Aggregate | เขม่าดำ: การรวมตัวอนุภาคปฐมภูมิของเขม่าดำเป็นกลุ่มของอนุภาค โดยแต่ละอนุภาคยึดติดด้วยพันธะโควาเลนต์ (covalent bond) [เทคโนโลยียาง] |
Carbon black | ผงเขม่าดำได้จากการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม มีสีดำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของอนุภาคปฐมภูมิอยู่ในช่วง 1-10 นาโนเมตร นิยมใช้เป็นสารเสริมแรงในอุตสาหกรรมยาง เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และความทนต่อการสึกหรอให้แก่ผลิตภัณฑ์ยาง [เทคโนโลยียาง] |
colour blindness | ตาบอดสี, ความผิดปกติในการมองเห็นสีเนื่องจากไม่สามารถรับความรู้สึกจากแสงสีปฐมภูมิสีใดสีหนึ่งหรือทั้งสามสีได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
dry cell | เซลล์แห้ง, เซลล์ไฟฟ้าปฐมภูมิ โดยทั่วไปใช้สังกะสีรูปทรงกระบอกเป็นขั้วลบ ภายในบรรจุของผสมของกลีเซอรีน แอมโมเนียมคลอไรด์ และผงถ่าน มีแท่งคาร์บอนสอดอยู่ ตรงกลางเป็นขั้วบวก มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าประมาณ 1.5 โวลต์ เช่น เซลล์ถ่านไฟฉาย เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Migration | การเคลื่อนที่ของปิโตรเลียมจากหินต้นกำเนิดไปยังแหล่งกักเก็บ การเคลื่อนที่มีอยู่ 3 แบบด้วยกัน คือ การเคลื่อนที่แบบปฐมภูมิ (primary migration) เป็นการเคลื่อนที่ของไฮโดรคาร์บอนออกจากหินต้นกำเนิด การเคลื่อนที่แบบทุติยภูมิ (secondary migration) เป็นการเคลื่อนที่ผ่านชั้นหินที่มีคุณสมบัติในการซึมผ่านสูงหรือในหินกักเก็บเอง และการเคลื่อนที่แบบตติยภูมิ (tertiary migration) เป็นการเคลื่อนที่จากแหล่งกักเก็บหนึ่ง (trap) ไปยังอีกแหล่งหนึ่ง หรือเป็นการเคลื่อนที่หายไปของไฮโดรคาร์บอนจากแหล่งกักเก็บ [ปิโตรเลี่ยม] |
primary cell | เซลล์ปฐมภูมิ, เซลล์ไฟฟ้าเคมีชนิดหนึ่งซึ่งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าโดยตรง เมื่อความต่างศักย์ของเซลล์ลดลงหรือหมดไป ไม่สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้ เช่น ถ่านไฟฉายที่ใช้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
secondary colour | สีทุติยภูมิ, สีที่เกิดจากการผสมของแสงสีปฐมภูมิ 2 สีหรือตัวสีปฐมภูมิ 2 สี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Tertiary Recovery | การผลิตขั้นตติยภูมิเมื่อมีการผลิตขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิแล้ว เปอร์เซ็นต์ของน้ำมันดิบที่ผลิตได้ก็ยังไม่สูงมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันดิบชนิดหนักและชนิดปานกลาง ดังนั้นจึงมีน้ำมันดิบเหลือพอที่จะ กระตุ้นให้เกิดการใช้การผลิตขั้นตติยภูมิขึ้น การผลิตขั้นตติยภูมินี้อาจแบ่งเป็น 3 ชนิด คือชนิดที่ใช้กระบวนการความร้อน (thermal process) ชนิดที่ใช้กระบวนการผสมตัว (miscible process) และชนิดที่ใช้กระบวนการทางเคมี (chemical process) โดยชนิดแรกส่วนมากใช้กับแหล่งกักเก็บน้ำมันดิบชนิดหนัก และสองชนิดหลังใช้กับแหล่งกักเก็บน้ำมันดิบชนิดเบา และชนิดปานกลางแต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง และผลการทดลองใช้จริงไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ การใช้การผลิตขั้นตติยภูมิจึงไม่แพร่หลาย [ปิโตรเลี่ยม] |