command key | เป็นแป้นพิมพ์พิเศษแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระของเครื่องแมคอินทอช ซึ่งมีสัญลักษณ์ เป็นรูปแอปเปิลแหว่งอยู่บนแป้น หากใช้พร้อมกับแป้นอื่นสามารถใช้แทนคำสั่งบางคำสั่งได้ เช่น ถ้ากดแป้นนี้พร้อมกับแป้น X แปลว่าสั่งให้ cut ถ้ากดแป้นนี้พร้อมกับ แป้น C แปลว่าสั่งให้ copy และถ้ากดแป้นนี้พร้อมกับแป้น V ก็เป็นการ สั่ง paste (ทำหน้าที่คล้ายแป้น ALT ของเครื่องพีซี) |
control key | แป้นควบคุมเป็นแป้นพิเศษแป้นหนึ่ง โดยปกติ จะมีตัวย่อ Ctrl ไว้ให้อยู่ บนแป้น เป็นแป้นที่ต้องใช้พร้อมแป้นอื่น ๆ จึงจะเป็น คำสั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะได้ เช่น ในระบบวินโดว์ การกดแป้นCTRL+S จะใช้แทนคำสั่ง save ได้ แป้น CTRL นี้ โดยปกติจะใช้สัญลักษณ์ ^ แทน เช่น ^S คือกดแป้น CTRL+S |
cursor key | แป้นควบคุมตัวชี้ตำแหน่งหมายถึง แป้นพิมพ์ที่สามารถเคลื่อนย้ายตัวชี้ตำแหน่งไปในทิศทางที่ต้องการ เช่นแป้นลูกศร, แป้น PageUp, PageDn เป็นต้น บางทีเรียก arrow keys หรือ cursor movement keys |
extended keyboard | หมายถึง แผงแป้นอักขระที่มีแป้นต่าง ๆ เพิ่มมากกว่าแป้นพิมพ์ปกติ นอกจากจะมีแป้นตัวเลขและแป้นตัวอักษรแยกออกจากกันแล้ว ยังมีแป้นฟังก์ชันอีกประมาณ 10 -15 แป้น โดยปกติแป้นพิมพ์ชนิดนี้จะมี 101 แป้น จึงมักจะมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า 101 key keyboard มีความหมายเหมือน expanded keyboard |
function keys | แป้นกำหนดหน้าที่หมายถึง แป้นพิเศษกลุ่ม หนึ่งที่มักจะถูกจัดไว้ให้อยู่แถวบน สุดของแป้นพิมพ์ (บางทีก็อยู่ ด้านซ้ายมือ) ปกติจะมีอยู่ราว ๆ 10-15 แป้น บนแป้นจะมีตัวอักษร F ตามด้วยเลขตั้งแต่ 1-15 (แล้วแต่ว่ามีกี่แป้น) แป้นเหล่านี้จะถูกกำหนด หน้าที่ เฉพาะ ให้ใช้แทนคำสั่งบางคำสั่งได้เลย เช่น ในระบบดอส แป้น F3 จะใช้แทนคำสั่ง copy ได้ เป็นต้น |
modifier keys | แป้นดัดแปรหมายถึง แป้นอักขระบางแป้นที่ไม่ใช้ตามลำพังตัวเอง หรือถ้าใช้ ก็จะไม่มีผลอย่างใดเลย เช่น แป้น Ctrl, Shift, Alt แต่เมื่อกำหนดใช้ร่วมกับแป้นอักขระอื่นแล้ว จะก่อให้เกิดเป็นคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติตามได้ เช่น ถ้ากดแป้น ALT+F จะเป็นการเรียกเมนู File ในระบบวินโดว์ ส่วนเครื่องแมคอินทอชจะมีแป้น Option ที่ทำหน้าที่คล้ายแป้น ALT เช่น ถ้ากดแป้น Option+C ก็จะเป็นการสั่งคัดลอก (copy) |
newline character | ขึ้นบรรทัดใหม่หมายถึง แป้น ซึ่งถือเป็นตัวอักขระตัวหนึ่งที่ทำให้มีการขึ้นบรรทัดใหม่ ถ้าลบ (delete) อักขระตัวนี้ บรรทัดล่างจะขึ้นไปต่อกับบรรทัดบน |
numeric keypad | แผงแป้นตัวเลขหมายถึง กลุ่มแป้นพิมพ์ที่มีตัวเลข และเครื่องหมายที่ใช้ในการคำนวณ จัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เรียงกันแบบเดียวกับเครื่องคิดเลข มักอยู่ทางด้านริมขวาของแผงแป้นอักขระ (keyboard) เพื่อ ความสะดวกรวดเร็วในการพิมพ์ ถ้าจะพิมพ์เฉพาะตัวเลข มีราว ๆ 10 - 20 แป้น การใช้แป้นใน กลุ่มนี้พิมพ์ตัวเลข จะต้องกดแป้น Num Lock ก่อน (ดู Num Lock) มิฉะนั้นจะใช้เป็นเหมือนแป้นลูกศร หรือพิมพ์ไม่ติดเลย หรืออาจเป็นสัญลักษณ์สั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำคำสั่งอื่น ๆ แทน |
shift key | (แป้นพิมพ์) แป้นเปลี่ยน (ชุดอักษร) แป้นยกเป็นแป้นหนึ่งที่มีใช้ทั้งในแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด และแป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (แป้นนี้ มักจะมีเครื่องหมายลูกศรบนแป้น) โดยปกติแผงแป้นอักขระจะมีไว้ให้ 2 แป้น ทั้งทางด้านซ้ายและขวา การกดแป้นนี้เพียงลำพังแป้นเดียว จะไม่ทำให้เกิดอะไรขึ้น แต่ถ้ากดพร้อมกับแป้นตัวอักษรใดในภาษาอังกฤษ จะทำให้พิมพ์ตัวอักษรนั้นออกมาเป็นตัวใหญ่ (capital letter) ถ้าเป็นภาษาไทย ก็จะเป็นตัวที่อยู่ข้างบน เช่น ฤ ฆ ฏ ฑ ฒ นอกจากนั้น ในบางโปรแกรม เช่น โปร แกรมวาดภาพ การกดแป้นนี้พร้อมกับ ลากเส้น จะทำให้ลากได้เป็นเส้นตรง ถ้ากดพร้อมกับลากรูปสี่เหลี่ยม ก็จะทำให้รูปที่วาด เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นต้น |
warm boot | หมายถึง การสั่งให้เครื่องเริ่มปฏิบัติการใหม่โดยที่ไม่ปิดสวิตช์ดับไฟที่เครื่องก่อน ในระบบดอส มีวิธีทำ คือ กดแป้น CTRL+ALT+DEL พร้อมกันทั้ง 3 แป้น วิธีการทำเช่นนี้ มักจะใช้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดบางประการ จนทำให้เครื่องค้างหรือหยุดการปฏิบัติงานไปเลย (hang) จึงต้องเริ่มเครื่องใหม่ การกดแป้นสามแป้นนี้ จะสามารถเริ่มต้นเครื่องใหม่ได้เร็วกว่าการปิดสวิตช์แล้วเปิดใหม่ ซึ่งเรียกว่า "cold boot " หรือ "cold start " ปัจจุบันเครื่องรุ่นใหม่ ๆ จะมีปุ่ม Reset ไว้ให้ด้วย จะกดที่ปุ่มนี้ก็ได้ ถือเป็นการ "warm boot" เช่นเดียวกัน มีความหมายเหมือน warm startดู cold boot เปรียบเทียบ |
warm start | การเริ่มต้นระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ โดยไม่ต้องปิดสวิตช์ที่ตัวเครื่อง การเริ่มต้นเช่นนี้เป็นการเริ่มต้นใหม่ก็จริง แต่วิธีทำเพียงกดแป้นบางแป้นที่แผงแป้นอักขระ (เช่น แป้น CTRL,ALT และ DEL พร้อม ๆ กันในระบบดอส ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็ม) เครื่องก็จะเริ่มต้นใหม่ให้ การที่ต้องทำเช่นนี้ก็เนื่องจาก ขณะที่ใช้อยู่ เกิดข้อผิดพลาดบางประการเกี่ยวกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ จนทำให้ไม่สามารถประมวลผลต่อไปได้ ทำให้ต้องเริ่มต้นใหม่ การเริ่มเครื่องต่อด้วยวิธีนี้ ใช้เวลาน้อยกว่าเปิดเครื่องใหม่ (cold start) มีความหมายเหมือน warm bootดู cold start เปรียบเทียบ |