aspect ratio | อัตราส่วนระหว่างแนวตั้งและแนวนอนหมายถึง อัตราส่วนระหว่างแนวตั้งกับแนวนอนของภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยปกติ ใช้ในการสร้างภาพคอมพิวเตอร์ (computer graphics) ซึ่งต้องคอยระวังให้มีสัดส่วนที่ถูกต้องอยู่เสมอ |
assembly language | ภาษาแอสเซมบลีหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่งซึ่งจะตรงเข้าไปจัดการกับตัวไมโครโพรเซสเซอร์ หรือ "ตัวประมวลผล" ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะทำการประมวลผลโดยตรงได้เลย โดยปกติ ภาษานี้จะเรียนยากและต้องเขียนยาวกว่าภาษา C หรือภาษา BASIC แต่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ (result) เร็วกว่า และใช้เนื้อที่เก็บน้อยกว่าโปรแกรมภาษาอื่นมาก นิยมใช้ภาษานี้เมื่อต้องการประหยัดเวลาทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรม โดยไม่ต้องพะวงถึงความชัดเจนมากนัก และที่สำคัญก็คือ โปรแกรมภาษานี้จะเขียนขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะกับเครื่องใดเครื่องหนึ่ง หากจะนำไปใช้กับเครื่องคนละรุ่น ก็จะต้องมีการปรับแก้ก่อน (ขึ้นกับหน่วยประมวลผลหรือ CPU) |
baud | (บอด) เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็ม 1 บอดเท่ากับจำนวนบิตที่ส่งได้ใน 1 ครั้ง ถ้าส่งได้ครั้งละ 2 บิต 1 บอดก็จะเท่ากับ 2 บิต โมเด็มจะดีหรือไม่ ก็ดูที่ความเร็วจากหน่วยวัดนี้ โดยปกติ เท่าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีขนาดความเร็ว 300 บอด (ประมาณ 37 ตัวอักษร) และ 1,200 บอด (ประมาณ 150 ตัวอักษร) |
binary file | แฟ้มข้อมูลฐานสองหมายถึง แฟ้มที่บรรจุข้อมูลที่เป็นฐานสองเท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้ คอมพิวเตอร์จะเข้าใจและรับรู้ได้ โดยปกติ แฟ้มข้อมูลเหล่านี้จะถูกกำหนดให้ใช้นามสกุล (file type) ว่า BIN ดู BIN ประกอบ |
boot | (บูท) {booted,booting,boots} n. รองเท้าหุ้มข้อเท้า,รองเท้าบู๊ท,เครื่องหุ้มคล้ายปลอก,ฝาครอบป้องกัน,ปลอกหุ้มเบาะ,โครงรถ,เครื่องรัดทรมานข้อเท้า,การเตะ,การถีบ,การปลดออก vt. สวมรองเท้าบู๊ท,เตะ,ถีบ เริ่มต้นใหม่เริ่มเครื่องใหม่หมายถึง การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เริ่มต้นทำงาน (ว่ากันว่า คำ "boot" นี้ มาจากคำว่า "bootstrap" เบื้องหลังการใช้คำ ๆ นี้ อยู่ที่การขู่ว่า ถ้าไม่ทำงานแล้วละก็ โดนรองเท้าบู๊ตแน่ ๆ เลย) การเริ่มเครื่องใหม่นั้น โดยปกติ เมื่อกดสวิตช์เปิดแล้ว คอมพิวเตอร์จะเริ่มต้นทำงานด้วยการอ่านจานบันทึกในหน่วยบันทึก A: ถ้าในหน่วยบันทึก A: ไม่มีจานบันทึก ก็จะไปอ่านจานบันทึก C: (จะไม่สนใจหน่วยบันทึก B: เลย) ถ้ามีจานบันทึกใน A: จานบันทึกนั้นจะต้องมีคำสั่งระบบ (แฟ้มข้อมูล command.com) อยู่ คอมพิวเตอร์จึงจะเริ่มต้นทำงานต่อไปได้ ถ้าจานบันทึกใน A: ไม่มีคำสั่งระบบ จะมีรายงานบนจอภาพว่าเป็น "non-system disk" ในกรณีเช่นนี้ต้องเปลี่ยน แผ่น A: หรือดึงแผ่น A: ออก แล้วเริ่มต้นใหม่จาก หน่วยบันทึก C: (ถ้ามี) อนึ่ง การเริ่มเครื่องใหม่นั้น ทำได้ 2 วิธี วิธีแรกเริ่มด้วยการเปิดสวิตช์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ได้อธิบายแล้ว เรียกว่า "cold boot" อีกวิธีหนึ่งที่ใช้เมื่อมีการเปิดเครื่องอยู่ก่อนแล้ว แต่ต้องการเริ่มเครื่องใหม่ หรือเครื่องเกิดขัดข้องหรือค้าง (hang) ให้ กดแป้น CTRL +ALT +DEL เรียกว่า "warm boot" |
carriage return | ปัดแคร่แป้นปัดแคร่ใช้ตัวย่อว่า CR ในทางคอมพิวเตอร์ ถือเป็นตัวอักขระตัวหนึ่งที่มองไม่เห็น ใช้เมื่อสิ้นสุดการพิมพ์แต่ละบรรทัด และทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) ลงไปอยู่เป็นตำแหน่งแรกของบรรทัดถัดลงมา โดยปกติ จะกำหนดให้กดแป้น หรือ |
byte | (ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1,024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1,048,576 ไบต์ (หรือ 1,024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1,073,741,824 ไบต์ (หรือ 1,024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1,099,511,627,776 ไบต์ (หรือ 1,024 Gbytes) |
cad | 1. abbr. coronary artery disease 2. (แคด) ย่อมาจาก computer aided design แปลตรง ๆ ได้ว่า การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วย หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ดู CAM ประกอบ เพราะมักใช้คู่กันเป็น CAD/CAM |
check sum | ผลรวมตรวจสอบหมายถึง ผลการคำนวณเพื่อยืนยันในความแม่นตรงของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านทางโมเด็ม ส่วนมากจะเป็น XModem โดยปกติ ในการส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์จะต้องจัดการแยกข้อมูลทั้งหมดออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ก่อน ฉะนั้นเมื่อส่งเรียบร้อยแล้ว จึงต้องมีการตรวจสอบผลรวม ถ้าตรงกัน ก็แปลว่า ข้อมูลที่ส่งออกไปถูกต้องครบถ้วน |
control key | แป้นควบคุมเป็นแป้นพิเศษแป้นหนึ่ง โดยปกติ จะมีตัวย่อ Ctrl ไว้ให้อยู่ บนแป้น เป็นแป้นที่ต้องใช้พร้อมแป้นอื่น ๆ จึงจะเป็น คำสั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะได้ เช่น ในระบบวินโดว์ การกดแป้นCTRL+S จะใช้แทนคำสั่ง save ได้ แป้น CTRL นี้ โดยปกติจะใช้สัญลักษณ์ ^ แทน เช่น ^S คือกดแป้น CTRL+S |
desktop computer | คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหมายถึง ไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดพอที่จะวางอยู่บนโต๊ะทำงานได้สบาย ๆ ในปัจจุบัน เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงทุกที โดยปกติ เราจะถือว่า คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะนั้นมีขนาดใหญ่กว่าขนาดกระเป๋าหิ้ว (portable) ซึ่งก็ยังใหญ่กว่าขนาดวางตัก (laptop) และขนาดโน้ตบุ๊ก (notebook) |
disk pack | ชุดจานชุดจานบันทึกจานบันทึกที่ใช้กับเมนเฟรมมักจะมาเป็นชุด ๆ ละ 5-10 แผ่น มีแกนยึดให้ติดกันอยู่ตรงกลาง ชนิด (ที่เป็นแผ่นเดียวก็มี เรียกว่า disk cartridge) จานนี้ใช้เป็นสื่อเก็บข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพมาก โดยปกติ จานบันทึกแต่ละชุดจะบรรจุข้อมูลได้ทั้งสองหน้า ยกเว้นจานแรกและจานสุดท้าย |
client application | โปรแกรมเฉพาะเครื่อง1. ในเรื่องของข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) คำนี้หมายถึง โปรแกรมที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์บางเครื่อง โดยปกติ ในระบบเครือข่ายนั้น จะต้องมีคอมพิวเตอร์กลางเครื่องหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่เก็บโปรแกรมต่าง ๆ ไว้ให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายสามารถเรียกไปใช้ได้ เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (file server) (คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมเหล่านั้น) แต่ถ้าเครื่องบริการแฟ้มนั้นเสีย คอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่ายเดียวกันนั้นก็จะทำงานไม่ได้เลย ฉะนั้น เราจึงมักจะให้คอมพิวเตอร์บางเครื่องในเครือข่ายมีโปรแกรมเก็บไว้ในเครื่องของตนเองด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่แม้จะอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน จะไม่สามารถเรียกโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไปใช้ได้ เราเรียกโปรแกรมที่เก็บอยู่เฉพาะในเครื่องนี้ว่า " client application "2. โปรแกรมบนระบบวินโดว์ที่สามารถโยงถึงที่มาของภาพหรือข้อความที่เป็นต้นแบบได้ หากเมื่อใดมีการแก้ไขในแฟ้มต้นแบบ โปรแกรมก็จะจัดการแก้ไขในแฟ้มใหม่ ให้ด้วย ดู OLE เปรียบเทียบ |
clone | (โคลน) n. พวกสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์จากระบบไร้เพศ., See also: clonal adj. คอมพิวเตอร์เลียนแบบหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำเลียนแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อดัง ๆ ส่วนใหญ่จะมีราคาถูก โดยปกติ เขาแบ่งระดับขั้นของคอมพิวเตอร์กันดังนี้ คือ ถ้าเป็นระดับที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด ก็มีคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) แมคอินทอช (Macintosh) และคอมแพค (Compaq) ถัดลงมาอยู่ในระดับเทียบเคียงได้ (compatible) หมายถึง พวกที่มีชื่อ แต่โด่งดังน้อยกว่า เช่น เอ็ปซอน (Epson) ที่ขั้นต่ำสุดก็คือพวกที่ทำเลียนแบบในราคาถูก .....ถูกจนคนมักจะชอบเสี่ยงซื้อไปใช้ จึงจะเรียกว่า "clone" |
compression | (คัมเพรส'เชิน) n. การอัด,การบีบ,การกด,ผลจากการถูกอัด,ความกดดัน,ภาวะที่ปริมาตร (ในห้องเครื่อง) ต่ำลงและความกดดันของอากาศสูงขึ้นก่อนการเผาไหม้., Syn. compressure การอัดแน่นหมายถึง นำข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมาก ๆ มาอัดให้แน่น เพื่อ ให้ใช้ที่เก็บในหน่วยความจำ หรือจานบันทึกน้อยลง โดยปกติ จะมีโปรแกรม หรือคำสั่ง (ในดอส 6.0) ที่สามารถอัดโปรแกรม ใหญ่ ๆ ที่กินเนื้อที่มาก ๆ ให้เหลือน้อยลง (เพื่อจะได้เก็บลงในแผ่นจานบันทึกได้) จานบันทึกชนิดอ่อน (floppy disk) ในปัจจุบัน มีความสูงสุด 1.44 เมกะไบต์ ฉะนั้น ถ้าแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ก็จะไม่สามารถเก็บลงในแผ่นได้ จึงต้องจัดการอัดให้แน่นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเรียกมาใช้ จะต้องนำมาคลายออกก่อน เรียกว่า "decompress" การอัดแน่นก็ดี การคลายคืนก็ดี จะต้องมีโปรแกรมเฉพาะจัดทำให้ ในระบบดอส นิยมใช้ PKZip/Unzip ในระบบ Windows 95 โปรแกรมที่นิยมชื่อ WinZip ในระบบยูนิกซ์ ใช้ Gunzipดู expand, decompress เปรียบเทียบ |
em dash | (เอ็มแดช) เป็นอักษรพิเศษตัวหนึ่งที่ใช้ในการพิมพ์ มีลักษณะเป็นขีดยาวเท่า ๆ กับอักษร M หรือเครื่องหมาย hyphen 2 ตัวพิมพ์ติด ๆ กัน (--) โดยปกติ จะใช้เพื่อแสดงว่าต้องการเน้นข้อความนั้น ๆ เช่น " การ เล่นกอล์ฟเป็นการพนันอย่างหนึ่ง -- การพนันที่เป็นที่นิยมมากเสียด้วย " ดู en dash เปรียบเทียบ |
file size | ขนาดแฟ้มข้อมูลหมายถึง จำนวนเนื้อที่ที่แฟ้มข้อมูลแต่ละแฟ้มใช้เมื่อเก็บลง ในจานบันทึก โดยปกติ จะวัดกันเป็นไบต์ (byte) , หรือ เคไบต์ (K byte) |
compuserve | คอมพิวเซิร์ฟเป็นบริการที่นำคอมพิวเตอร์ของเราไปต่อสายเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก ๆ เพื่อจะได้ขอใช้ข้อมูลบางอย่างได้ โดยปกติ การทำเช่นนี้จะต้องจ่ายค่าบริการค่อนข้างแพง นอกจากนั้น บริการ CompuServe ยังมีโปรแกรมเก่า ๆ ที่ยอมให้มีการคัดลอกมาใช้ได้โดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ อีก มีเกมให้เรียกมาเล่นได้ พร้อมทั้งให้บริการอย่างอื่นอีกมาก เช่น จะจองตั๋วเครื่องบินเองก็ได้ นอกจากนั้น ผู้ใช้จะขอดูข้อมูลต่าง ๆ ได้ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งกีฬา ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ ฯ |
computer aided design | การออกแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยใช้ตัวย่อว่า CAD (อ่านว่า แคด) หมายถึงการสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการสร้างภาพ แบบจำลอง (model) ฯ แล้วจะบันทึกแบบเก็บไว้ในสื่อ สามารถเรียกแบบที่ออกไว้นั้นมาแสดงบนจอภาพเมื่อใดก็ได้ หรือจะสั่งให้พิมพ์ออกมาดูบนกระดาษก็ได้ โดยสามารถสั่งขยาย ย่อ หมุนพลิกภาพนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ภาพหรือแบบที่ออกไว้จะปรับเปลี่ยนไปตามสูตรที่กำหนดเอาไว้แล้ว ตัวอย่าง เช่น การออกแบบชิ้นส่วนของรถยนต์หรือโครงสร้างอาคาร ผู้ออกแบบจะสามารถแก้ไขได้ตลอดเวลา โดยปกติ คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้เพื่องานประเภทนี้ จะต้องมีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ที่มีความจุสูงมาก ๆ มีจอภาพที่มีความละเอียดสูง และมีตัวประมวลผลที่ทำงานเร็ว ส่วนการแสดงผล มักจะใช้เครื่องวาด (plotter) แทนเครื่องพิมพ์ |
control statement | ข้อความสั่งควบคุมในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้น โดยปกติ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งไปทีละคำสั่ง โดยเรียงไปตามลำดับก่อนหลัง แต่เราอาจใช้ข้อความสั่งให้ควบคุมการทำงานได้เช่น กระโดดข้าม, วนกลับไปทำบางคำสั่งใหม่หรือวนหลาย ๆ รอบหรือหยุดทำถ้า ... ข้อความสั่งเหล่านี้มีอยู่หลายคำสั่ง ขึ้นอยู่กับภาษาเป็นต้นว่า GOTO, DO,IF ในภาษาฟอร์แทรน หรือ FOR.....NEXT ในภาษาเบสิก |
data record | ระเบียนข้อมูลหมายถึง หน่วยหนึ่งของข้อมูลที่บันทึกไว้ในฐานหรือคลังข้อมูล โดยปกติ ระเบียนหนึ่งจะประกอบด้วยเขตข้อมูล (field) 1 เขตขึ้นไป เช่น ระเบียนของพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยเขตข้อมูล 10 เขต มี ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเข้าทำงาน เงินเดือนที่ได้รับ ตำแหน่งปัจจุบัน ฯ เป็นต้น ดู data field ประกอบ |
manual feed | ป้อนด้วยมือหมายถึง การทำด้วยมือแทนการสั่งให้ทำงานอัตโนมัติ เป็นต้นว่า การส่งกระดาษเข้าไปในเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) ทีละแผ่นด้วยมือ แทนที่จะให้เครื่องพิมพ์ดึงกระดาษเองจากถาดใส่กระดาษ (tray) โดยปกติ จะใช้วิธีนี้ เมื่อต้องสั่งพิมพ์งานที่ไม่ใช้กระดาษขนาดมาตรฐาน เช่น ซองจดหมายฯ |
optical disk | จานแสงหมายถึง จานที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลโดยใช้ลำแสงเลเซอร์ที่ส่งออกมาเป็นช่วง ๆ มีความจุสูงถึงประมาณ 600- 1,300 ล้านตัวอักษร ราคายังค่อนข้างแพงและทำงาน ค่อนข้างช้า โดยปกติ จะต้องเก็บอยู่ในกล่อง หัวอ่านและบันทึกจะต้องเป็นวัตถุที่ใช้แสง |
dotard | (โด'ทิจ) n. ความชรา,ภาวะสติปัญญาอ่อนในวัยชรา,ภาวะสติเลอะเลือน,ความหลงรักอย่างโง่ ๆ ,การโอ๋จนเกินไปจุดเล็ก ๆ บนจอภาพจุดเล็กที่สุดที่สามารถแสดงบนจอภาพได้ วัดขนาดกันเป็นมิลลิเมตร โดยปกติ จะมีขนาด .41 มม. .31 ม.ม. และ .28 ม.ม. ยิ่งจุดเล็กมากเท่าใด ภาพที่ปรากฏบนจอภาพก็จะยิ่งคมชัดและละเอียดขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้น ยังใช้วัดระยะห่างระหว่างจุดสองจุดที่เป็นคนละสีในสีเดียวกันด้วย (สีบางสีที่เห็นบนจอภาพเกิดจากการผสมกันระหว่างจุดที่มีสีต่างกัน เช่น สีเทา เกิดจากการผสมกันของสีดำ และขาว) |
electronic mail | ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้ตัวย่อว่า e-mail หมายถึงการสื่อสารหรือการส่งข้อความ โน้ต หรือบันทึกออกจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ผ่านไปเข้าเครื่องปลายทาง (terminal) หรือเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยส่งผ่านทางระบบเครือข่าย (network) ผู้ส่งจะต้องมีเลขที่อยู่ (e-mail address) ของผู้รับ และผู้รับก็สามารถเปิดคอมพิวเตอร์เรียกข่าวสารนั้นออกมาดูเมื่อใดก็ได้ โดยปกติ จะไม่มีการพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารนั้นลงแผ่นกระดาษ นับว่าเป็นการประหยัดกระดาษไปได้ส่วนหนึ่ง โดยทั่วไป ถือกันว่าเป็นงานส่วนหนึ่งของสำนักงานอัตโนมัติ (office automation) ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอันมาก |
esc key | (แป้นพิมพ์) แป้นหลีกมาจากคำว่า ESCape key ซึ่งเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ มีไว้เพื่อสั่งให้ยกเลิกคำสั่งสุดท้ายที่ได้สั่งให้เครื่องปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้ว เป็นต้นว่า สั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูล ถ้าเกิดเปลี่ยนใจ ให้กดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะเลิกทำ คล้าย ๆ กับการกดเมาส์ที่ " cancel " โดยปกติ แป้นนี้มักจะอยู่แถวบนสุดทางด้านซ้ายของแผงแป้นอักขระ |
escape key | แป้นหลีกเป็นแป้นหนึ่งบนแผงแป้นอักขระ (บนแป้นมักจะมี ESC) มีไว้เพื่อสั่งให้ยกเลิกคำสั่งสุดท้ายที่ได้สั่งให้เครื่องปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้ว เป็นต้นว่า สั่งคัดลอกแฟ้มข้อมูล ถ้าเกิดเปลี่ยนใจ ให้กดแป้นนี้ คอมพิวเตอร์ก็จะเลิกทำ คล้าย ๆ กับการกดเมาส์ที่ " cancel " โดยปกติ แป้นนี้มักจะอยู่แถวบนสุดทางด้านซ้ายของแผงแป้นอักขระ |
extension | (อิคซฺเทน'เชิน) n. การขยายออก,การยืดออก,การแผ่ออก, สิ่งที่ขยายออก,โทรศัพท์พ่วง นามสกุลในระบบดอส หมายถึง ตัวอักษรสามตัวที่อยู่หลังชื่อแฟ้มข้อมูล เนื่องจากอยู่ในตอนท้ายของชื่อ จึงนิยมเรียกกันว่า"นามสกุล" โดยปกติ คอมพิวเตอร์จะใช้นามสกุลนี้เป็นตัวบอกประเภทของแฟ้มข้อมูล จะมีจุดคั่นระหว่างชื่อและนามสกุล เช่น ถ้าแฟ้มข้อมูลที่เป็นภาษาปาสกาล (Pascal) ก็จะมีนามสกุล .PAS ถ้าเป็นแฟ้มภาษาเบสิก ก็จะมีนามสกุล .BAS อย่างนี้เป็นต้น หรือถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลสำรอง ก็มักจะใช้นามสกุลว่า .BAK ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรต้องรู้ว่า นามสกุลอะไร บอกว่าเป็นแฟ้มข้อมูลประเภทไหน โดยเฉพาะนามสกุล .exe, .com, .bin, .doc, .bat ซึ่งจะต้องพบ บ่อย ๆ มีความหมายเหมือน file type |
file handle | รหัสเข้าสู่แฟ้มหมายถึง รหัสลับที่ใช้เป็นทางเข้าสู่แฟ้มข้อมูลในระบบดอส โดยปกติ เรา เพียงบอกแต่ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการเปิด คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการให้ แต่ถ้าเป็นเรื่องลับ เราอาจสั่งให้ คอมพิวเตอร์นำชื่อไปแปลงเป็นตัวเลขก่อน ตัวเลขเหล่านี้ เรียกว่า " file handle" การเข้าสู่แฟ้มข้อมูล ต้องใช้รหัส เหล่านั้นเท่านั้น |
fixed pitch | ช่องไฟเท่ากันหมายถึง การพิมพ์ตัวอักษรแต่ละตัวโดยกำหนดให้มีช่องไฟ กว้างเท่า ๆ กัน บางทีใช้คำว่า monospaced โดยปกติ จอภาพคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด และเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix) ชนิดราคาถูก ๆ จะพิมพ์หรือให้ภาพตัวอักษรที่มี ความกว้างเท่ากันหมด ตรงข้ามกับคำ fixed pitch นี้ เราจะใช้คำว่า proportional pitch เครื่องพิมพ์ดี ๆ จะต้องปรับ ขนาดของตัวอักษรไม่ให้เท่ากัน เช่น ตัว I, L, T ไม่ควร จะกว้างเท่ากับ O,W, M ILT OWM |
hd | abbr. hearingdistance,hodgkin's disease,heart disease,hemodialysis เอชดี ย่อมาจากคำว่า high density แปลว่า ความหนาแน่นสูง ใช้บอกคุณสมบัติจานบันทึก (diskette) เช่น จานขนาด 5.25นิ้ว ถ้าเป็นจานชนิด HD จะมีความจุถึง 1.2 เมกะไบต์ ส่วนจานบันทึกความหนาแน่นสูงขนาด 3.5 นิ้ว จะมีความจุถึง 1.44 เมกะไบต์ โดยปกติ จะมีป้ายพิมพ์บอกไว้บนจานบันทึกประเภทนี้ถ้าเป็นขนาดธรรมดาจะใช้คำว่า DD ดู DD เปรียบเทียบ |
high capacity | ความจุสูงใช้เรียกจานบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง (high density) เช่น จานขนาด 5.25นิ้ว ถ้าเป็นจานชนิด ที่มีความหนาแน่นสูง จะมีความจุถึง 1.2 เมกกะไบต์ ส่วนจานบันทึกความหนาแน่นสูงขนาด 3.5 นิ้ว จะมีความจุถึง 1.44 เมกกะไบต์ โดยปกติ จะมีป้ายพิมพ์บอกไว้บนจานบันทึกประเภทนี้ ถ้าเป็นขนาดธรรมดาจะใช้คำว่า DD ดู high density ประกอบ |
high density | ความหนาแน่นสูงใช้ตัวย่อว่า HD (อานว่า เอชดี) ใช้บอกคุณสมบัติจานบันทึก (diskette) เช่น จานขนาด 5.25นิ้ว ถ้าเป็นจานชนิด HD จะมีความจุถึง 1.2 เมกกะไบต์ ส่วนจานบันทึกความหนาแน่นสูงขนาด 3.5 นิ้ว จะมีความจุถึง 1.44 เมกกะไบต์ โดยปกติ จะมีป้ายพิมพ์บอกไว้บนจานบันทึกประเภทนี้ ถ้าเป็นขนาดธรรมดาจะใช้คำว่า DD ดู DD เปรียบเทียบ |
in line program | โปรแกรมแทรกชุดคำสั่งแทรกหมายถึง ชุดคำสั่งส่วนหนึ่งที่เขียนแทรกไว้ในโปรแกรม ใช้ชื่อที่กำหนดขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อสะดวกในการเรียกใช้ คำสั่งกลุ่มนี้ โดยปกติ จะประกอบด้วยคำสั่งหลายคำสั่ง ที่ผู้ทำโปรแกรมนำมารวมไว้ ชุดคำสั่งแทรกนี้จะต้องกำหนดชื่อคำสั่งไว้ตอนต้นโปรแกรม เมื่อใดก็ตาม ที่มีการเรียกชื่อคำสั่งที่กำหนดนี้ ก็จะเท่ากับเป็นการเรียกใช้กลุ่มคำสั่งที่ประกอบด้วยคำสั่งนี้ทั้งชุด ชุดคำสั่งแทรกนี้ เราสามารถเรียกใช้ได้ตลอดเวลาที่เรียกใช็โปรแกรมนี้อยู่ หรือทุกแห่งที่ต้องการใช้คำสั่งกลุ่มนั้นมีความหมายเหมือน macro instruction, macro program |
instruction time | เวลาทำคำสั่งเครื่องหมายถึงช่วงเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งดำเนินการแล้วเสร็จ หรือได้รับคำตอบที่ต้องการจากชุดคำสั่งหนึ่ง ๆ โดยปกติ การทำงานของคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ1. ช่วงการแปล (compilation time) 2. ช่วงการกระทำการ (execution time) มีความหมายเหมือน execution time |
lost cluster | ส่วนตกค้างหมายถึง ส่วนของแฟ้มข้อมูลที่ยังเหลือค้างอยู่ในจานบันทึก แม้ว่าแฟ้มตาราง แสดงรายการข้อมูลจะไม่บ่งบอกว่ามีเหลืออยู่ก็ตาม การที่เป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะในขณะที่มีการคัดลอกแฟ้มข้อมูลลงไปในแผ่นจานบันทึก ไฟเกิดตก แต่บางทีก็หาสาเหตุไม่พบ โดยปกติ เราอาจใช้คำสั่ง Chkdsk/F ซึ่งเป็นคำสั่งในระบบปฏิบัติการดอส สั่งลบส่วนที่เหลือออกให้หมด จะได้มีที่ว่างไว้เก็บแฟ้มอื่นได้ |
mouse | (เมาซฺ) n. หนู (pl. mice) อุปกรณ์สำหรับควบคุมเคอร์เซอร์บนจอภาพ, อุปกรณ์นำเข้า (input device) ชนิดหนึ่งมีขนาดพอเหมาะกับมือเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สามารถเคลื่อนย้ายไปบนผิวพื้นเรียบ ตัวเมาส์นี้ เมื่อเชื่อมต่อกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จะเป็นตัวทำให้เคลื่อนย้าย cursor ไปในทิศทางที่ต้องการได้ ใต้ตัวเมาส์จะมีลูกกลิ้งกลม ๆ ซึ่งจะทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เคลื่อนย้ายไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้ โดยปกติ เมาส์ของพีซีจะมี 3 ปุ่ม ส่วนใหญ่จะใช้ปุ่มทางด้านซ้าย ระบบวินโดว์ 95 มีการใช้ปุ่มทางขวาของเมาส์มากขึ้น ส่วนเมาส์ของแมคอินทอชจะมีปุ่มเดียว การใช้เมาส์จะมี 3 ลักษณะ คือ กดที่ปุ่มซ้ายหรือขวาเพียงครั้งเดียวเพื่อเลือกคำสั่ง หรือกำหนดภาพ ฯ กด 2 ครั้ง ติด ๆ กันเพื่อเริ่มต้นโปรแกรมหรือเปิดแฟ้มข้อมูล กับกดแล้วลากเพื่อเคลื่อนย้ายข้อความหรือภาพ |
object language | ภาษาจุดหมายหมายถึง ชุดคำสั่งที่เป็นภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามได้ทันที่ถ้าผ่านการเชื่อมโยง (link) โดยปกติ ในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เรามักจะเขียนคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติตามเป็นภาษาระดับสูง (high level language) หรือที่เรียกว่าภาษาต้นฉบับ (source language) ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจและจะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่องหรือภาษาจุดหมายก่อน คอมพิวเตอร์จึงจะทำงานตามคำสั่งที่ต้องการได้ |
odd even check | การตรวจสอบภาวะคู่หรือคี่หมายถึง วิธีการตรวจสอบโดยการตรวจสอบแต่ละหน่วยข้อมูลไม่ว่าจะเป็นไบต์ (byte) หรือเป็นคำ (word) ว่ามีจำนวนบิต (bit) ที่เป็น 1 เป็นจำนวนคู่หรือคี่ โดยการเพิ่มหนึ่งบิตที่เรียกว่า บิตเสริม (parity bit) เข้าที่ท้ายหรือต้นข้อมูลนั้น ๆ เพื่อให้จำนวนบิตที่เป็น 1 เป็นเลขคี่หรือคู่เป็นการตรวจสอบความเคลื่อนคลาดในการอ่าน, บันทึก, หรือถ่ายโอนข้อมูลนั้น ๆ โดยปกติ พออ่านข้อมูลเข้าไปหน่วยหนึ่ง บิตเสริมก็จะถูกนำมาคำนวณและเปรียบเทียบกับบิตเสริมที่เก็บไว้แล้ว หากมีค่าเท่ากันก็แปลว่าการอ่านข้อมูลเข้าไปถูกต้อง มิฉะนั้น อาจต้องให้อ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งมีความหมายเหมือน parity check |
parity check | การตรวจสอบภาวะเสริมหมายถึง วิธีการตรวจสอบโดยการตรวจแต่ละหน่วยข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นไบต์ (byte) คำ (word) ว่าเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ เป็นการตรวจสอบความเคลื่อนคลาดในการอ่าน บันทึก หรือ ถ่ายโอนข้อมูลนั้น ๆ โดยปกติ พออ่านข้อมูลเข้าไปหน่วยหนึ่ง บิตเสริม (parity bit) ก็จะถูกนำมาคำนวณแล้วเปรียบเทียบกับบิตเสริมที่เก็บไว้แล้ว หากมีค่าเท่ากัน ก็แปลว่า การอ่านข้อมูลเข้าไปถูกต้อง มิฉะนั้น อาจต้องให้มีการอ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่งมีความหมายเหมือน odd even check |