accumulator | หม้อสะสมไฟฟ้า, เซลล์ไฟฟ้าแบบทุติยภูมิซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าชนิดอาศัยปฏิกิริยาเคมี หลังจากใช้ไฟฟ้าไปบ้างแล้วก็สามารถประจุไฟฟ้ากลับคืนได้ โดยการผ่านไฟฟ้ากระแสตรงจากแหล่งกำเนิดอื่นที่มีความต่างศักย์สูงกว่าเข้าไปในทิศทางตรงข้าม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ballast | บัลลาสต์, อุปกรณ์ในวงจรหลอดฟลูออเรสเซนซ์ ทำหน้าที่เพิ่มความต่างศักย์ไฟฟ้าเพื่อจุดหลอดฟลูออเรสเซนซ์ ประกอบด้วยขดลวดตัวนำหุ้มฉนวนพันอยู่บนแกนเหล็ก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
capacitance | ความจุ, สมบัติในการเก็บประจุไฟฟ้าของตัวนำหรือตัวเก็บประจุ มีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างจำนวนประจุไฟฟ้าบนตัวนำหรือตัวเก็บประจุกับความต่างศักย์ไฟฟ้าของตัวนำหรือตัวเก็บประจุนั้น ใช้สัญลักษณ์ C [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Evoked Potentials | กระแสไฟที่เกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อ,ศักย์บันดล,ศักยบันดล,การตอบสนองโดยทันที [การแพทย์] |
farad | ฟารัด, หน่วยของความจุไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ F โดยกำหนดว่าความจุไฟฟ้า 1 ฟารัด คือค่าความจุไฟฟ้าของตัวเก็บประจุ ซึ่งถ้ามีการถ่ายโอนประจุระหว่างแผ่นตัวนำทั้งสองในตัวเก็บประจุปริมาณ 1 คูลอมบ์ จะทำให้เกิดความต่างศักย์ไฟฟ้า 1 โวลต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hydro energy | พลังน้ำ, พลังงานที่สะสมอยู่ในน้ำในรูปของพลังงานศักย์โน้มถ่วง เช่น พลังน้ำในเขื่อนกักเก็บน้ำ เมื่อน้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ พลังงานศักย์จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ ซึ่งจะใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น หมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือมีโทษ เช่น ทำความเสียหายให้แก่บ้านเรือน พืช [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ohm | โอห์ม, หน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ W โดยกำหนดว่าความต้านทานไฟฟ้า 1 โอห์ม คือความต้านทานของตัวนำซึ่งมีปลายทั้งสองต่อกับความต่างศักย์ไฟฟ้า 1 โวลต์ แล้วมีกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนำนั้น 1 แอมแปร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
potential difference | ความต่างศักย์, โดยทั่วไปหมายถึงความต่างศักย์ไฟฟ้า (ดู electric potential difference) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
primary cell | เซลล์ปฐมภูมิ, เซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดหนึ่งซึ่งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าโดยตรง เมื่อความต่างศักย์ของเซลล์ลดลงหรือหมดไป ไม่สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้ เช่น ถ่านไฟฉายที่ใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
resistance | ความต้านทาน, สมบัติของตัวนำในการต้านการไหลกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวนำนั้น มีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ที่ปลายทั้งสองของตัวนำกับกระแสไฟฟ้าที่ผ่าน ใช้สัญลักษณ์ R แทนความต้านทาน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
spark | ประกายไฟฟ้า, ปรากฏการณ์ที่ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านตัวกลาง เช่น อากาศหรือฉนวนไฟฟ้า ระหว่างจุด 2 จุดที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้าสูง เกิดจากการเสื่อมสภาพเป็นฉนวนอย่างฉับพลันของตัวกลางนั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
V | โวลต์, สัญลักษณ์ของหน่วยความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า ดู volt [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
volt | โวลต์, หน่วยของความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ V โดยกำหนดว่า 1 โวลต์ คือ ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่าง 2 จุด บนตัวนำที่มีกระแสขนาด 1 แอมแปร์ผ่าน ทำให้เกิดกำลัง 1 วัตต์ระหว่าง 2 จุดนั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |