Concentrated latex | น้ำยางข้น คือ น้ำยางสดที่ทำให้เข้มข้นโดยการหมุนเหวี่ยงหรือการแยกครีม เพื่อแยกส่วนที่เป็นเนื้อยางออกจากเซรุ่ม และเพิ่มปริมาณเนื้อยางแห้งจาก 30% เป็น 60% สำหรับวิธีการหมุนเหวี่ยง ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในประเทศไทย และเพิ่มปริมาณเนื้อยางแห้งจาก 30% เป็น 64% สำหรับวิธีการแยกครีม เนื่องจากน้ำยางสดมีปริมาณน้ำมากเกินไปไม่เหมาะที่จะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการขนส่ง [เทคโนโลยียาง] |
Latex | น้ำยาง [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Skim latex | น้ำยางสกิม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Agglomerate | 1.วัสดุคอมพาวด์: กลุ่มอนุภาคของวัสดุหนึ่งหรือหลายกลุ่มที่อยู่ด้วยกันอย่างหลวมๆ 2.น้ำยาง: กลุ่มของอนุภาคยางในสารละลายแขวนลอยน้ำยาง 3.เขม่าดำ: การรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนของเขม่าดำที่ยึดกันด้วยแรงแวนเดอวาล์ว (van der waal) เนื่องจากปกติอนุภาคของเขม่าดำจะไม่อยู่แยกกันเป็นอนุภาคเดี่ยวๆ แต่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มของอนุภาคและกลุ่มของอนุภาคจะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ก้อนอย่างถาวร [เทคโนโลยียาง] |
Anticoagulant | สารเคมีที่เติมลงในน้ำยางเพื่อหน่วงปฏิกิริยาจากแบคทีเรียที่ทำให้ อนุภาคยางที่แขวนลอยอยู่ในตัวกลางมารวมตัวกันเป็นก้อนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้น้ำยางเสียสภาพ ตัวอย่างสารต้านการจับตัว เช่น แอมโมเนีย [เทคโนโลยียาง] |
Crepe rubber | ยางเครพเป็นยางที่ผลิตขึ้นจากน้ำยางธรรมชาติ หรือยางซึ่งจับตัวเป็นก้อน เช่น ยางก้นถ้วย ยางติดเปลือกไม้ เป็นต้น นำไปรีดในเครื่องเครพ (creping machine) พร้อมทั้งใช้น้ำทำความสะอาดเอาสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากยางระหว่างการรีด นำยางแผ่นที่ได้ไปผึ่งลมให้แห้ง ยางเครพที่ผลิตจากน้ำยางเป็นยางเครพที่มีคุณภาพดี ได้แก่ ยางเครพขาว (white crepe) หรือยางเครพสีจาง (pale crepe) เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ยางประเภทยางสี ได้แก่ ยางกระเป๋าน้ำร้อน ยางรัดของ เป็นต้น ส่วนยางเครพที่ผลิตจากก้อนยางจับตัว เป็นยางเครพที่มีคุณภาพต่ำ ได้แก่ ยางเครพสีน้ำตาล (brown crepe) ยางเครฟแฟลตบาร์ก (flat bark crepe) และยางเครฟแบลงเค็ต (blanket crepe) เป็นต้น ซึ่งยางเครฟเหล่านี้มีสีค่อนข้างเข้มและมีความบริสุทธิ์แตกต่างกันมากขึ้น อยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต เหมาะสำหรับทำผลิตภัณฑ์ยางที่ไม่คำนึงถึงสี ไม่ต้องการความแข็งแรงมากนักและราคาต้นทุนต่ำ ได้แก่ ยางปูพื้น ยางกันโคลน เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Filler | สารตัวเติมเป็นวัสดุที่อยู่ในรูปของแข็ง มีขนาดอนุภาคเล็ก ซึ่งอาจจะเติมลงไปในยางหรือน้ำยางได้ในปริมาณมากเพื่อปรับปรุงสมบัติต่างๆ หรือเพื่อลดต้นทุนการผลิต [เทคโนโลยียาง] |
tapping | การกรีดยาง, การกรีดผิวของต้นยางพาราเป็นแนวทแยงลงจากซ้ายมาขวา เพื่อให้น้ำยางซึมออกมาค่อย ๆ ไหลลงสู่ภาชนะรองรับ การกรีดยางมักทำตอนเช้าตรู่ เพราะมีน้ำยางไหลออกมามากกว่าตอนสาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Ribbed smoked sheet | ยางแผ่นรมควันผลิตโดยเติมกรดลงในน้ำยางข้นเพื่อให้ยางจับตัวกัน และแยกตัวออกจากน้ำ นำยางที่ได้ไปรีดเป็นแผ่นด้วยเครื่องรีดแบบ 2 ลูกกลิ้ง นำไปล้างน้ำ แล้วนำทำให้แห้ง โดยวิธีการรมควันที่อุณหภูมิประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 2-3 วัน เพื่อป้องกันเชื้อรา การจัดชั้นของยางแผ่นรมควันทำโดยการใช้สายตา (ตามปริมาณสิ่งสกปรกปนเปื้อนในยาง) แบ่งได้เป็น 5 ชั้น ตั้งแต่ชั้นที่1 ถึงชั้นที่ 5 (ชั้นที่ 1 เป็นเกรดที่ดีที่สุด) [เทคโนโลยียาง] |
Stabiliser or Stabilizer | 1. (ยาง) สเตบิไลเซอร์ คือ สารที่มีอยู่หรือเติมลงไปในยางดิบ เพื่อรักษาสมบัติให้ดีเท่าหรือใกล้เคียงค่าเดิมระหว่างการทำให้แห้ง กระบวนการผลิตและการเก็บรักษา 2.(น้ำยาง)สเตบิไลเซอร์ คือ สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเติมลงไปในน้ำยางเพื่อป้องกันการรวมตัวหรือ จับตัวเป็นก้อนของอนุภาคยางระหว่างกระบวนการผลิตและ/หรือการผสมสารเคมี [เทคโนโลยียาง] |