะพิเศษที่เป็นมาตรฐาน การอ่านใช้วิธีให้แสงผ่านช่องว่างของตัวอักขระนั้น ๆ แล้วแปลเป็นรหัสบันทึกลงไว้ในแถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk)
arc(อาร์ค) 1. n. ส่วนโค้ง,ความโค้ง,สะพานเรืองแสงที่อยู่ระหว่างปลายหรือ conductors ทั้งสอง,สิ่งที่มีรูปคล้ายคันศร -S...curve,arch,bend 2. เป็นชื่อโปรแกรมหนึ่งที่ใช้ในการหลอมรวมข้อมูลจากหลาย ๆ แฟ้มเข้าเป็นแฟ้มเดียวกัน เพื่อให้ใช้เนื้อที่ในการเก็บน้อยลง โปรแกรมนี้เคยได้รับความนิยมอย่างสูงมาก่อน ต่อมาความนิยมได้ลดลงเพราะมีโปรแกรมใหม่กว่า มีผู้นิยมใช้มากกว่า มีชื่อเรียกว่า ZIP โปรแกรมประเภทนี้จะสามารถอัด (compress) ข้อมูลจำนวนมาก ๆ ให้เก็บได้ในเนื้อที่น้อย ๆ เช่นในจานบันทึก (floppy disk) แต่เมื่อจะใช้ จะต้องนำมาขยายเป็นขนาดปกติก่อน เรียกว่า decompress (ดู compress)
asterisk(แอส'เทอริสคฺ) n. เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) , สิ่งที่มีลักษณะคล้ายดาว. -vt. ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์หรือดาว ดอกจัน * เป็นอักขระตัวหนึ่ง มีอยู่บนแผงแป้นอักขระ เมื่อนำมาใช้ในคำสั่งระบบดอส สัญลักษณ์ * จะใช้แทนตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ กี่ตัวก็ได้ (wildcards) ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล เช่นถ้าใช้ A*.* หมายความถึง แฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A และจะมีนามสกุลอะไรก็ได้ หรือถ้าใช้ *.COM ก็หมายความ ถึงแฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีนามสกุล COM ถ้าใช้ *.* ก็จะหมายถึงทุกแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ในสารบบ หรือในจานบันทึก ดู wildcards ประกอบ
auxiliary memoryหน่วยความจำช่วย หมายถึงหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (เพิ่มไปจากหน่วยความจำหลัก) เช่น จานบันทึก เมื่อใดที่ต้องการใช้ ก็ให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำมาเก็บในเครื่อง จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม แล้วเก็บลงใหม่ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้สิ้นเปลืองหน่วยความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์
auxiliary storageหน่วยเก็บช่วย หมายถึงหน่วยความจำหรือหน่วยเก็บที่ใช้เก็บข้อมูลนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ (เพิ่มไปจากหน่วยความจำหลัก) เช่น จานบันทึก เมื่อใดที่ต้องการใช้ ก็ให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำมาเก็บในเครื่อง จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม แล้วเก็บลงใหม่ก็ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้สิ้นเปลืองหน่วยความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์มีความหมายเหมือน auxiliary memory
backing storeหน่วยเก็บหนุนหน่วยเก็บข้อมูล ที่ใช้เป็นที่เก็บหนุน หรือเก็บข้อมูลสำรองไว้ ในกรณีที่หน่วยเก็บที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง หรือเสียหาย ก็อาจใช้หน่วยเก็บหนุนนี้แทนได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงหน่วยเก็บความจำอื่น ๆ นอกไปจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้นว่าสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) มีความหมายเหมือน auxiliary storage หรือ backup storage
dasd(แดสดี) ย่อมาจาก direct access storage device (แปลว่า อุปกรณ์หน่วยเก็บแบบเข้าถึงโดยตรง) หมายถึงสื่อที่ใช้เก็บข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้โดยตรง (direct access) หรือทันที ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกไว้ในส่วนใด เช่น จานบันทึก (disk) ดู direct access ประกอบ
data entryการบันทึกข้อมูลหมายถึง การป้อนข้อมูลเข้าไปเก็บในสื่อ (medium) อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) ฯลฯ โดยผ่านทางแผงแป้นอักขระ (keyboard) หรืออาจหมายถึงการส่งข้อมูลเข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้
dd1. abbr. differential diagnosis,discharge diagnosis 2. (ดีดี) ย่อมาจาก double density (แปลว่า ความหนาแน่นสองเท่า) ใช้บอกขนาดความจุของจานบันทึก (diskette) ว่าสามารถบันทึกข้อมูลได้เป็นสองเท่า ถ้าเป็นขนาดปกติ เรียกว่า ความหนาแน่นเท่าเดียว (single density)
backup storageหน่วยเก็บสำรอง หมายถึง หน่วยเก็บข้อมูลที่ใช้เป็นที่เก็บหนุน หรือเก็บข้อมูลสำรองไว้ ในกรณีที่หน่วยเก็บที่ใช้งานอยู่เกิดขัดข้อง หรือเสียหาย ก็อาจใช้หน่วยเก็บสำรองแทนได้ โดยทั่วไปก็จะหมายถึงหน่วยความจำอื่น ๆ นอกไปจากหน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้นว่าสื่อต่าง ๆ เช่น แถบบันทึก (tape) หรือจานบันทึก (disk) มีความหมายเหมือน auxiliary storage หรือ backing store
boot(บูท) {booted,booting,boots} n. รองเท้าหุ้มข้อเท้า,รองเท้าบู๊ท,เครื่องหุ้มคล้ายปลอก,ฝาครอบป้องกัน,ปลอกหุ้มเบาะ,โครงรถ,เครื่องรัดทรมานข้อเท้า,การเตะ,การถีบ,การปลดออก vt. สวมรองเท้าบู๊ท,เตะ,ถีบ เริ่มต้นใหม่เริ่มเครื่องใหม่หมายถึง การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นทำงาน (ว่ากันว่า คำ "boot" นี้ มาจากคำว่า "bootstrap" เบื้องหลังการใช้คำ ๆ นี้ อยู่ที่การขู่ว่า ถ้าไม่ทำงานแล้วละก็ โดนรองเท้าบู๊ตแน่ ๆ เลย) การเริ่มเครื่องใหม่นั้น โดยปกติ เมื่อกดสวิตช์เปิดแล้ว คอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นทำงานด้วยการอ่านจานบันทึกในหน่วยบันทึก A: ถ้าในหน่วยบันทึก A: ไม่มีจานบันทึก ก็จะไปอ่านจานบันทึก C: (จะไม่สนใจหน่วยบันทึก B: เลย) ถ้ามีจานบันทึกใน A: จานบันทึกนั้นจะต้องมีคำสั่งระบบ (แฟ้มข้อมูล command.com) อยู่ คอมพิวเตอร์จึงจะเริ่มต้นทำงานต่อไปได้ ถ้าจานบันทึกใน A: ไม่มีคำสั่งระบบ จะมีรายงานบนจอภาพว่าเป็น "non-system disk" ในกรณีเช่นนี้ต้องเปลี่ยน แผ่น A: หรือดึงแผ่น A: ออก แล้วเริ่มต้นใหม่จาก หน่วยบันทึก C: (ถ้ามี) อนึ่ง การเริ่มเครื่องใหม่นั้น ทำได้ 2 วิธี วิธีแรกเริ่มด้วยการเปิดสวิตช์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ได้อธิบายแล้ว เรียกว่า "cold boot" อีกวิธีหนึ่งที่ใช้เมื่อมีการเปิดเครื่องอยู่ก่อนแล้ว แต่ต้องการเริ่มเครื่องใหม่ หรือเครื่องเกิดขัดข้องหรือค้าง (hang) ให้ กดแป้น CTRL +ALT +DEL เรียกว่า "warm boot"
byte(ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1,024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1,048,576 ไบต์ (หรือ 1,024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1,073,741,824 ไบต์ (หรือ 1,024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1,099,511,627,776 ไบต์ (หรือ 1,024 Gbytes)
dirเป็นคำสั่งหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอส ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์แสดงชื่อ สารบบ และแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในสารบบหรือในจานบันทึก
direct access storage devอุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูลเข้าถึงโดยตรงใช้ตัวย่อว่า DASD (อ่านว่าแดสดี) หมายถึงหน่วยเก็บข้อมูลที่ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกไว้ ณ ส่วนใด เช่น จานบันทึก ดู direct access ประกอบ
disk cacheหน่วยความจำแคชบนจานหมายถึง ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะกันไว้เก็บข้อมูลที่ใช้บ่อย ๆ โดยคัดออกจากจานบันทึกไปเก็บไว้ โปรแกรมบางโปรแกรมจะจัดแบ่งเนื้อที่ในหน่วยความจำไปให้ บางโปรแกรมจะแบ่งเนื้อที่ในฮาร์ดิสก์ให้ เช่น เมื่อเราทำสำเนาจากแผ่นจานบันทึก
bytes per inchไบต์ต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า BPI เป็นหน่วยวัดความจุของตัวอักขระในเทปหรือแถบบันทึก (tape) หมายความว่า ขนาดความยาวของแถบบันทึก 1 นิ้ว จะบรรจุตัวอักขระได้เท่าใดอาจต่างกันได้ตั้งแต่ 200 ถึง 1600 ไบต์ต่อนิ้ว และอาจมีการปรับให้มากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ (บางทีใช้กับความยาวของแทร็กของพื้นผิวของจานบันทึก (disk) ด้วย
casette tapeตลับแถบบันทึกหมายถึง ม้วนแถบพลาสติกอาบแม่เหล็ก นำมาใช้ในการเก็บข้อมูล ใช้ทั้งกับไมโครคอมพิวเตอร์ และเครื่องขนาดใหญ่ (mainframe) ที่นำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์นั้น มีลักษณะเหมือนตลับเทปเพลงธรรมดา สมัยหนึ่งเรานิยมใช้แถบบันทึกนี้เก็บข้อมูล เพราะราคาถูกกว่าสื่ออย่างอื่น แต่จะมีปัญหาตามมามากมาย เช่นในเรื่องความคลาดเคลื่อนของข้อมูล อีกทั้งยังมักจะเสียง่าย ในปัจจุบัน จึงหันมานิยมใช้จานบันทึก (diskette) จานบันทึกอัดแน่นหรือซีดี (CD) แทนกันหมดแล้ว
cdabbr. ธาตุ cadmium, แผ่นซีดี ย่อมาจาก compact disk แปลตามตัวอักษรว่า จานบันทึกอัดแน่น มีลักษณะเป็นแผ่นจานกลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล จานบันทึกนี้มีความจุสูงมาก (ประมาณ 600ล้านตัวอักษร) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากจานบันทึกนี้ได้ แต่การบันทึกข้อมูลลง ยังทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องมีเครื่องพิเศษเฉพาะ บันทึกได้ทั้งข้อมูลธรรมดา เพลง ภาพยนตร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ความจุสูง แต่ยังติดขัดในปัญหาบางประการในเรื่องการบันทึกข้อมูลลง ดู CD ROM ประกอบ 2. ย่อมาจากคำ Change Directory เป็นคำสั่งในระบบดอสที่สั่งให้เข้าไปในสารบบ (directory) ใดสารบบหนึ่ง หรือออกจากสารบบใดสารบบหนึ่ง เช่น C:/>CD \ (หมายความว่าให้เข้าไปในสารบบชื่อนั้น) C:> CD\ (หมายความว่า ให้ออกจากสารบบที่อยู่)
cd-rom(ซีดีรอม) ย่อมาจาก compact disc read-only memory หมายถึง compact disc ที่เป็นฟอร์แมตสำหรับผลิตภัณฑ์มัลติมีเดีย และเก็บเสียง ภาพ และข้อความ เป็นต้น เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ จะมีหน่วยบันทึกที่อ่านซีดีรอมได้ ข้อมูลที่เก็บในสื่อชนิดนี้จะเป็นข้อความ ภาพ หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะทั่วไปก็เหมือนจานซีดีที่บรรจุเพลง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์ หรือประมาณ 400 เท่าของจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนมากนิยมใช้เก็บโปรแกรม หรือใช้เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ส่วนใหญ่จานบันทึกประเภทนี้ยังคงใช้อ่านได้อย่างเดียว (read only) การบันทึกข้อมูลลงยังต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ราคาอุปกรณ์นี้ยังค่อนข้างแพง
disk driveหน่วยจานบันทึกหน่วยขับจานบันทึกหน่วยขับแผ่นบันทึกหมายถึง กลไกส่วนที่ใช้หมุนจานบันทึกให้ผ่านหัวอ่านหรือหัวบันทึก (read/write head) ทำให้ สามารถนำข้อมูลที่บันทึกอยู่ในจานบันทึกมาประมวลผลได้ หากต้องการจะบันทึกข้อมูลใหม่ลงไป ก็ สามารถบันทึกได้เช่นเดียวกัน
cd-rom driveหน่วยขับซีดีรอมหมายถึง หน่วยบันทึกที่ใช้อ่านจานบันทึกอัดแน่น หรือซีดี ในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากมีหน่วยบันทึกที่สามารถอ่านข้อมูลจากสื่อชนิดนี้ได้ แต่ยังคงบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้ ต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ความเร็วในการอ่านค่อนข้างสูงจนดูภาพเคลื่อนไหวได้ดีเหมือนดูภาพยนตร์ ในปัจจุบัน จานซีดีกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นทุกที ทำให้ราคาถูกลงมาก คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจึงมักจะมีหน่วยบันทึกชนิดนี้ติดตั้งไว้ด้วย
command.comคอมมานด์จุดคอม (ชื่อแฟ้มระบบ) เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่งในระบบดอส ซึ่งบรรจุคำสั่งระบบต่าง ๆ เช่น dir, copy, del จานบันทึกที่นำมาจัดรูปแบบการเก็บข้อมูลด้วยคำสั่ง format A:/s แล้ว จะมีแฟ้มข้อมูลนี้อยู่ในแผ่น A: แฟ้มข้อมูลนี้ จะนำมาใช้เป็นแผ่นเริ่มต้นเปิดเครื่อง (boot) ได้ ถ้าใช้คำสั่ง Format ในระบบวินโดว์ ต้องกากบาทที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าคำ system disk ด้วย จึงจะมีแฟ้มข้อมูลนี้ (จานบันทึกที่ไม่มีแฟ้มข้อมูลนี้ ใช้เก็บแฟ้มข้อมูลได้อย่างเดียว จะนำมาสั่งให้เริ่มเครื่อง (boot) ไม่ได้)
อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
blank diskจานบันทึกเปล่า [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]
hard diskจานบันทึกแบบแข็ง [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]
diskจาน, จานบันทึก [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕]
disk driveหน่วยขับจาน, หน่วยขับจานบันทึก, หน่วยขับแผ่นบันทึก [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]
disk packชุดจาน, ชุดจานบันทึก [คอมพิวเตอร์ ๑๙ มิ.ย. ๒๕๔๔]
อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Disk driveหน่วยขับจาน, หน่วยขับจานบันทึก, หน่วยขับแผ่นบันทึกอุปกรณ์สำหรับใช้บันทึกและอ่านข้อมูลบนจานแม่เหล็ก [คอมพิวเตอร์]
hard diskหน่วยขับจาน, หน่วยขับจานบันทึก, หน่วยขับแผ่นบันทึก, อุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่เป็นจานแม่เหล็กหลายแผ่นซ้อนอยู่บนแกนหมุนเดียวกัน [คอมพิวเตอร์]

สิ้นสุดผลการค้นหา ความหมาย คำแปล แปลว่าอะไร สำหรับคำว่า จานบันทึก
Back to top